พระเป็นเจ้าในศาสนาอิสลาม

(เปลี่ยนทางจาก พระเจ้าในศาสนาอิสลาม)

พระเป็นเจ้าในศาสนาอิสลาม (อาหรับ: ٱللَّٰه อัลลอฮ์, ตรงข้ามกับ ٱلْإِلَٰه อัลอิลาฮ์, แปลว่า "พระเจ้า")[1] ถูกมองเป็นผู้สร้างและผู้ค้ำจุนจักรวาลที่เป็นอมตะ [2][1][3][4][5] ผู้จะฟื้นคืนชีพมนุษย์ทุกคน[6] ในศาสนาอิสลาม พระองค์เป็นพระเจ้าที่สมบูรณ์แบบ เป็นเอกะ เป็นอมตะ มีอำนาจโดยสมบูรณ์ และรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยคุณลักษณะทั้งหมดของพระองค์ไม่มีที่สิ้นสุด[1][3][5][7] อิสลามเน้นย้ำว่าพระเจ้าเป็นผู้ทรงเมตตายิ่ง[8][9][10]

ตามรายงานจากเทววิทยาอิสลาม พระเจ้าไม่มีรูปร่างทางกายภาพหรือเพศ ถึงแม้ว่าจะมีการกล่าวถึงพระองค์ด้วยคำกำกับนามของเพศชายตามไวยากรณ์[11] และไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ในทางใดเลย ดังนั้น อิสลามจึงปฏิเสธแนวคิดการจุติลงมาเกิดและพระเจ้าอย่างบุคคล (personal god) ในฐานะมานุษยรูปนิยม เพราะมองว่าเป็นการดูหมิ่นอุตรภาพของพระเจ้า (transcendence of God) อัลกุรอานกล่าวถึงเกณฑ์พื้นฐานสำคัญในโองการต่อไปนี้: "พระองค์ผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน พระองค์ทรงทำให้มีคู่ครองแก่พวกเจ้า จากตัวของพวกเจ้าเอง และจากปศุสัตว์ทรงให้มีคู่ผัวเมีย ด้วยเหตุนี้พระองค์ทรงแพร่พันธุ์พวกเจ้าให้มากมาย ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็น" (42:11) ดังนั้ อิสลามจึงปฏิเสธอิสลามจึงปฏิเสธมานุษยรูปนิยมและanthropopathism ในแนวคิดของพระเจ้าอย่างเคร่งครัดและเด็ดขาดในทุกรูปแบบ[12][13][14][15]

ศัพทมูลวิทยา แก้

อัลลอฮ์ เป็นศัพท์ภาษาอาหรับที่สื่อถึงพระเป็นเจ้าในศาสนาอับราฮัม[16][17][18] คำนี้มีความเกี่ยวข้อกับคำว่า El และ Elah พระนามของพระเป็นเจ้าในภาษาฮีบรูและแอราเมอิก[19][20] เพื่อแยกจาก อิลาฮ์ (อาหรับ: إِلَٰه) ที่หมายถึง เทพเจ้า ซึ่งสื่อถึงพระเจ้าองค์อื่น ๆ ที่ถูกบูชาในคาบสมุทรอาหรับก่อนการมาของศาสนาอิสลาม หรือพระเจ้าองค์ใดก็ตาม[21] อัลลอฮ์เป็นพระนามที่พิเศษที่สุดของพระเจ้า โดยได้รับการกล่าวถึงเป็น ลัฟซุลญะลาละฮ์ โดยปรากฏในอัลกุรอาน 2,697 ครั้งใน 85 จาก 114 ซูเราะฮ์[22]

คุณลักษณะแห่งอาตมัน แก้

บางคุณลักษณะเกี่ยวข้องกับองค์อาตมันของพระผู้เป็นเจ้า และเป็นคุณลักษณะที่ดำรงอยู่กับองค์ของพระองค์ ประมวลคุณลักษณะดังกล่าวของพระองค์นั้นสามารถกล่าวรวมอยู่ใน 4 คุณลักษณะดังนี้

