พงศาวดาร
งานเขียนเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์หรือพระมหากษัตริย์
(เปลี่ยนทางจาก พระราชพงศาวดาร)
พงศาวดาร คือบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติหรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น ๆ[1]
พงศาวดารในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปัจจุบันมีการถกเถียงกันเรื่องความน่าจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า เป็นหลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานชั้นต้น เพราะมีการเขียนพงศาวดารหลายฉบับในลักษณะที่คล้ายกันแต่แตกต่างกันในเนื้อหาและรายละเอียด ประกอบกับการใช้ศักราชในพงศาวดารไม่สอดคล้องกัน กล่าวคือ บ้างใช้มหาศักราช บ้างใช้จุลศักราช และพงศาวดารมีการเขียนขึ้นภายหลังเหตุการณ์ เช่น พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ซึ่งเขียนขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่กล่าวถึงก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา เป็นต้น
รายชื่อพระราชพงศาวดารไทย
แก้พงศาวดารเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์
แก้ชื่อ | ปีที่เขียนหรือชำระ | เนื้อหา | ชื่ออื่นๆ | |
---|---|---|---|---|
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ | รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถหรือก่อนหน้า (สันนิษฐาน) | เหตุการณ์ระหว่าง พ.ศ. 1982–1984 และ พ.ศ. 1986–1987 | ฉบับปลีก | |
ฉบับหมายเลข 222, 2/ก.104 | ||||
ฉบับหมายเลข 223, 2/ก.125 | ||||
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต | พ.ศ. 2183 | เหตุการณ์ก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง | ฉบับวันวลิต | |
พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ | บานแผนกระบุปี พ.ศ. 2223 | เหตุการณ์ระหว่าง พ.ศ. 1867–2147 | ฉบับ จ.ศ. 1042 | |
พระราชพงศาวดารความเก่า | รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (สันนิษฐาน)[2] | ปลายรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราช | ฉบับจำลอง จ.ศ. 1136 | |
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับจำลอง จ.ศ. 1145 | บานแผนกระบุปี พ.ศ. 2326[2] | ส่วนที่หนึ่งกล่าวถึงรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ส่วนที่สองกล่าวถึงรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช | ||
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ภาษามคธ แล คำแปล | พ.ศ. 2332 | ตั้งแต่แรกสถาปนากรุงศรีอยุธยาจนถึงการล่มสลาย | สังคีติยวงศ์ ปริเฉทที่ 7 | |
พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) | บานแผนกระบุปี พ.ศ. 2338 | ตั้งแต่แรกสถาปนากรุงศรีอยุธยาจนสิ้นสุดรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี | ฉบับ จ.ศ. 1157 | |
พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม กรุงลอนดอน | บานแผนกแรกระบุปี พ.ศ. 2350 บานแผนกที่สองระบุปี พ.ศ. 2338 | ตั้งแต่แรกสร้างเมืองสวรรคโลกจนถึงปี พ.ศ. 2327 | ฉบับ จ.ศ. 1169 | |
จุลยุทธการวงศ์ ผูก 2 พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา | รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช | เหตุการณ์ก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยาจนถึงปี พ.ศ. 1999 | ||
พระราชพงศาวดาร ฉบับหมอบรัดเล | หลังฉบับพันจันทนุมาศและพระราชพงศาวดารกรุงสยาม และก่อนฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ฉบับตัวเขียน (สันนิษฐาน)[2] | เหตุการณ์ก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยาจนถึงปี พ.ศ. 2335 | ฉบับพิมพ์สองเล่ม | |
ฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส | ||||
ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ | ||||
พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน | บานแผนกระบุปี พ.ศ. 2338 | เหตุการณ์ก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยาจนถึงปี พ.ศ. 2333 | ||
