พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 เป็นพระราชบัญญัติซึ่งพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการประกาศให้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 มีเหตุผลในพระราชบัญญัติว่า เพื่อป้องกันหรือรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ได้อย่างทันท่วงที สภานิติบัญญัติแห่งชาติออกเสียงเห็นชอบให้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562

พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ตราสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ผู้ลงนามพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
วันลงนาม24 พฤษภาคม 2562
ผู้ลงนามรับรองประยุทธ์ จันทร์โอชา
วันประกาศ27 พฤษภาคม 2562
วันเริ่มใช้28 พฤษภาคม 2562
ผู้รักษาการนายกรัฐมนตรี
การพิจารณาในสภานิติบัญญัติ
วาระที่สอง28 กุมภาพันธ์ 2562
วาระที่สาม28 กุมภาพันธ์ 2562
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายมีใจความหลักคือ การตั้งหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ และการแบ่งประเภทภัยคุกคามทางไซเบอร์[1]

ผู้วิจารณ์กฎหมายนี้ให้เหตุผลว่า กฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐค้น เจาะระบบทำสำเนา และสอดส่องข้อมูลแบบเรียลไทม์ (real time) ได้ โดยไม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลในกรณีที่เป็นเหตุจำเป็นเร่งด่วนและเป็นภัยคุกคามร้ายแรง รวมทั้งสามารถยึดค้นคอมพิวเตอร์และข้อมูลสารสนเทศได้ ด้านสฤณี อาชวานันทกุล จากกลุ่มเครือข่ายพลเมืองเน็ต แย้งว่า กฎหมายนี้เป็นกฎหมายที่ดีเพราะประเทศไทยตกเป็นเป้าของการโจมตีไซเบอร์ที่ผ่านมา แต่ไม่ดีเพราะกฎหมายออกมาในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และตั้งใจเขียนให้สามารถนำไปใช้ในทางที่ผิด คือ กรณีที่เข้าข่ายปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง[2] สฤณียังเขียนว่ากฎหมายนี้ต่างจากกฎหมายความมั่นคงไซเบอร์ของยุโรปที่นิยามภัยคุกคามไซเบอร์อย่างกำกวม และสอดแทรกประเด็นความมั่นคงของรัฐเข้าไปด้วย[3] ด้านสุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาฮิวแมนไรต์วอช กล่าวว่า "เป็นส่วนสำคัญของวาระที่กองทัพ และเครือข่ายฝ่ายอนุรักษนิยมที่กุมอำนาจรัฐดำเนินความพยายามมากว่า 10 ปีในการที่จะหาทางสอดส่อง ตรวจสอบ ปิดกั้น และดำเนินคดีต่อเนื้อหาของการสื่อสารออนไลน์"[2]

ด้านกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมชี้แจงว่า กฎหมายนี้ไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยการเฝ้าระวัง สอดส่องติดตาม ข้อมูล เนื้อหาในสื่อสังคม เพราะมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 คุ้มครองการหมิ่นประมาทบุคคลอยู่แล้ว ส่วนกฎหมายนี้จะใช้คุ้มครองระบบคอมพิวเตอร์เป็นหลัก รวมทั้งไม่มีการขอดูข้อมูลประชาชนและละเมิดสิทธิ์ข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งการเข้าไปในสถานที่ เพื่อตรวจค้น ยึดอุปกรณ์ และการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ทุกกรณีต้องอาศัยคำสั่งศาล[4]

อ้างอิง แก้

  1. "ประกาศแล้ว! 2กฎหมายฮอต'ไซเบอร์ซิเคียวริตี้-คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล'". ประชาชาติ. 28 กุมภาพันธ์ 2019. สืบค้นเมื่อ 01-06-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. 2.0 2.1 "พ.ร.บ. ไซเบอร์ : สนช. เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ. มั่นคงไซเบอร์ ประกาศใช้เป็นกฎหมาย". บีบีซีไทย. 28 กุมภาพันธ์ 2019. สืบค้นเมื่อ 01-06-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. ทอาชวานันกุล, สฤณี (4 มีนาคม 2019). "4ข้อเท็จจริงต้องรู้ "พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์" มุ่งป้องกันภัยคุกคาม-ไม่ได้ให้อำนาจส่องข้อมูลบุคคล". ไทยพับลิกา. สืบค้นเมื่อ 01-06-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. "4ข้อเท็จจริงต้องรู้ "พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์" มุ่งป้องกันภัยคุกคาม-ไม่ได้ให้อำนาจส่องข้อมูลบุคคล". โพสต์ทูเดย์. 06 มี.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ 01-06-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)