พังผืดของปอด (อังกฤษ: pulmonary fibrosis) คือภาวะที่เนื้อปอดกลายเป็นพังผืดหรือแผลเป็น ผู้ป่วยอาจมีอาการหายใจลำบาก ไอแห้ง อ่อนเพลีย น้ำหนักลด และเล็บปุ้มได้ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ เช่น ความดันเลือดในปอดสูง การหายใจล้มเหลว ปอดรั่ว หรือมะเร็งปอด เป็นต้น

Pulmonary fibrosis
ชื่ออื่นInterstitial pulmonary fibrosis
Clubbing of the fingers in idiopathic pulmonary fibrosis
สาขาวิชาPulmonology
อาการShortness of breath, dry cough, feeling tired, weight loss, nail clubbing[1]
ภาวะแทรกซ้อนPulmonary hypertension, respiratory failure, pneumothorax, lung cancer[2]
สาเหตุEnvironmental pollution, certain medications, connective tissue diseases, interstitial lung disease, unknown[1][3]
การรักษาOxygen therapy, pulmonary rehabilitation, lung transplantation[4]
ยาPirfenidone, nintedanib[4]
พยากรณ์โรคPoor[3]
ความชุก>5 million people[5]

สาเหตุอาจเกิดจากมลพิษ ยาบางชนิด โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน การติดเชื้อ โรคของเนื้อปอด เป็นต้น สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือพังผืดของปอดที่ไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งเป็นโรคของเนื้อปอดที่ยังไม่ทราบสาเหตุ การวินิจฉัยอาจทำโดยวินิจฉัยจากอาการ จากการถ่ายภาพรังสี การตัดชิ้นเนื้อปอด และการตรวจสมรรถภาพปอด

โรคนี้ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด และการรักษาโดยทั่วไปก็ยังทำได้จำกัด มักเน้นการรักษาไปที่การบรรเทาอาการ เช่น การรักษาด้วยการให้ออกซิเจน การทำกายภาพบำบัดของปอด เป็นต้น ยาบางชนิดอาจช่วยชะลอการเกิดแผลเป็นได้ บางครั้งอาจต้องผ่าตัดปลูกถ่ายปอด ทั่วโลกมีผู้ป่วยภาวะนี้กว่า 5 ล้านคน อายุคาดเฉลี่ยโดยทั่วไปแล้วไม่เกิน 5 ปี

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ NIH2019
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Mayo2019Sym
  3. 3.0 3.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Med2019
  4. 4.0 4.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Mayo2019Tx
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ATS2019

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก