พระยาเพชรกำแหงสงคราม (มลิ ยุกตนันท์)

อำมาตย์โท พระยาเพชรกำแหงสงคราม (มลิ ยุกตนันท์) (5 ตุลาคม 2408 – 25 ธันวาคม 2482)[1] เป็นขุนนางชาวไทย อดีตผู้ว่าราชการเมืองชุมพร, อดีตผู้ว่าราชการเมืองตะกั่วป่า และต้นตระกูลยุกตะนันท์[2]

ประวัติ แก้

อำมาตย์โท พระยาเพชรกำแหงสงคราม เกิดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2408 บิดาชื่อ ยุก ยุกตนันท์ มารดาชื่อ หรุ่น ยุกตนันท์ จบการศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เมื่อจบการศึกษาได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ คุณหญิงเพชรกำแหงสงคราม (เป้า วัชราภัย ยุกตะนันท์) น้องสาวของพระยาพิจารณาปฤชามาตย์ (สุหร่าย วัชราภัย) อดีตองคมนตรีสมัยรัชกาลที่ 6–7 และอดีตกรรมการศาลฎีกา

พระยาเพชรกำแหงสงครามถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2482 ด้วยโรคชราที่บ้านตรอกเวท ถนนสีลม จังหวัดพระนคร สิริอายุได้ 74 ปี

รับราชการ แก้

หลังจากเรียนจบจากสหรัฐอเมริกาก็ได้เข้ารับราชการเป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก (โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ในปัจจุบัน) เมื่อปี 2431 ในวันที่ 7 เมษายน 2432 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศเป็น นายร้อยตรี มลิ[3] จากนั้นในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2435 ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนยศเป็น นายร้อยโท มลิ[4] ต่อมาได้โอนไปรับราชการที่กระทรวงมหาดไทยและได้เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น หลวงสวัสดิ์บุรีรมย์ ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา เมื่อวันที่ 13 มกราคม ศกเดียวกัน[5]

ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2440 ได้โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทยส่งสัญญาบัตรเลื่อนบรรดาศักดิ์ให้ท่านเป็น พระยาเพชรกำแหงสงคราม ผู้ว่าราชการเมืองชุมพร ถือศักดินา 3000[6] ต่อมาในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2443 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายท่านมาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองตะกั่วป่าที่ว่างอยู่[7] ในปี 2446 ท่านได้เป็นเจ้ากรมสำรวจ ก่อนจะลาออกจากตำแหน่งในเดือนพฤษภาคมปี 2447 เนื่องจากโรคภัยเบียดเบียนขอพักรักษาตัว[8] จากนั้นในปี 2449 หลังจากรักษาตัวจนหายดีแล้วก็ได้กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองศรีโสภณแทน หลวงนราโยธี ที่โปรดให้กลับเข้ามารับราชการที่กรุงเทพฯ[9]

ต่อมาเมื่อมีการยกฐานะอำเภอกบินทร์บุรี เมืองปราจีนบุรี ขึ้นเป็นเมืองกบินทร์บุรี ในปี 2450[10] ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้ท่านเป็นผู้ว่าราชการเมืองกบินทร์บุรี หลังจากนั้นในปี 2451 ท่านก็ล้มป่วยจึงได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองกบินทร์บุรีเพื่อพักรักษาตัวโดยมี พระภักดีเดชะ นายอำเภอประจันตคามมารักษาราชการแทน[11]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พระยาเพชรกำแหงสงคราม (มลิ ยุกตนันท์) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

อ้างอิง แก้

  1. จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน
  2. พระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 5 (ลำดับที่ 394)
  3. พระราชทานสัญญาบัตร พลเรือน และ ทหาร (หน้า 10)
  4. พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
  5. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  6. ส่งสัญญาบัตรไปพระราชทาน
  7. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายข้าราชการและแต่งตั้งข้าราชการ (หน้า 719)
  8. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  9. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  10. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  11. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๑๔ ตอนที่ ๑๕ หน้า ๑๘๘, ๑๑ กรกฎาคม ๑๑๖
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๒ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๔๔๕, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๑๑๔
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๒๙๘, ๑๓ กันยายน ๒๔๕๗