พรรคฟื้นคืนชีพชาติอิหร่าน (เปอร์เซีย: حزب رستاخیز ملت ایران) หรือ พรรคแรสทอฆีซ (เปอร์เซีย: حزب رستاخیز, อักษรโรมัน: Ḥezb-e Rastāḵiz, แปลว่าพรรคฟื้นฟู/ฟื้นชีพ) เป็นพรรคการเมืองเดียวในประเทศอิหร่านตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2518 ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 ผู้ก่อตั้งพรรคคือพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี[9]

พรรคฟื้นคืนชีพชาติอิหร่าน
حزب رستاخیز ملت ایران
ผู้ก่อตั้งพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี
ก่อตั้ง2 มีนาคม พ.ศ. 2518
ถูกยุบ1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521
รวมตัวกับ
ที่ทำการเตหะราน
กลุ่มแรงงานบ้านแรงงาน
จำนวนสมาชิก  (ปี 2519)5,000,000 คน[2]
อุดมการณ์
จุดยืนการเมืองฝ่ายขวาจัด
ธงประจำพรรค
การเมืองอิหร่าน
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

ประวัติ แก้

 
การประชุมพรรคใน พ.ศ. 2519

พรรคแรสทอฆีซก่อตั้งขึ้นในสมัยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีแอมีร์แอบบอส โฮเวย์ดา พรรคนี้ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนส่งเสริมการโค่นล้มระบอบกษัตริย์ปาห์ลาวีด้วยการสร้างความไม่พอใจแก่ชาวอิหร่านที่ก่อนหน้านี้ไม่สนใจการเมือง (โดยเฉพาะกลุ่มบอซอรี ผู้ค้าขายในปสานที่แม้แต่ทุกวันนี้ยังปฏิเสธที่จะจ่ายภาษี) ด้วยการบังคับให้สมัครสมาชิกและจ่ายค่าธรรมเนียม (ภาษี) และการแทรกแซงชีวิตทางการเมือง เศรษฐกิจ และศาสนาของผู้คน[10]

ฝ่ายเยาวชนที่ก่อตั้งขึ้นมาพร้อมกับพรรคคือกลุ่มเยาวชนแรสทอฆีซ โฮเวย์ดาขนานนามกลุ่มนี้ว่าเป็น "เครื่องมือในการพัฒนาของอิหร่าน" ด้วยการปฏิบัติงานของฝ่ายเยาวชนและคณะทำงานพิเศษของพรรค แรสทอฆีซเริ่มต้นการรณรงค์ขนานใหญ่เพื่อต่อต้านการค้ากำไรเกินควรโดยพุ่งเป้าไปที่ผู้ค้าขายในปสานซึ่งในไม่ช้าก็ถูกระบุว่าเป็น "ศัตรูของรัฐ" พวกเขามักจะโกหกเกี่ยวกับการเบียดเบียนชาวยิว ซึ่งได้รับการยืนยันว่าเป็นเรื่องโกหกในแฟ้มข้อมูลของรัฐบาล ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2518 พระเจ้าชาห์ตรัสถึงการรณรงค์ดังกล่าวว่าเป็น "ขบวนการทางวัฒนธรรม" และทรงกำหนดให้การต่อต้านการค้ากำไรเกินควรเป็นหลักการที่สิบสี่ของการปฏิวัติขาว

ระบบพรรคการเมืองเดียวสิ้นสุดใน พ.ศ. 2521 เมื่อการปฏิวัติอิสลามใกล้จะได้รับชัยชนะ[11]

ประวัติผลการเลือกตั้ง แก้

การเลือกตั้ง ผู้นำพรรค รัฐสภา วุฒิสภา แหล่งที่มา
พ.ศ. 2518 พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี
268 / 268
30 / 30
คณะกรรมการเลือกตั้งแห่งอิหร่าน

ผู้นำพรรค แก้

เลขาธิการพรรค แก้

รองเลขาธิการพรรค แก้

แหล่งอ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 John H. Lorentz (2010). "Rastakhiz Party". The A to Z of Iran. The A to Z Guide Series. Vol. 209. Scarecrow Press. pp. 266–268. ISBN 978-1461731917.
  2. 2.0 2.1 Parviz Daneshvar (2016). Revolution in Iran. Springer. p. 73. ISBN 978-1349140626.
  3. Daryaee, Touraj (2012). The Oxford Handbook of Iranian History. Oxford Handbooks in History. Oxford University Press. p. 361. ISBN 978-0199732159.
  4. Abrahamian, Ervand (1999). Tortured Confessions: Prisons and Public Recantations in Modern Iran. University of California Press. p. 113. ISBN 9780520216235.
  5. Abrahamian, Ervand (2008). A History of Modern Iran. Cambridge University Press. p. 153. ISBN 978-0521528917.
  6. 6.0 6.1 Gholam Reza Afkhami (2008). The Life and Times of the Shah. University of California Press. pp. 434–444. ISBN 978-0-520-25328-5. The conception of the party, a hybrid of the Italian and Spanish schools of fascism, met with widespread opposition and was withdrawn once the queen sided with its opponents. But then fascism yielded to communism. The organization became principle democratic centralism, though the term was not mentioned.
  7. Abrahamian, Ervand (1982). Iran Between Two Revolutions. Princeton University Press. pp. 442–446. ISBN 0-691-10134-5.
  8. Yom, Sean (2015). From Resilience to Revolution: How Foreign Interventions Destabilize the Middle East. Columbia University Press. pp. 142–143. ISBN 9780231540278.
  9. Ervand Abrahamian (1983). Iran between two revolutions. Internet Archive. Princeton University Press. ISBN 978-0-691-10134-7.
  10. Ervand Abrahamian (1983). Iran between two revolutions. Internet Archive. Princeton University Press. ISBN 978-0-691-10134-7.
  11. Middle Eastern Studies, 38 (1), 1 January 2002, pp. 131 - 168

บรรณานุกรม แก้

  • Amini, P., "A Single Party State in Iran, 1975-78]: The Rastakhiz Party - the Final Attempt by the Shah to Consolidate his Political Base," Middle Eastern Studies, 38 (1) January 2002, pp. 131 - 168.