พระมหาเมธังกร (พรหม พฺรหฺมเทโว)

พระมหาเมธังกร นามเดิม พรหม เกศทับทิม ฉายา พฺรหฺมเทโว อดีตเจ้าอาวาสวัดเมธังกราวาส (วัดน้ำคือ) ประธานผู้ก่อตั้งวัดพระธาตุช่อแฮ โรงเรียนวัดเมธังกราวาส และอดีตเจ้าคณะจังหวัดแพร่ เป็นพระสงฆ์ที่นำระบบการปกครองคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2446 มาเผยแพร่ในจังหวัดแพร่

เจ้าคุณพระมหาเมธังกร

(พรหม พฺรหฺมเทโว)
ส่วนบุคคล
เกิด19 พฤษภาคม พ.ศ. 2418 นครแพร่ (74 ปี 37 วัน ปี)
มรณภาพ25 เมษายน พ.ศ. 2492
นิกายมหานิกาย
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดเมธังกราวาส (น้ำคือ) แพร่
บรรพชา22 กรกฎาคม พ.ศ. 2461
อุปสมบท23 มิถุนายน พ.ศ. 2464
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเมธังกราวาส (วัดน้ำคือ)
เจ้าคณะจังหวัดแพร่

ประธาน ผู้ก่อตั้งวัดพระธาตุช่อแฮ

ผู้ก่อตั้งโรงเรียนวัดเมธังกราวาส อ. เมือง จ. แพร่

เจ้าคุณพระมหาเมธังกรนับว่าเป็นพระเถระผู้ทรงคุณสมบัติยิ่งของชาวจังหวัดแพร่ที่ลูกหลานชาวแพร่และชาวล้านนา ทุกคนจะรำลึกถึงความดีของท่านที่ได้กระทำไว้และประพฤติปฏิบัติสืบทอดเจตนารมณ์ของท่าน สืบไป

ประวัติ แก้

พระมหาเมธังกร มีนามเดิมว่า พรหม เกศทับทิม เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2418 ที่บ้านน้ำคือ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นบุตรคนสุดท้องของนายชัยลังกา และนางเที่ยง เกศทับทิม ต้นตระกูลเกศทับทิม, ประสิทธิกุล, และประสิทธิโศภิน อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดน้ำคือ (ปัจจุบันคือวัดเมธังกราวาส) ได้ศึกษาภาษาบาลีกับพระครูพุทธวงศาจารย์ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร อารามหลวง และได้ไปอบรมการศาสนาและคณะสงฆ์ในสำนักสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร

ต่อมาได้กลับไปจำพรรษาที่เมืองแพร่ ได้เป็นเจ้าคณะจังหวัดแพร่ ท่านได้ตั้งโรงเรียนบาลีขึ้นที่จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นแห่งแรกในภาคเหนือและได้จัดตั้งโรงเรียนประชาบาลในวัดของท่าน ชื่อ "โรงเรียนประชาบาลวัดน้ำคือ" เมื่อ พ.ศ. 2477 เริ่มต้นด้วยศาลาการเรียนการสอนภายในพื้นที่ของวัด และมอบที่ดิน 1 ไร่ 11 ตารางวา เพื่อสร้างอาคารเรียน ปัจจุบันคือโรงเรียนเมธังกราวาส (เทศรัฐราษฎร์นุกูล) เป็นเจ้าอาวาสวัดเมธังกราวาส และเป็นประธานผู้ก่อตั้งวัดพระธาตุช่อแฮอารามหลวง วัดคู่บ้านคู่เมืองประจำจังหวัดแพร่ต่อไป

พระมหาเมธังกร (พรหม พฺรหฺมเทโว) มรณภาพเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2492 ด้วยโรคชรา รวมอายุได้ 74 ปี ได้รับพระราชทานเพลิงศพในวันที่ 3-7 เมษายน พ.ศ. 2494

หน้าที่และผลงาน แก้

พระมหาเมธังกรเป็นพระเถระที่มีมารยาทอันดีงามจนเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส และเป็นที่รักใคร่สนิทสนมของสมเด็จวัดมหาธาตุเมื่อครั้งไปอบรมการพระศาสนาและการปกครองคณะสงฆ์ที่กรุงเทพฯ ใน พ.ศ. 2458 พระมหาเมธังกรเป็นพระเถระผู้ทรงคุณสมบัติอันควรแก่ความเคารพสักการะอย่างสูงแห่งคณะสงฆ์จังหวัดแพร่และประชาชนชาวแพร่