พระราชพงศาวดารย่อ พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส | รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว[3] | ลำดับพระนามพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา และเหตุการณ์สำคัญในแต่ละรัชกาล[3] | ||
เทศนาจุลยุทธการวงศ์ | รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (สันนิษฐาน) | เหตุการณ์ก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยาจนถึงการล่มสลาย | ||
พระราชพงศาวดารสังเขป พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส | พ.ศ. 2393[4] | เหตุการณ์ก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยาจนถึงการล่มสลาย[3] | ||
พระธรรมเทศนาพระราชพงศาวดารสังเขป พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส | พ.ศ. 2394[3] | ตั้งแต่แรกสถาปนากรุงศรีอยุธยาจนถึงต้นรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์[3] | ||
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) | สมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวงจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (สันนิษฐาน) | ตั้งแต่แรกสถาปนากรุงศรีอยุธยาจนถึงปี พ.ศ. 2270 | ||
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับนายแก้ว | สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (สันนิษฐาน)[2] | ปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ | ||
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา | รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | ตั้งแต่แรกสถาปนากรุงศรีอยุธยาจนถึงปี พ.ศ. 2333 | ||
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ในหอพระราชกรมานุสร | รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | ตั้งแต่แรกสถาปนากรุงศรีอยุธยาจนถึงการล่มสลาย | ||
พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ ในหอพระราชพงศานุสร | รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | ตั้งแต่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีตีผ่าวงล้อมพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยา จนถึงสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีสังเขป | |
พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับตัวเขียน | พ.ศ. 2412 | เหตุการณ์ในรัชกาลที่ 1–4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ | ||
พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับพิมพ์ | หลังฉบับตัวเขียน (สันนิษฐาน)[5][6] ชำระส่วนรัชกาลที่ 1 อีกครั้งในปี พ.ศ. 2443 | เหตุการณ์ในรัชกาลที่ 1–4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ | ||
พระราชพงษาวดาร ฉบับกรมศึกษาธิการ | พ.ศ. 2444 | เหตุการณ์ก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยาจนถึงปี พ.ศ. 2335 | ||
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับปลีก หมายเลข 2/ก.101 | ก่อน พ.ศ. 2450 | เหตุการณ์ระหว่าง พ.ศ. 2301–2310 | ||
พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ฉบับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ | พ.ศ. 2457 | เหตุการณ์ในรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ | ||
พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 5 | พ.ศ. 2458 และ 2469[7] | ตั้งแต่เริ่มต้นรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปี พ.ศ. 2412 | ||
พระราชพงศาวดาร ฉบับหมายเลข 2/ไฆ[8] |
| |||
พระราชพงศาวดาร ฉบับหมายเลข 2/แฆ[8] | ||||
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาสังเขป ฉบับวัดสุทัศนเทพวราราม[9] |
พงศาวดารเกี่ยวกับหัวเมืองและตำนานท้องถิ่น
แก้- พงศาวดารเหนือ
- พงศาวดารเมืองถลาง
- พงศาวดารเมืองปัตตานี
- พงศาวดารเมืองสงขลา
- พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย
- พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน
- พงศาวดารโยนก
- ราชวงศปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน
- พงศาวดารเมืองพัทลุง
- พงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราช
- พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน
- พงศาวดารเมืองยโสธร
- พงศาวดารเมืองนครพนม สังเขป
- พงศาวดารภาคอีสาน ฉะบับของพระสุนทรราชเดช (แข้ ประทุมชาติ)
- พงศาวดารภาคอีสาน ฉะบับของพระยาขัติยวงษา (เหลา ณร้อยเอ็จ)
รายชื่อพงศาวดารเกี่ยวกับประเทศอื่นที่มีการแปลเป็นภาษาไทย
แก้หัวเมืองและอาณาจักรในเขตประเทศกัมพูชา
แก้- พงศาวดารเขมร ฉบับนักองค์เอง (พงศาวดารเมืองละแวก จ.ศ. 1158)
- พงศาวดารเมืองละแวก จ.ศ. 1170
- พงศาวดารเขมร จ.ศ. 1217
- พงศาวดารเขมรอย่างย่อ
- พงศาวดารเมืองพระตะบอง
- ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณแปลใหม่ (ฉบับพระองค์นพรัตน์, ฉบับหอสมุดแห่งชาติ)
หัวเมืองและอาณาจักรในเขตประเทศจีน
แก้- พงศาวดารจีนฉบับภาษาไทย
- พงศาวดารเมืองเชียงรุ้ง
- พงศาวดารไทยใหญ่ (พงศาวดารไทยเมาฤๅไทยหลวง)
หัวเมืองและอาณาจักรในเขตประเทศญี่ปุ่น
แก้- พงศาวดารญี่ปุ่น
หัวเมืองและอาณาจักรในเขตประเทศพม่า
แก้- พงศาวดารเมืองเชียงตุง
- พงศาวดารพม่ารามัญ (พงศาวดาร มอญ พม่า)
- พงศาวดารมอญฉบับปากลัด
- พระราชพงศาวดารพม่า
- พงศาวดารไทยใหญ่ (พงศาวดารแสนหวี)
- มหาราชวงษ์ พงษาวดารพม่า
หัวเมืองและอาณาจักรในเขตประเทศมาเลเซีย
แก้- พงศาวดารเมืองไทรบุรี
- พงศาวดารเมืองตรังกานู
- พงศาวดารเมืองกลันตัน
หัวเมืองและอาณาจักรในเขตประเทศลาว
แก้- พงศาวดารเมืองล้านช้าง
- พงศาวดารเมืองหลวงพระบาง ตามฉบับที่มีอยู่ในศาลาลูกขุน
- พงศาวดารเมืองหลวงพระบาง
- พงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์
- พงศาวดารเมืองเชียงแขง
- พงศาวดารเมืองหัวพันห้าทั้งหก
- พงศาวดารลาวฉบับมหาสิลา วีระวงส์
หัวเมืองและอาณาจักรในเขตประเทศเวียดนาม
แก้- พงศาวดารญวน ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์
- ราชพงศาวดารญวน
- พงศาวดารญวน ฉบับนายหยอง (เวียดนามสือกี้)
- พงศาวดารเมืองไล
- พงศาวดารเมืองแถง
หัวเมืองและอาณาจักรในเขตประเทศอินโดนีเซีย
แก้- พงศาวดารและโบราณวัตถุสถานในเกาะชวา
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. หน้า 800. ISBN 978-616-7073-80-4
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 อรรถพันธุ์, อุบลศรี (1981). การชำระพระราชพงศาวดารในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (PDF) (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยศิลปากร. pp. 27–28, 41, 46–47. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-01-14. สืบค้นเมื่อ 2024-06-16.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ (2016), "พระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส", ใน วิงวอน, เสาวณิต; ภักดีคำ, ศานติ (บ.ก.), ฉันท์วรรณพฤติและมาตราพฤติ, กรุงเทพฯ: คณะสงฆ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, สืบค้นเมื่อ 2024-07-30
- ↑ หุตางกูร, ตรงใจ; และคณะ (2017), โครงการพัฒนาองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีจากเอกสารโบราณและจารึก ปีที่ 4 การศึกษาวิจัยพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ (PDF), กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, pp. 8–9, สืบค้นเมื่อ 2024-11-27
- ↑ ไพโรจน์ธีระรัชต์, สมใจ (1985). "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๑-๔ : เปรียบเทียบฉบับตัวเขียนและฉบับพิมพ์". Journal of the Faculty of Arts, Silpakorn University. 8: 72–73. สืบค้นเมื่อ 2024-07-30 – โดยทาง Thai Journals Online.
- ↑ เกตุจุมพล, จีรพล (1996). "ความสำคัญของหลักฐานพงศาวดารและการชำระพงศาวดาร" (PDF). การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างขององค์ความรู้ ของกลุ่มชนชั้นนำสยามรุ่นใหม่ พ.ศ. 2367-2468 (ศึกษากรณีการชำระพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-4) [The structural change of the knowledge of the modern Thai elites, 1824-1925 (The case study of the rewriting of the Bangkok Chronicles Rama I-IV)] (วิทยานิพนธ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. pp. 26–29. สืบค้นเมื่อ 2024-07-30.
