พระครูวินัยธรรมแก้ว พฺรหฺมสโร

หลวงพ่อแก้ว (พ.ศ. 2393 - พ.ศ. 2462) ในบรรดาพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าที่ขึ้นชื่อว่าเข้มขลังและยอดเยี่ยมของลุ่มแม่น้ำแม่กลอง เห็นจะไม่มีผู้ใดเกินยิ่งกว่า หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย สมุทรสงคราม เป็นแน่แท้ที่ท่านมีชื่อเสียงมาก่อนยุคหลวงพ่อคง ธมฺมโชโต วัดบางกะพ้อม และ หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม ฯลฯ วัตถุมงคลที่ท่านสร้างและปลุกเสกเอาไว้มีหลายชนิดทั้งประเภทเครื่องรางและของขลังประเภทเหรียญปั๊ม เหรียญรูปหล่อ แต่ที่นิยมเล่นหากันคือเหรียญรูปเหมือนเหรียญปั๊มรุ่นแรก บล็อกวัด สร้างในปี พ.ศ. 2459 รองลงมาจากเหรียญปั๊มพิมพ์พระพุทธปี พ.ศ. 2459 เหรียญหล่อพิมพ์เศียรโล้นและพิมพ์เศียรแหลม เป็นต้น พุทธคุณเด่นทางด้านคงกระพัน

พระครูวินัยธรรม

(แก้ว พรหมสโร)
ส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2393 (69 ปี)
มรณภาพพ.ศ. 2462
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดพวงมาลัย สมุทรสงคราม
บรรพชาพ.ศ. 2403
อุปสมบทพ.ศ. 2413
พรรษา49
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพวงมาลัย

ประวัติ

แก้

หลวงพ่อท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2393 ตรงกับปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ตำบลบางแค อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นบุตรของนายเทียน และนางเนียม ทองพันธุ์ เป็นบุตรคนที่ 2ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 3 คน บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ. 2403 ขณะมีอายุได้ 10 ปี ณ วัดบางแคใหญ่ อำเภออัมพวา อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2413 ณ วัดบางแคใหญ่ โดยมีหลวงพ่อเพ็ง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า พฺรหฺมสโร ได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอุปัชฌาย์และเรียนหนังสือที่วัดนี้ ได้ศึกษาพุทธาคมครั้งแรกจากบิดาตอนเป็นสามเณรอายุ 15 ปี เนื่องจากบิดาของท่านเป็นทหารในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ซึ่งเชี่ยวชาญทางด้านนี้ ศึกษากับหลวงพ่อเพ็ง วัดบางแคใหญ่ ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์เกตุ วัดทองนพคุณ จังหวัดเพชรบุรี (พี่ชายของท่าน)

ในปี พ.ศ. 2424 ประชาชนนิมนต์ท่านให้ไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัดช่องลมเนื่องจากชื่อเสียงของท่านเริ่มโด่งดังในทางคุณวิเศษต่าง ๆ แล้วโดยมาพร้อมกับหลวงพ่อบ่าย ธมฺมโชโต ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสอยู่ 6 ปี ก็ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดพวงมาลัย หลวงพ่อบ่ายจึงเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลมสืบแทน ผู้คนเชื่อว่าท่านมีคุณวิเศษ สามารถล่วงรู้เหตุการณ์ที่อยู่ใกล้ตัวและไกลตัวของท่านทั้งในอดีตและในอนาคตได้อย่างแม่นยำ

นอกจากนี้ท่านยังได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูวินัยธรรม ฐานานุกรมในของพระราชาคณะรูปหนึ่ง แต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่ารูปใด[1]

ท่านถึงแก่มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2462 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมอายุได้ 69 ปี 49 พรรษา

อ้างอิง

แก้
  1. หนังสือรวมสุดยอดพระคณาจารย์ทั้งหมด 180 พระองค์
  2. หลวงพ่อแก้ว พรหมสโร เก็บถาวร 2009-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. ข่าวพระเครื่อง เก็บถาวร 2012-01-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. ประวัติหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย เก็บถาวร 2011-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  1. "พระครูวินัยธรรม (แก้ว พรหมสโร) วัดพวงมาลัย อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม". ลานโพธิ์. 14 มิถุนายน 2553. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]