1. ความเป็นเอกะ:อัลลอฮ์ทรงมีหนึ่งเดียว ไม่มีเสมอเหมือน ไม่มีองค์ประกอบและส่วนประกอบใดทั้งภายนอกและแม้แต่ในสติปัญญา คุณลักษณะต่างๆที่มีอยู่ในคุณลักษณะหลักอันนี้ ได้แก่:

อะฮัด  วาฮิด มัชฮูร  มะอ์รูฟ  ฆอรีบ   ฟัร์ด   กาฟี วิตร์  เมาญูด  ฆอยัต เป็นต้น[23]

2. ความเป็นนิรันดร์:อัลลอฮ์ทรงเป็นอมตะนับแต่ต้นและตลอดไป  กล่าวคือ ตั้งแต่เป็นนิรันดตั้งแต่แรกเริ่มและจะทรงเป็นนิรันดร์ตลอดไป คุณลักษณะต่างๆที่มีอยู่ในคุณลักษณะหลักอันนี้ ได้แก่:

อาคิร  เอาวัล  บากี  ดาอิม ซาบิก   ซัรมัด  กอดีม  กออิม กอยยูม มะตีน  มะกีน ฮัก อะซะลี อะบะดี วาญิบุลวะญูดเป็นต้น

3. ความรอบรู้ :อัลลอฮ์ทรงรอบรู้ต่อทุกสรรพสิ่งตั้งแต่ต้นและตลอดไปในทุกห้วงเวลา ทุกสถาน และความรู้ของพระองค์เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นในองค์ของพระองค์ (ฮุฎูรี) คุณลักษณะต่างๆที่มีอยู่ในคุณลักษณะอันนี้ได้:

บะซีร (ทรงประจักษ์แจ้ง) บาฏิน(ทรงอยู่ด้านใน)  โบรฮาน(ทรงมีเหตุผล)  ญะมีล (ทรงไพจิตร)  ฮะซัน(ทรงคุณธรรม)   ฮะกีม(ทรงวิทยปัญญา)   มุฮีฏ(ทรงครอบคลุม)   คอบีร(ทรงตระหนัก)  มัดร็อก(ทรงรับรู้)  ดะลีล(ทรงมีหลักฐาน)  เราะอ์ย (ทรงเห็น)  สุรูร(ทรงเปรมปรีดิ์)  ซามิอ์(ทรงรับฟัง)  สะมีอ์(ทรงได้ยิน)  สะนัด( ทรงมีข้อมูล) ชาฮิด(ทรงยืนยัน) ชะฮีด(ทรงเป็นพยาน) อาลิม (ทรงรู้) อะลีม(ทรงรอบรู้) อัลลาม(ทรงรอบรู้ยิ่ง) ฟัคร์(ทรงภาคภูมิ) นาฏิก(ทรงมีตรรกะ) นาซิร(ทรงดูแล) นูร (ทรงเจิดจรัส) กาชิฟ(ทรงเปิดเผย) กามิล(ทรงสมบูรณ์) อารีฟ(ทรงหยั่งรู้)

4.ความมีพลานุภาพ: อัลลอฮ์ทรงมีความสามารถเหนือทุกสรรพสิ่ง คุณลักษณะต่างๆที่มีอยู่ในคุณลักษณะอันนี้ได้แก่:

บาษิค   ญับบาร  ญะลีล  มุเฮาวิล  รอฟิอ์ รอฟีอ์  สะรีอ์  ซาลิม ซัยยิด  ชะดีด ชะรีฟ ซอดิก อัซซะ มุอิซ อะซีม อะลี อาลี อะอ์ลา มุตะอาลี เฟาก์ มุอัยยิน ฆอนี มุฆนี ฟาติห์ ฟัตตาห์ มานิอ์ กอดรน เกาะฮ์ฮาร มาญิด มุญีด มุนีอ์ นาซิร นะซีร กะบีร มุตะกับบิร กะซีร มาสิอ์ มุวัสเสี้ยะอ์ มุฮัยมิน มะกีน มุฏลัก ฮัก ฟาซิล ฟาริก มุฟัศศิล มุก็อดดิร เป็นต้น ข้อสังเกต ก็คือคุณลักษณะแห่งอาตมัน ทั้ง วะห์ดานียะฮ์ และ ซัรมะดียัต ทั้งสอง เป็นคุณลักษณะแห่งพระเจ้าโดยไม่อาจเป็นคุณลักษณะของสิ่งอื่นใดได้ แต่คุณลักษณะ กอดีรียัต และอาละมียัต เป็นคุณลักษณะที่มีในสรรพสิ่งถูกสร้างได้

คุณลักษณะแห่งการกระทำ แก้

บางคุณลักษณะนั้นเกี่ยวข้องกับการกระทำของพระเจ้า คุณลักษณะเช่นนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและบ่งชี้ถึงอำนาจ และความรอบรู้ของพระองค์ รประมวลคุณลักษณะต่างๆแห่งการกระทำของอัลลอฮ์นั้นมี 4 คุณลักษณะหลักๆ ดังนี้ 

1. คอลิกียัต (การสร้างในบัดดล) อัลลอฮ์ คือพระผู้ทรงสร้าง สรรพสิ่งทั้งหมดมีขึ้นด้วยพระประสงค์ของพระองค์  คุณลักษณะต่างๆที่มีอยู่ในคุณลักษณะอันนี้ได้แก่:

บะดี  มุบดิ มุบัดั้ล บาอิษ อาริ ญาอิล มุห์ยี คอลิก คอลลาก มุซับบับ ซอนิอ์ มุเซาวิร มุฏออัฟ  มุฆอยยิร ฟาฏิร ฟาอิล ฟาลิก มุฆนี มาฮี มุมกิน มุเนาวิร มุเกาวิน มุวัสสิอ์ มาฮิด ا และ[24]

2. ร็อบบานียัต (การสร้างตามขั้นตอน) อัลลอฮ์ คือผู้ทรงบริหารและดูแลทุกสรรพสิ่ง โลกไม่อาจเคลื่อนไปโดยปราศจากการดูแลของพระองค์ คุณลักษณะต่างๆที่มีอยู่ในคุณลักษณะอันนี้ได้แก่:

อะมาน อะมีน มุอัมมิน มูนิส บิร บาร บาสิฏ มุบัชชิร มุบัยยิน เตาวาบ มุษับบิบ ญาบิร มุญัซซิล ญะลีส มุญัมมิล มุญีบ ญะวาด ญาร มุญีร ฮะบีบ มะห์บูบ มุฮัซซิร ดาอี  มัดอู ฮะฟีซ ฮะฟี ฮะลีม ฮามิด ฮะมีด มะห์มูด ฮันนาน มะฮีล มุเคาวิฟ มุคตาร มุดับบิร ฮาซิบ ฮะซีบ ดาฟิอ์ ดัยยาน ซากิร มัซกูร รออูฟ ร็อบ มุร็อตติบ รอติก รอญา รอฮีม รอฮิม เราะห์มาน อัรฮัร รอซิก รอซซาก รอฎี เราะฎี มัรฎอ ริฎวาน มัรฆูบ รอฟีก รอกีบ เมาฮูบ มุรตาห์ มุซัยยิน ซาติร ซัตตาร สะลาม ซามิก ชาฟี ชากิร ชะกูร มัชกูร ซอบูร ซอบบารอรีค ญับบาร ฎอมิน ฏอบีบ ฏอลิบ มัฏลูบ อัดล์ อาดิล อาซิม มุอ์ฏี อัฟว์ ฆอฟิร ฆอฟฟาร ฆุฟรอน กอบิล กอบีล กอซิม มุกอซซิม  มุกสิฏ มันนาน มุนญี มุนซิร มุนอิม กะรีม อักรัม วะดูด มุวัสสิอ์ มาซิล เมาซูฟ วาฟี วะฟี วากี วาฮิบ วะฮาบ เป็นต้น