- ↑ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา (1996), "ตำนานการแต่งพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ ๕", พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕ (PDF), กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและหม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล พระธิดา, pp. 1–9, ISBN 974-7305-57-7, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-04-27, สืบค้นเมื่อ 2024-07-30
- ↑ 8.0 8.1 กรมศิลปากร (ผู้รวบรวม) (1937), "พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ ( เจิม )" [Phraratchaphongsawadan Chabap Phan Channumat (Choem)], ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ [Collection of Historical Archives] (PDF), พระนคร: โรงพิมพ์เดลิเมล์, p. 2, สืบค้นเมื่อ 2024-11-27
- ↑ ภักดีคำ, ศานติ (2019), "พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาสังเขป ฉบับวัดสุทัศนเทพวราราม", ประวัติศาสตร์อยุธยาจากพระราชพงศาวดาร: พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับปลีกและฉบับความย่อ, กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, pp. 317–330, ISBN 978-616-93269-0-8
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิซอร์ซมีเอกสารต้นฉบับในเรื่องนี้: พงศาวดาร
วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:
- กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (2005), "พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวัน วลิต พ.ศ. ๒๑๘๒", รวมบันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของฟาน ฟลีต (วัน วลิต), กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, pp. 163–248, ISBN 974-9528-01-8, สืบค้นเมื่อ 2024-11-26
- ภักดีคำ, ศานติ, บ.ก. (2015), พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน, กรุงเทพฯ: มูลนิธิ "ทุนพระพุทธยอดฟ้า" ในพระบรมราชูปถัมภ์, ISBN 978-616-92351-0-1, สืบค้นเมื่อ 2024-11-26
- พระราชพงษาวดารกรุงเก่า (ฉบับหมอบรัดเล), กรุงเทพฯ: แดน บีช แบรดลีย์, 1864, สืบค้นเมื่อ 2024-11-26
- ภักดีคำ, ศานติ (2019), "พระราชพงศาวดารสังเขปและพระราชพงศาวดารย่อ พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส", ประวัติศาสตร์อยุธยาจากพระราชพงศาวดาร: พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับปลีกและฉบับความย่อ, กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, pp. 209–234, ISBN 978-616-93269-0-8
- ราชบัณฑิตยสภา (ผู้รวบรวม) (1937), "เทศนาจุลยุทธการวงศ์" [Thetsana Chunlayutthakarawong], ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๖ [Collection of Historical Archives] (PDF), พระนคร: โรงพิมพ์เดลิเมล์, pp. 102–120, สืบค้นเมื่อ 2024-11-27
- ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ (1972), พระธรรมเทศนา พระราชพงศาวดารสังเขป (PDF), พระนคร: วัฒนพาณิช, สืบค้นเมื่อ 2024-11-27
- ภักดีคำ, ศานติ (2019), "พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับนายแก้วจำลอง", ประวัติศาสตร์อยุธยาจากพระราชพงศาวดาร: พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับปลีกและฉบับความย่อ, กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, pp. 110–129, ISBN 978-616-93269-0-8
- ภักดีคำ, ศานติ, บ.ก. (2015), "พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ในหอพระราชกรมานุสร", พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน, กรุงเทพฯ: มูลนิธิ "ทุนพระพุทธยอดฟ้า" ในพระบรมราชูปถัมภ์, pp. 515–523, ISBN 978-616-92351-0-1, สืบค้นเมื่อ 2024-11-27
- ภักดีคำ, ศานติ, บ.ก. (2015), "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ในหอพระราชพงษานุสร", พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน, กรุงเทพฯ: มูลนิธิ "ทุนพระพุทธยอดฟ้า" ในพระบรมราชูปถัมภ์, pp. 525–535, ISBN 978-616-92351-0-1, สืบค้นเมื่อ 2024-11-27