พระยาวิจารณ์จักรกิจ (บุญรอด สวาทะสุข)
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
พลเรือตรี พระยาวิจารณ์จักรกิจ หรือนามเดิม บุญรอด สวาทะสุข ต่อมาเปลี่ยนเป็น บุญชัย สวาทะสุข (17 มิถุนายน 2433-20 มิถุนายน 2510) อดีต ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นต้นสกุล "สวาทะสุข" ได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2457 [2] ก่อนได้รับพระราชทานนามสกุลสวาทะสุข เดิมสกุลทองเอม มีพี่น้องรวม 8 คนแต่ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกันมี 3 คนคือ พลเรือตรี พระยาวิจารณจักรกิจ นางเปี่ยม วีรเดช และ นางปุก คงเปรม เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองในคณะรัฐมนตรีคณะที่ 6 และ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 7 ในสมัยของพระยาพหลพลพยุหเสนา และยังดำรงตำแหน่งเป็นผู้รักษาราชการตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ (2 พฤษภาคม 2477 - 9 พฤษภาคม 2481) และผู้บัญชาการทหารเรือ (10 พฤษภาคม 2481 - 24 ตุลาคม 2481) โดยเมื่อขณะที่ศึกษาอยู่ ณ โรงเรียนนายเรือในช่วงเดือนตุลาคม ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) กรมทหารเรือได้สั่งให้กรมยุทธศึกษาทหารเรือคัดเลือกนักเรียนนายเรือ 7 นาย เพื่อจะส่งไปศึกษาวิชาการทหารเรือ ณ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่ง นายบุญรอด (ต่อมาเป็นพลเรือตรี พระยาวิจารณ์จักรกิจ) เป็น 1 ใน 7 นักเรียนนายเรือที่ได้รับคัดเลือกในสมัยนั้นด้วย พลเรือตรี พระยาวิจารณ์จักรกิจ เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนอาชีพช่างกล หรือสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันในปัจจุบัน
พลเรือตรี พระยาวิจารณ์จักรกิจ (บุญรอด สวาทะสุข) ท.ช., ต.ม. | |
---|---|
ผู้บัญชาการทหารเรือ | |
ดำรงตำแหน่ง 10 พฤษภาคม 2481 – 24 ตุลาคม 2481 [1] | |
ถัดไป | พลเรือเอก หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 มิถุนายน พ.ศ. 2433 |
เสียชีวิต | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2510 (77 ปี) |
บิดา | สุก สวาทะสุข |
มารดา | แสง สวาทะสุข |
คู่สมรส | เพียรผจง สวาทะสุข |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
ยศ | ![]() |
ยศ บรรดาศักดิ์ ตำแหน่งแก้ไข
- เจ้ากรมอู่ทหารเรือ
- 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2481 - ผู้บัญชาการทหารเรือ
- 24 ตุลาคม พ.ศ. 2481 - ที่ปรึกษาการป้องกันพระราชอาณาจักร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
- พ.ศ. 2460 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)[3]
อ้างอิงแก้ไข
แหล่งข้อมูลแก้ไข
- รายพระนาม และรายนามผู้บัญชาการทหารเรือ
- ชมรมศิษย์เก่านักเรียนนายเรือสัมพันธ์ เก็บถาวร 2010-01-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- วันนี้ในอดีตกองทัพไทย[ลิงก์เสีย]
- จาริกานุสสรณ์ผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนอาชีพช่างกล[ลิงก์เสีย]
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |