พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 เป็นกฎหมายไทยระดับพระราชบัญญัติ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการป้องกันบุคคลจากการทรมานและการทำให้บุคคลสูญหายโดยเจ้าหน้าที่รัฐ เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565[4]

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ตรารัฐสภาไทย[a]
วันตรา25 ตุลาคม 2565
ผู้ลงนามพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
วันลงนาม25 ตุลาคม 2565
วันประกาศ25 ตุลาคม 2565
วันเริ่มใช้22 กุมภาพันธ์ 2566[1] (ใช้มาตรา 10 โดยอนุโลม)
ท้องที่ใช้ประเทศไทย
ผู้รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
วันเผยแพร่25 ตุลาคม 2565
การยกร่างในชั้นสภาล่าง
วาระที่หนึ่ง15 กันยายน 2563[2]
วาระที่สอง23 กุมภาพันธ์ 2564
วาระที่สาม23 กุมภาพันธ์ 2564[2]
การยกร่างในชั้นสภาสูง
วาระที่หนึ่ง28 กุมภาพันธ์ 2565[3]
วาระที่สอง9 สิงหาคม 2565
วาระที่สาม9 สิงหาคม 2565

วันที่ 6 มกราคม 2566 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเพื่อขอขยายเวลาการบังคับใช้กฎหมายออกไปโดยอ้างว่ามีความไม่พร้อมทางด้านงบประมาณ ความพร้อมของบุคลากรและปัญหาขัดข้องในการดำเนินงาน[5]

กระบวนการยกร่างกฎหมาย แก้

มีการเสนอร่างกฎหมายจำนวน 4 ฉบับ โดยคณะรัฐมนตรี, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคประชาชาติ, ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ และคณะกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน (กมธ. กฎหมาย) ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีความแตกต่างกันในสัดส่วนของประชาชนในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ผู้มีสิทธิดำเนินคดี และสิทธิของผู้ถูกควบคุมตัว[6]

ร่างกฎหมายดังกล่าวผ่านสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 ด้วยเสียง 359–0 งดออกเสียง 1 ไม่ลงคะแนนเสียง 2 โดยมีเนื้อหานำร่างฯ ของ กมธ. กฎหมายมาร่วมด้วยของคณะรัฐมนตรี เช่น เพิ่มโทษ การขยายอายุความ การตัดอำนาจของศาลทหารและวางหลักเกณฑ์การควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่[7]

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 วุฒิสภาผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวในวาระแรกด้วยคะแนนเสียง 197–2 งดออกเสียง 4[3] โดยคำนูณ สิทธิสมาน ตั้งคำถามว่า ร่างกฎหมายถูกปรับแก้ไปจนต่างจากร่างเดิมที่เสนอโดย ครม. มาก แล้วครม. เห็นด้วยหรือไม่กับการแก้ไขของ ส.ส.[8] มีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวโดยมีการเชิญเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานราชการต่าง ๆ มาให้ความเห็น ซึ่งส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าควรกลับไปใช้ร่างฯ ของคณะรัฐมนตรี[8]

เนื้อหาร่างฯ ของกรรมาธิการวิสามัญของวุฒิสภามีประเด็นคือ ตัดมาตรากำหนดความผิดฐานกระทำการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์, ตัดข้อห้ามนิรโทษกรรมผู้กระทำผิด, ตัดผู้แทนผู้เสียหายในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการซ้อมทรมานฯ, ตัดข้อบังคับให้ต้องบันทึกวีดีโอระหว่างควบคุมตัว และลดอายุความจาก 40 ปีเหลือ 20 ปี[9] วันที่ 9 สิงหาคม 2565 ที่ประชุมวุฒิสภามีมติในวาระสองและสามให้แก้ไขร่างฯ ด้วยคะแนนเสียง 121–8 งดออกเสียง 6 ส่งกลับไปให้ ส.ส. ลงมติ[10]

จนวันที่ 24 สิงหาคม 2565 สภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบร่างฯ ที่สมาชิกวุฒิสภาแก้ไขแล้วด้วยคะแนนเสียง 287–1 งดออกเสียง 1 โดยรังสิมันต์ โรม อภิปรายว่า วันนี้ตนจะยอมรับว่าต้องกลืนเลือด เนื่องจากเวลาของสภานี้เหลือไม่มากแล้ว สิ่งที่เราทำได้คือต้องคงร่างที่ ส.ว. ส่งมา เราจึงต้องให้กฎหมายนี้ผ่าน[11]

เชิงอรรถ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "นับถอยหลัง 60 วัน เตรียมพร้อมบังคับใช้ พ.ร.บ.ป้องกันซ้อมทรมาน-อุ้มหาย". The Reporters. 22 December 2022. สืบค้นเมื่อ 17 January 2023.
  2. 2.0 2.1 "ร่าง พ.ร.บ.อุ้มหาย ผ่านวาระ 3 สภาผู้แทนฯ เอกฉันท์". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 17 January 2023.
  3. 3.0 3.1 "ที่ประชุม ส.ว. มีมติรับหลักการวาระที่ 1 ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันซ้อมทรมานอุ้มหาย ที่ผ่าน ส.ส. ตั้ง กมธ. 25 คน ถกวาระ 2". THE STANDARD. 28 February 2022. สืบค้นเมื่อ 17 January 2023.
  4. "โปรดเกล้าฯ พ.ร.บ.ป้องกันซ้อมทรมาน-อุ้มหาย มีผลหลังประกาศในราชกิจจาฯ 120 วัน". ไทยรัฐ. 26 October 2022. สืบค้นเมื่อ 17 January 2023.
  5. "สตช. ขอขยายเวลาบังคับใช้ พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหายฯ เหตุงบประมาณ-บุคลากร ยังไม่พร้อม". iLaw. สืบค้นเมื่อ 17 January 2023.
  6. "เปิดสี่ร่างพ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและอุ้มหาย สร้างกลไกป้องกัน อุดช่องโหว่ปัญหาทรมาน-อุ้มหาย". iLaw. สืบค้นเมื่อ 17 January 2023.
  7. "หยุดลอยนวลพ้นผิด! สภาลงมติวาระสองและสาม ผ่านพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมาน ส่งให้ส.ว.พิจารณาต่อ". iLaw. สืบค้นเมื่อ 17 January 2023.
  8. 8.0 8.1 "ส.ว. ขอยืดเวลาแก้ร่างพ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ อาจเสี่ยงผ่านไม่ทันสภาชุดนี้". iLaw. สืบค้นเมื่อ 17 January 2023.
  9. "ส.ว. ขอแก้ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและอุ้มหายฯ กลับไปคล้ายร่างครม. ทั้งที่ ส.ส. มีมติแก้แล้ว". iLaw. สืบค้นเมื่อ 17 January 2023.
  10. "ร่างพ.ร.บ.ป้องกันทรมานอุ้มหายฯ ยังไม่เสร็จ เหตุส.ว. มีมติแก้ไข ต้องส่งกลับให้ ส.ส. เห็นชอบ". iLaw. สืบค้นเมื่อ 17 January 2023.
  11. "ส.ส. เห็นด้วยกับ ส.ว. ผ่าน ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหายฯ ปิดวงจรลอยนวลพ้นผิด". iLaw. สืบค้นเมื่อ 17 January 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้