3. ฮากิมียัต ทุกสรรพสิ่งล้วนอยู่ภายใต้การปกครองของพระองค์ พระองค์คือผู้ตัดสินที่แท้จริง คุณลักษณะต่างๆที่มีอยู่ในคุณลักษณะอันนี้ได้แก่:

อิลาฮ์ อัมร์ ดะลีล รอชีด มุรชิด รอชีด รออี มัสอูล มะอ์บูด อิมาด ฆอยัต มักซูด กอฎี นาอี มุนตะฮี วะลี วาลี เมาลา ฮาดี ฮิกัม เป็นต้น

4. มาลิกียัต ทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้นจากพระองค์ ดังนั้นพระองค์คือพระผู้ทรงเป็นเจ้าของโดยสมบูรณ์คุณลักษณะต่างๆที่มีอยู่ในคุณลักษณะอันนี้ได้แก่:

ญามิอ์  ซุลฏอน ฟาฟิอ์  ชะฟีอ์ ซอฮิบ มาลิก มะลีก มุลก์ มุกอดดิร มุกอดดิม กาซิร กะฟีล วะกีล เป็นต้น[25]

คุณลักษณะด้านลบ แก้

สองคุณลักษณะ กุดดูส และ ซุบบูห์ ในอัลกุรอานนั้นถือว่าเป็นคุณลักษณะที่ถูกรู้จักกันในนฐานะคุณลักษณะด้านลบ ซึ่งความหมายของมันก็คือ การให้พระผู้เป็นเจ้าเปลื้องจากคุณลักษณะที่บกพร่องและมีขีดจำกัดของความเป็นมนุษย์ คุณลักษณะแรกเป็นการเปลื้องทางด้านวัตถุ ส่วนคุณสมบัติที่สองเป็นการเปลื้องทางด้านจิตวิญญาณ

