หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต
พระอุปฌาย์คง ธมฺมโชโต หรือ หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต (3 เมษายน พ.ศ. 2407 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486) อดีตเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่งในอดีต ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองรองจาก หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย เหรียญที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ เหรียญทองแดงเป็นเหรียญยอดนิยมอันดับที่ 4 ของชุดเบญจภาคีเหรียญ ที่มีราคาสูงและหายากยิ่ง รองลงมาคือเหรียญรุ่นปาดตาลปี พ.ศ. 2486 เนื่อเงินลงยา ที่มีประสบการณ์สูงส่ง ขนาดมีดปาดตาลที่คมกริบยังไม่ระคายผิว [1]
พระอุปฌาย์คง ธมฺมโชโต (คง ธมฺมโชโต) | |
---|---|
ชื่ออื่น | หลวงพ่อคง , พระอุปัชฌาย์คง |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 เมษายน พ.ศ. 2407 (78 ปี) |
มรณภาพ | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 |
นิกาย | มหานิกาย |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดบางกะพ้อม จังหวัดสมุทรสงคราม |
บรรพชา | พ.ศ. 2419 ลาสิกขา พ.ศ. 2426 |
อุปสมบท | สิงหาคม พ.ศ. 2427 |
พรรษา | 58 |
ตำแหน่ง | อดีตเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม พระอุปัชฌาย์คง |
ประวัติ
แก้หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต ท่านเกิดเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2407 ณ ตำบลบางสำโรง อำเภอบางคณฑี จังหวัดสุมทรสงคราม โยมบิดาชื่อ เกตุ โยมมารดาชื่อ นางทองอยู่ นามสกุลเดิมคือ จันทร์ประเสิรฐ เล่ากันว่าท่านเกิดในเรือนแพ ซึ่งเรือนหลังนี้มีอาถรรพ์ คือถ้าใครถือกำเนิดในห้องเล็กที่ใต้เรือน จะต้องเป็นผู้ชาย และครองเพศเป็นพระตลอดชีวิต ซึ่งหลวงพ่อทิม วัดเหมืองใหม่ก็เกิดในเรือนนี้เช่นเดียวกัน ก่อนหน้าหลวงพ่อทิมก็มีคนเกิดในเรือนหลังนี้ซึ่งดำรงอยู่ในสมณเพศตลอดชีวิตเช่นเดียวกัน ต่อมาโยมบิดามารดาของหลวงพ่อคงได้ซื้อเรือนนี้มาอีกทอดหนึ่ง พออายุได้ 12 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เพื่อเล่าเรียนอักษรไทยและขอม ต่อมาเมื่อมีอายุได้ 19 ปี ท่านได้ลาสิกขาบทเพื่อไปช่วยบิดาและมารดาของท่านประกอบอาชีพ ครั้นเมื่อมีอายุครบ 20 ปี โดยบริบูรณ์ ท่านได้อุปสมบท ณ วัดเหมืองใหม่ เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2427 โดยมีพระอาจารย์ด้วง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจุ้ย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการทิม วัดเหมืองใหม่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พร้อมพระในที่ประชุมสงฆ์ 25 รูป เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้รับฉายาทางธรรมว่า ธมฺมโชโต แปลว่า ผู้รุ่งเรืองในธรรม[2]
ออกธุดงค์เพื่อศึกษาหาความรู้
