พระราชครูวามเทพมุนี (หว่าง รังสิพราหมณกุล)

อดีตประธานพระครูพิธีพราหมณ์ในสมัยรัชกาลที่ 7 อดีตองคมนตรี

มหาเสวกตรี พระราชครูวามเทพมุนี (หว่าง รังสิพราหมณกุล) (22 ธันวาคม 2410 - 11 มิถุนายน 2470) อดีตประธานพระครูพิธีพราหมณ์ในสมัยรัชกาลที่ 7 อดีตองคมนตรี

พระราชครูวามเทพมุนี

เกิด22 ธันวาคม พ.ศ. 2410
เสียชีวิต11 มิถุนายน พ.ศ. 2470 (59 ปี)
สาเหตุเสียชีวิตเนื้องอก
บิดามารดา
  • พระครูอัษฎาจารย์ (แจ้ง รังสิพราหมณกุล) (บิดา)

ประวัติ

แก้

พระราชครูวามเทพมุนี มีนามเดิมว่า หว่าง รังสิพราหมณกุล เกิดเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2410 ในช่วงปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุตรชายของ พระครูอัษฎาจารย์ (แจ้ง รังสิพราหมณกุล) ต่อมาได้เข้ารับราชการในกรมพราหมณ์พิธีและรับประทวนตราตั้งเป็นที่ ขุนศรีสบสมัย ต่อมาในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2440 ขณะอายุได้ 30 ปีได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็นที่ หลวงญาณสยมภูว์ ถือศักดินา ๖๐๐ [1] จากนั้นในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2453 ซึ่งตรงกับต้นรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น หลวงราชมุนี ปลัดกรมพราหมณ์พิธี ถือศักดินา ๖๐๐[2]

กระทั่งปีถัดมาคือในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2454 ที่ พระที่นั่งพิมานปฐม พระราชวังสนามจันทร์ หลวงราชมุนีได้เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น พระครูวามเทพ เจ้ากรมพราหมณ์พิธี ถือศักดินา ๘๐๐ [3] จากนั้นในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2455 พระครูวามเทพได้รับพระราชทานยศ เสวกตรี [4] ต่อมาในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศให้ พระครูวามเทพ เป็น เสวกโท[5]

กระทั่งวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2457 เนื่องในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระครูวามเทพ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น พระราชครูวามเทพมุนี รามเวทีศรีไสยศาสตร์ อนุษฎกวาทโกศล จางวางกรมพราหมณ์พิธี ถือศักดินา ๑๐๐๐[6] ต่อมาในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2460 พระราชครูวามเทพมุนีได้รับพระราชทานยศเป็น เสวกเอก [7] จากนั้นในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 พระราชครูวามเทพมุนีได้รับพระราชทานยศเป็น มหาเสวกตรี [8]

พระราชครูวามเทพมุนีถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคเนื้องอกเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2470 ขณะอายุได้ 59 ปี[9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. พระราชทานสัญญาบัตร
  2. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง (หน้า ๒๖๔๓)
  3. พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการในกระทรวงวัง (หน้า ๑๓๙๙)
  5. ตั้งและเลื่อนยศ (หน้า ๔๘๗)
  6. พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ (หน้า ๒๔๑๙)
  7. พระราชทานยศ
  8. พระราชทานยศ
  9. ข่าวตาย
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๘๕, ๑ มกราคม ๒๔๖๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๔๙, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๕
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๗๒, ๑๔ มกราคม ๒๔๕๙
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฝ่ายใน, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๙๑, ๗ มกราคม ๒๔๖๖
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๘๕, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๐๐, ๑๑ ธันวาคม ๒๔๖๙
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๕๗, ๒๔ สิงหาคม ๒๔๕๖