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Gardet, Louis (1960). "Allāh". ใน Bosworth, C. E.; van Donzel, E. J.; Heinrichs, W. P.; Lewis, B.; Pellat, Ch.; Schacht, J. (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Vol. 1. Leiden: Brill Publishers. doi:10.1163/1573-3912_islam_COM_0047. ISBN 978-90-04-16121-4.
  2. กุรอาน 21:30
  3. 3.0 3.1 Böwering, Gerhard (2006). "God and his Attributes". ใน McAuliffe, Jane Dammen (บ.ก.). Encyclopaedia of the Qurʾān. Vol. II. Leiden: Brill Publishers. doi:10.1163/1875-3922_q3_EQCOM_00075. ISBN 90-04-14743-8.
  4.  • Treiger, Alexander (2016) [2014]. "Part I: Islamic Theologies during the Formative and the Early Middle period – Origins of Kalām". ใน Schmidtke, Sabine (บ.ก.). The Oxford Handbook of Islamic Theology. Oxford and New York: Oxford University Press. pp. 27–43. doi:10.1093/oxfordhb/9780199696703.013.001. ISBN 9780199696703. LCCN 2016935488.
     • Abrahamov, Binyamin (2016) [2014]. "Part I: Islamic Theologies during the Formative and the Early Middle period – Scripturalist and Traditionalist Theology". ใน Schmidtke, Sabine (บ.ก.). The Oxford Handbook of Islamic Theology. Oxford and New York: Oxford University Press. pp. 264–279. doi:10.1093/oxfordhb/9780199696703.013.025. ISBN 9780199696703. LCCN 2016935488.
  5. 5.0 5.1 Esposito, John L. (2016) [1988]. Islam: The Straight Path (Updated 5th ed.). Oxford: Oxford University Press. pp. 22, 88. ISBN 9780190632151. S2CID 153364691.
  6. ซูเราะฮ์ อัลอันกะบูต 29:19-20
  7. Department of Philosophy, Ogun State University; Department of Philosophy, Olabisi Onabanjo University (2001). "Journal of Philosophy and Development". 7. Department of Philosophy, Ogun State University: 132. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  8. Ibn 'Arabi (2015). The Secrets of Voyaging. แปลโดย Angela Jaffray. Anqa Publishing. p. 51. ISBN 9781905937431.
  9. "Allah." Encyclopædia Britannica. 2007. Encyclopædia Britannica
  10. Simon Ockley (1757). The History of the Saracens. p. xlix (49).
  11. Christiano, Kevin J.; Kivisto, Peter; Swatos, William H. Jr., บ.ก. (2015) [2002]. "Excursus on the History of Religions". Sociology of Religion: Contemporary Developments (3rd ed.). Walnut Creek, California: AltaMira Press. pp. 254–255. doi:10.2307/3512222. ISBN 978-1-4422-1691-4. JSTOR 3512222. LCCN 2001035412. S2CID 154932078.
  12. "Does God have a shape?". www.dar-alifta.org. Dar al-Ifta' al-Misriyya (Egyptian Institute of Fatwas). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2021.
  13. Zulfiqar Ali Shah (2012). Anthropomorphic Depictions of God: The Concept of God in Judaic, Christian, and Islamic Traditions: Representing the Unrepresentable. International Institute of Islamic Thought (IIIT). pp. 48–56. ISBN 9781565645837.
  14. Zafar Isha Ansari; Isma'il Ibrahim Nawwab, บ.ก. (2016). The Different Aspects of Islamic Culture: The Foundations of Islam. Vol. 1. UNESCO Publishing. pp. 86–87. ISBN 9789231042584.
  15. Ali Ünal. "The Qur'an with Annotated Interpretation in Modern English [Qur'an 112:4]". mquran.org. Tughra Books. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2021.
  16. "God". Islam: Empire of Faith. PBS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-27. สืบค้นเมื่อ 18 December 2010.
  17. "Islam and Christianity", Encyclopedia of Christianity (2001): Arabic-speaking Christians and Jews also refer to God as Allāh.
  18. Gardet, L. "Allah". ใน Bearman, P.; Bianquis, Th.; Bosworth, C.E.; van Donzel, E.; Heinrichs, W.P. (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam Online. Brill Online. สืบค้นเมื่อ 2 May 2007.
  19. Zeki Saritoprak (2006). "Allah". ใน Oliver Leaman (บ.ก.). The Qur'an: An Encyclopedia. Routledge. p. 34. ISBN 9780415326391.
  20. Vincent J. Cornell (2005). "God: God in Islam". ใน Lindsay Jones (บ.ก.). Encyclopedia of Religion. Vol. 5 (2nd ed.). MacMillan Reference USA. p. 724.
  21. "God". Islam: Empire of Faith. PBS. สืบค้นเมื่อ 2010-12-18.
  22. "Translation of the meanings Ayah 1 Surah Al-Fātihah - Dr. Waleed Bleyhesh Omary - English Translation". The Noble Qur'an Encyclopedia (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-02-01.
  23. تفسیر موضوعی قرآن کریم تألیف آیت‌الله مکارم شیرازی بخش صفات خداوند
  24. لا مؤثر فی الوجود الا الله (حدیث)
  25. دعای جوشن کبیر از مفاتیح الجنان

บรรณานุกรม แก้

  • Al-Bayhaqi (1999), Allah's Names and Attributes, ISCA, ISBN 1-930409-03-6
  • Hulusi, Ahmed (1999), "Allah" as introduced by Mohammed, Kitsan, 10th ed., ISBN 975-7557-41-2
  • Muhaiyaddeen, M. R. Bawa (1976), Asmāʼul-Husnā: the 99 beautiful names of Allah, The Bawa Muhaiyaddeen Fellowship, ISBN 0-914390-13-9
  • Netton, Ian Richard (1994), Allah Transcendent: Studies in the Structure and Semiotics of Islamic Philosophy, Theology and Cosmology, Routledge, ISBN 0-7007-0287-3

แหล่งข้อมูลอื่น แก้