พระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ)

พระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ) อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ผู้เขียนหนังสือศาสนาพุทธชื่อดังจำนวนมาก เช่น นักศึกษาสงสัย ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา พุทธทัศน์พัฒนา เป็นต้น

พระธรรมเมธาภรณ์

(ระแบบ ฐิตญาโณ)
ส่วนบุคคล
เกิด24 เมษายน พ.ศ. 2477 (81 ปี 24 วัน ปี)
มรณภาพ18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
นิกายธรรมยุติกนิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 6 ประโยค
นักธรรมชั้นเอก
ปริญญาตรีจาก สภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย
ปริญญาโท จากประเทศอินเดีย
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบทพ.ศ. 2498
ตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร

ประวัติ แก้

ชาตภูมิ แก้

พระธรรมเมธาภรณ์ นามเดิม ระแบบ พรหมพันธุ์ เกิดเมื่อวันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2477 ณ ตำบลเกาะทวด อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายชวน-นางกวั้ง[1] พรหมพันธุ์ และเป็นพี่ชายต่างมารดาของนายจตุพร พรหมพันธุ์[2][3]

อุปสมบท แก้

พระธรรมเมธาภรณ์ ได้บรรพชาเป็นสามเณรในปี พ.ศ. 2492 ณ วัดมหิสสราราม โดยมีพระครูบริหารสังฆกิจ (เต้ง) เป็นพระอุปัชฌาย์ อยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นโทแล้วลาสิกขา ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปี พ.ศ. 2498 ณ วัดเกาะจาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีพระครูโพธาภิรามุนี วัดสวนป่าน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพระอุปัชฌาย์[1] ได้รับฉายาทางธรรมว่า "  าโณ"

ต่อมาได้เป็นศิษย์ของพระรัตนธัชมุนี (แบน คณฺฐาภรโณ) วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช[4]

การศึกษา แก้

  • ในเบื้องต้นจบการศึกษาชั้นมัธยม 1 จากโรงเรียนปากพนังวิทยา อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • การศึกษาพระปริยัติสอบได้นักธรรมชั้นเอก ณ สำนักเรียนวัดเกาะจาก
  • สอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค ณ สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
  • จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก สภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย
  • จบปริญญาโท จากประเทศอินเดีย

สมณศักดิ์ แก้

ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ ดังนี้

  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2520 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระโสภณคณาภรณ์[5]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2532 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชธรรมนิเทศ สรรพเขตศรัทธาปสาทกร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพดิลก สาธกพุทธศาสน์ ปฏิภาณวาทวิศิฏฐ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมเมธาภรณ์ สุนทรธรรมภาณี ตรีปิฎกวจนาลังการ ศาสนภารธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[8]

มรณภาพ แก้

พระธรรมเมธาภรณ์ ถึงแก่มรณภาพ ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ เมื่อวันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 03:20 น. สิริอายุ 81 ปี 24 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "พระเทพดิลก ระแบบ ฐิตญาโณ เป็นพระธรรมเมธาภรณ์". วัดบวรนิเวศวิหาร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-23. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. คำเตือนถึงเพื่อนเก่า จตุพร (ตู่) พรหมพันธุ์[ลิงก์เสีย] วัชระ เพชรทอง, แนวหน้า, 2-6-2007
  3. ป๋าเปรมผจญมาร พระมหาระแบบช่วยได้ ![ลิงก์เสีย] วัชระ เพชรทอง, แนวหน้า, 1-7-2007
  4. วีรกรรม“ตู่ จตุพร”หนีแม่-หนีเมีย-หนีม็อบ
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๙๕, ตอนที่ ๒๔ ฉบับพิเศษ, ๒๑ มีนาคม ๒๕๒๑, หน้า ๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๐๖, ตอนที่ ๒๑๗ ฉบับพิเศษ, ๘ ธันวาคม ๒๕๓๒, หน้า ๓
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๖, ตอนที่ ๒๓ ข, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๒, หน้า ๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๒๘, ตอนที่ ๑๒ ข, ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔, หน้า ๑

แหล่งข้อมูลอื่น แก้