  • เป็นพระรูปแรกที่ได้นำการปกครองคณะสงฆ์ ระบอบใหม่มาเผยแพร่ในจังหวัดแพร่ ท่านได้ทำให้การคณะสงฆ์ของจังหวัดแพร่เจริญก้าวหน้าขึ้น ตามลำดับ ท่านเป็นผู้มีสติปัญญาฉลาดเอาใจคนปฏิบัติการคณะสงฆ์ในระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่น ใหม่ในลักษณะที่ว่า "บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น"
  • พ.ศ. 2461 พระมหาเมธังกรเป็นพระรูปแรกที่ได้จัดตั้งโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกธรรม พยายามให้ภิกษุสามเณรและศิษย์วัดได้รับการศึกษาทางพระศาสนาและทางโลก
  • เป็นกำลังสำคัญในการจัดตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้นในจังหวัดแพร่ และได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นที่ วัดของท่าน (โรงเรียนวัดเมธังกราวาสเทศรัฐราษฎร์นุกูล) เริ่มแรกนั้นเจ้าอาวาสวัดเมธังกราวาสฯอาศัยศาลาวัดเป็นที่เรียน และได้รับเข้าเป็นโรงเรียนของทางราชการ ท่านเป็นผู้อุปการะโรงเรียนประจำจังหวัดชายหลายปี และทำให้เด็กบ้านน้ำคือได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง
  • เป็นพระรูปแรกที่นำเอาศาสนพิธีระบอบใหม่เข้าสู่วงการพระศาสนาเมืองนครแพร่ พยายาม แนะนำพร่ำสอนภิกษุสามเณรและประชาชนให้ตั้งอยู่ในศีลธรรมมีความเลื่อมใสในศาสนาพุทธ
  • เป็นผู้จัดดำเนินการสร้างวิหารวัดพระธาตุจอมแจ้ง(พระธาตุที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดแพร่ คู่กับพระธาตุช่อแฮ) และเป็นประธานกรรมการก่อสร้างวิหารวัดพระธาตุช่อแฮ
  • เป็นพระเกจิที่ชาวแพร่และคนล้านนาให้ความนับถือท่านมาก ท่านปฏิบัติวิปัสสนาอย่างเคร่งครัด ไม่สนใจในลาภยศ อีกทั้งท่านเป็นพระอาจารย์องค์หนึ่งของครูบาชุ่ม วัดวังมุย ครูบาชุ่มไปเรียนวิชากับท่านนานถึง 2 พรรษา รวมถึงตระกรุดหนังควายตายกลม ท่านก็เป็นผู้ถ่ายทอดวิชาให้ครูบาชุ่ม

ท่านมีลูกหลานที่สำคัญ มีชื่อเสียง ได้แก่:

เกจิอาจารย์แห่งล้านนา แก้

พระมหาเมธังกรเป็นพระเกจิอาจารย์ ที่มีชื่อเสียงถือเป็นดั่งปรมาจารย์ทางวิปัสสนา และพระเวทย์

โด่งดังในเรื่องการสร้างกะลาราหูแกะ กะลาระหูเมธังกร และ ตะกรุดไม้ไผ่แดงพอกครั่ง(แทงจอมปลวก)

 
ตะกรุดไม้ไผ่แดงแทงจอมปลวก

อ้างอิง แก้

  • ประวัติโรงเรียนโรงเรียนวัดเมธังกราวาส(เทศรัฐราษฎร์นุกูล) ใน http://data.bopp-obec.info/web/index_view_history.php?School_ID=1054390051&page=history
  • ศรีศักร วัลลิโภดม และ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. นครแพร่ จากอดีตมาปัจจุบัน ภูมินิเวศวัฒนธรรม ระบบความเชื่อ และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย. 2551
  • บทความ “สยามสังคีต” ของนายแพทย์พูนพิศ อมาตกุล สยามรัฐรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๕ คำให้สัมภาษณ์ของครูท้วม ประสิทธิกุล และเอกสารทะเบียนประวัติจากกรมศิลปากร)