ปสาน,[1] ยี่สาน[1] (เปอร์เซีย: بازار), ซูก (อาหรับ: سوق) หรือ บะซาร์ (อังกฤษ: bazaar) คือตลาดหรือสถานที่ซื้อขายสินค้าและบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตะวันออกกลาง มักตั้งอยู่ในพื้นที่ปิดล้อมถาวรหรือมีหลังคาคลุมถาวร

ภาพเขียน ปสานมัวร์ โดยเอ็ดวิน ลอร์ด วีกส์ ค.ศ. 1873

หลักฐานการมีอยู่ของปสานหรือซูกย้อนไปได้ถึงประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช[2] แม้ว่าการขาดหลักฐานทางโบราณคดีจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาวิวัฒนาการของปสานอย่างละเอียด แต่ก็มีสิ่งบ่งชี้ว่าปสานในยุคแรกเป็นตลาดกลางแจ้งที่เกิดขึ้นนอกกำแพงเมืองเพื่อตอบสนองความต้องการของสถานีคาราวาน เมื่อเมืองและนครต่าง ๆ มีประชากรเพิ่มขึ้น ปสานเหล่านี้จึงย้ายเข้ามาอยู่ในใจกลางเมืองและขยายตัวในแนวเดี่ยวไปตามถนนที่ทอดยาวจากประตูเมืองหนึ่งไปยังอีกประตูหนึ่งที่อยู่ฝั่งตรงข้ามของเมือง[3] ปสานกลายเป็นทางเดินที่มีหลังคาคลุม[4] เมื่อเวลาผ่านไป ปสานเหล่านี้ได้สร้างเครือข่ายศูนย์กลางการค้าที่เปิดให้มีการแลกเปลี่ยนทั้งผลผลิต ข้อมูล และวัฒนธรรม[5] การเพิ่มขึ้นของปสานและศูนย์ซื้อขายสินค้าคงคลังขนาดใหญ่ในโลกมุสลิมทำให้เกิดเมืองหลวงใหม่และจักรวรรดิใหม่ในที่สุด เมืองใหม่ที่มีความมั่งคั่งอย่างเอสแฟฮอน สุรัต อาครา ไคโร และทิมบักตูเป็นต้นนั้นก่อตัวขึ้นตามแนวเส้นทางการค้าและปสาน

ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 ความสนใจวัฒนธรรมตะวันออกของชาวตะวันตกนำไปสู่การตีพิมพ์เผยแพร่หนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับชีวิตประจำวันในบรรดาประเทศตะวันออกกลาง ฉากปสานและกิจกรรมการค้าขายในชีวิตประจำวันเป็นเนื้อหาเด่นในภาพเขียนและภาพพิมพ์ลายแกะ บันเทิงคดี และงานเขียนเชิงท่องเที่ยว[6]

การจับจ่ายใช้สอยที่ปสานยังคงเป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งของชีวิตประจำวันในเมืองและนครต่าง ๆ ในตะวันออกกลางและเอเชียใต้ และปสานยังคงเป็น "หัวใจที่ยังเต้นอยู่"[7] ของชีวิตในเอเชียตะวันตกและเอเชียใต้ ในตะวันออกกลางมักพบปสานได้ในย่านเมืองเก่าของเมือง บ่อยครั้งปสานกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ พื้นที่ปสานจำนวนหนึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกเนื่องจากมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์หรือสถาปัตยกรรม

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์สถาปัตยกรรมศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2554, หน้า 20.
  2. Pourjafara, M., Aminib, M., Varzanehc, and Mahdavinejada, M., "Role of bazaars as a unifying factor in traditional cities of Iran: The Isfahan bazaar," Frontiers of Architectural Research, Vol. 3, No. 1, March 2014, https://doi.org/10.1016/j.foar.2013.11.001, pp 10–19; Mehdipour, H.R.N, "Persian Bazaar and Its Impact on Evolution of Historic Urban Cores: The Case of Isfahan," The Macrotheme Review [A multidisciplinary Journal of Global Macro Trends], Vol. 2, no. 5, 2013, p.13
  3. Moosavi, M. S. Bazaar and its Role in the Development of Iranian Traditional Cities [Working Paper], Tabriz Azad University, Iran, 2006
  4. Mehdipour, H.R.N, "Persian Bazaar and Its Impact on Evolution of Historic Urban Cores: The Case of Isfahan," The Macrotheme Review [A multidisciplinary Journal of Global Macro Trends], Vol. 2, no. 5, 2013, p.13
  5. Hanachi, P. and Yadollah, S., "Tabriz Historical Bazaar in the Context of Change," ICOMOS Conference Proceedings, Paris, 2011
  6. Houston, C., New Worlds Reflected: Travel and Utopia in the Early Modern Period, Routledge, 2016
  7. Karimi, M., Moradi, E. and Mehr, R., "Bazaar, As a Symbol of Culture and the Architecture of Commercial Spaces in Iranian-Islamic Civilization,"