แก้เมื่ออุปสมบทแล้วท่านได้ศึกษาคำภีร์มูลกัจจายซึ่งเป็นตำราเรียนบาลีไวยากรณ์ในสมัยโบราณ มีความลึกซึ้งมากเต็มไปด้วยสูตรสนธิต่าง ๆ หลวงพ่อคงท่านศึกษาพระคำภีร์นี้กับพระอาจารย์นกซึ่งเป็นอุบาสกในละแวกนั้นเป็นเวลา 13 ปี จนมีความคล่องแคล่วสามารถแปลธรรมบทตลอดจนคำภีร์ต่าง ๆได้ นอกจากนี้หลวงพ่อคงท่านยังสนใจการศึกษาพระเวทย์วิทยาคม โดยท่านได้ศึกษากับปรมจารย์ชื่อดัง เริ่มแรกท่านได้ศึกษาคำภีร์นี้กับพระอาจารย์ด้วง ซึ่งท่านเชี่ยวชาญการลบผงวิเศษ เป็นที่นับถือในสมัยนั้น ท่านได้เล่าเรียนกับหลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง ในยุคนั้นไม่มีใครรู้จักหลวงพ่อตาด เพราะท่านเป็นพระเถระผู้ที่มีวิทยาคมอันแก่กล้าโดยเฉพาะวิชานะปัดตลอดของท่านนับว่าเป็นยอด ขนาดที่ว่าสามารถเป่าศีรษะทะลุถึงกระดานนั่งได้ วิชานี้ หลวงพ่อทองสุข ก็ได้ไปรำเรียนมา หลวงพ่อคง ยังได้ไปศึกษากับหลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือกผู้เชี่ยวชาญในพระกัมฐาน ท่านนั่งสมาธิยามมรณภาพ พระสมัยก่อนเวลาใครจะออกรุกขมูลต้องไปขอให้หลวงพ่อคุมให้
- ในพรรษาที่ 19 ท่านอาพาธจึงได่หยุดพักผ่อนไปศึกษาเล่าเรียน แต่ท่านหันมาสอนสมถะกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากรรมฐานให้กับลูกศิษย์ลูกหาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ หลวงพ่อคง ท่านยังเอาใจใส่การดูแลก่อสร้างเสนาสนะ เนื่องจากหลวงพพ่อมีฝีมือในเชิงช่าง ในเบื้องต้นของหลวงพ่อได้ซ่อมแซมพอไตรที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรมให้มีสภาพที่ดีขึ้น พร้อมกับนั้น ท่านได้สร้างปั้นพระป่าเลไลย์ด้วยฝีมือของท่านเอง
- ในพรรษาที่ 21 ชาวบ้านได้อาราธนาหลวงพ่อคง ให้ไปรักษาการเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม ซึ่งในขณะนั้นในวัดบางกะพ้อมไม่มีวัดปกครองและวัดก็อยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรม หลวงพ่อท่านตกลงรับคำอาราธนา [3]
บั้นปลายชีวิต
แก้หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต ท่านได้อาพาธด้วยโรคชรา เนื่องจากว่า ท่านมีงานอยู่หลายอย่างต้องทำเพราะเป็นกิจของสงฆ์ ทั้งผลงานการสร้างพระพุทธรูป การสร้างวัตถุมงคล จึงทำให้ท่านไม่ได้มีเวลาพักผ่อนเลย จนภายหลังเป็นเจ้าอาวาสบริหารวัดรับภาระมากแล้ว ในเดือน 4 ของทุก ๆ ปี ท่านจะไปปักกลดในป่าช้าข้างวัดเป็นเวลาราว 1 เดือน เรียกกันว่า “รุกขมูลข้างวัด” โดยถือว่าเป็นการชำระจิตใจให้สะอาดหลังจากมายุ่งกับเรื่องทางโลกเกือบทั้งปี วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 ขณะท่านนั่งร้านเพื่อตกแต่งพระขนงพระประธานองค์ใหม่ เมื่อท่านสวมพระเกตุพระประธานเสร็จ ท่านก็เกิดเป็นลม แต่ก็มีสติดี เอามือประสานในท่านั่งสมาธิจนหมดลมถึงแก่มรณภาพในอาการอันสงบสมกับเป็นผู้ฝึกจิตมาดีแล้ว ศิษย์เห็นท่านนั่งอยู่นานจึงประคองร่างลงมาจากร่างร้าน จึงรู้ว่าท่านมรณภาพแล้ว รวมอายุได้ 78 ปี 58 พรรษา [4]
วัตถุมงคล
แก้หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ท่านได้เริ่มสร้างวัตถุมงคลต่างๆตั้งแต่ปี พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา โดยวัตถุมงคลที่ท่านสร้างมีทั้งเหรียญหล่อต่างๆ พระเนื้อดิน เนื้อผง ลูกอม เสื้อยันต์ และตะกรุด ซึ่งเป็นวิชาที่หลวงพ่อคง ร่ำเรียนมากจากพระอาจารย์ยุคเก่าของลุ่มน้ำแม่กลอทั้งสิ้น ตามรายละเอียดของ วัตถุมงคลของหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม
อ้างอิง
แก้ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง
- ↑ หนังสือรวมสุดยอดพระคณาจารย์ทั้งหมด 180 พระองค์ ทศพล จังพานิชยกุล
- ↑ หนังสือ siam amulet
- ↑ "หนังสือนิตยสารท่าพระจันทร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2011-10-09.
- ↑ "ประวัติหลวงพ่อคง ธมฺมโชโต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2011-10-09.