ผู้ใช้:The great emperror/กระบะทราย-วันแรกนาขวัญ

"วันแรกนาขวัญ"
ซิงเกิลโดยเพลิน พรหมแดน
จากอัลบั้มพระพุทธประวัติ
วางจำหน่ายค.ศ. 2013 (2013)
ความยาว5:26
ผู้ประพันธ์เพลงสมส่วน พรหมสว่าง
ลำดับซิงเกิลของเพลิน พรหมแดน
"ถวายพระนาม"
(2013)
"วันแรกนาขวัญ"
(160)
"อภิเษกสมรส"
(2013)

วันแรกนาขวัญ เป็นเพลงลำดับที่เจ็ดของเพลงพระพุทธประวัติ ประพันธ์เนื้อเพลง/ เรียบเรียงโดย สมส่วน พรหมสว่าง ขับร้องโดย เพลิน พรหมแดน เพลงนี้มีเนื้อหากล่าวถึงเหตุการณ์ในวันแรกนาขวัญ (หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะทรงประสูติแล้ว 7 พรรษา) ซึ่งวันนั้นเองที่ทำให้พระองค์ได้ปฐมฌาน (ฌานเบื้องต้น ประกอบด้วย วิตก, วิจาร, ปีติ, สุข, เอกัคคตา) เพลงนี้มีความยาว 5 นาที 26 วินาที

เนื้อเพลง แก้

แรกนาขวัญเมื่อฝน หล่นโปรยเม็ดมาตามกาล

พระเจ้าสุทโธทนะ เสด็จออกงาน

พร้อมหมู่อำมาตย์ เหล่าราชบริพาร

โปรดเกล้าฯ เชิญพระกุมาร

เสด็จไปงานนั้นด้วยห่วงใย


เสด็จถึงยัง มณฑลพิธี พื้นที่เหมาะสม

สั่งพี่เลี้ยงนางนม เชิญพระกุมารพร้อมการถวาย

ประทับ ณ ที่ร่มหว้าเย็นยิ่งกิ่งใบ

ผูกม่านรอบทิศ อันวิจิตรทั้งนอกใน

ส่วนองค์พระภูวไนย ทรงจับคันไถแรกนา


  • ฝ่ายพี่เลี้ยงนางนมนั่น อยากจะชมงานพิธี

จึงจรลี หนีห่างพระกุมารมา

อบากจะดู ฝีพระหัตถ์ องค์พระราชา

ให้เต็มตา ทรงไถนานั้นใกล้ๆ

ปล่อยเจ้าชายอยู่องค์เดียว

หนึ่งประเดี๋ยวชั่วอึดใจ

แล้วค่อยมาดูแลใหม่ คอยใส่ใจเหมือนทุกครา

จึงพากันไปชม แล้วลืมเวลา

มิพากันรีบมา ดังที่ได้ปรารมภ์ เพลิดเพลินอุรา....

ทุกนางเริงร่า ดังหนึ่งว่าวเริงลม

มวลชนมากมายมี ต่างสุขศรีสราญ

แสนระรื่นชื่นบาน ดังสวรรค์ผสม

อุดม อุกฤษฏ์จิตใจ


  • ฝ่ายองค์พระกุมาร เมื่อกาลนั้นช่างเงียบงัน

เสด็จอุทธการ นั่งสมาธิทันใด

อานาปานสติพลัน ปฐมฌานเกิดแล้วแน่วแน่

ตะวัน ผันแปร บ่ายคล้อยเลื่อนลอยผ่านไป

ร่มไม้หว้า มิลาเลื่อนหลบหลีกหนี

ยังคงที่ แม้ดวงสุรีย์เคลื่อนย้าย

พี่เลี้ยง นางนมมา เห็นกับตาประหลาดใจ

เคารพนบไหว้ อย่างนอบน้อมโดยพร้อมกัน

รีบกราบทูลพระสุทโธทนะเรื่องพระกุมาร

องค์พระราชันย์ เสด็จไปไม่ช้า

ทอดพระเนตร เหตุอัศจรรย์

แล้วยกพระหัตถ์นั้นวันทา

ปิติโสมนัสล้น ในพระกมลจอมราชา

พร้อมเชิญพระกุมารมา สู่นคเรศนิเวศน์วัง

บทบรรยาย แก้

บทบรรยาย : สมส่วน พรหมสว่าง

ผู้บรรยาย : เพลิน พรหมแดน (ผู้บรรยาย)

เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะกุมาร เจริญพระชนมพรรษาได้ 7 พรรษา พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงโปรดให้ขุดสระโบกขรณี 3 สระด้วยกัน คือ สระบัวหลวง สระบัวขาว และ สระบัวขาบ ให้เป็นที่เล่นสำราญพระทัย พร้อมพระสหายที่อยู่ในวัยเดียวกัน

เมื่อพระกุมารเจริญวัย อันสมควรจะได้การศึกษาศิลปะวิทยาแล้ว พระราชบิดา ได้ทรงพาไปมอบไว้ในสำนักครูชื่อ วิศวามิตร เพื่อทรงศึกษาศิลปศาสตร์ทั้งหมด 18 ประการ และพระราชกุมาร ก็ได้ทรงศึกษาศิลปวิทยาทั้งหมดนั้น จนเชี่ยวชาญแตกฉานในเวลาอันรวดเร็วมาก จนสิ้นความรู้ของครูอาจารย์ที่จะสอนต่อไป[1]

ความหมาย และเนื้อหาของเพลง แก้

ณ พิธีรัชชนังคลมงคล (หรือเรียกได้อีกชื่อว่า พิธีวัปปมงคล) เป็นพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญของประเทศอินเดียในสมัยโบราณ ซึ่งพิธีนี้จะจัดขึ้นในปลายฤดูร้อน อันเป็นฤดูของการเริ่มทำนา) พระเจ้าสุทโธทนะจะเสด็จไปประกอบพิธีด้วยพระองค์เอง ประชาชนจากทั่วพระนครต่างมาเฝ้าดูพิธี และพระองค์ก็ได้พาเจ้าชายสิทธัตถะ ราชกุมารพระองค์น้อยเสด็จไปในงานนี้ด้วย หากแต่ปล่อยให้พี่เลี้ยงเป็นคนคอยเฝ้าดูแล

เมื่อถึงเวลาประกอบพิธี พระเจ้าสุทโธทนะทรงจับคันไถทองคำ แล้วเริ่มไถพื้นดินในท้องนา

ในพระราชพิธีก็จะมีงานเลี้ยงฉลองอย่างสนุกสนาน เหล่าพระพี่เลี้ยง นางกำนัลของเจ้าชายต่างพากันทยอยมาบริเวณงานเลี้ยงฉลอง ละทิ้งเจ้าชายไว้ลำพัง เจ้าชายสิทธัตถะเมื่ออยู่แต่เพียงลำพังพระองค์เดียวก็ทรงรู้สึกสบายพระทัยอย่างยิ่ง จึงเสด็จดำเนินไปอย่างเงียบๆ จนกระทั่งถึงต้นหว้าใหญ่ มีใบดกหนาร่มเย็นจึงประทับนั่งลงใต้ต้นหว้านั้น[2]

พระองค์ทรงนั่งสมาธิ ตั้งจิตดิ่งแน่วแน่ในสมาธิในขั้นที่โยคีเรียกว่า ปฐมฌาน

ในขณะนั้น อีกฟากหนึ่งพิธีเฉลิมฉลองได้เสร็จสิ้นแล้ว เหล่าพี่เลี้ยงเพิ่งนึกได้ว่าได้ทอดทิ้งเจ้าชายเพียงลำพัง จึงรีบกลับไปหา แต่ไม่พบเจ้าชาย ก็พากันตกใจรีบตามหากันจ้าละหวั่น จนมาพบเจ้าชาบประทับนั่งหลับตาเงียบราวกับรูปหินสลักที่ใต้ต้นหว้า เหล่าพี่เลี้ยงใช้เวลาเรียกเจ้าชายอยู่นาน จึงทำให้พระองค์ตื่นจากสมาธิสำเร็จ และเสด็จกลับไปเมืองกบิลพัสดุ์[3]พร้อมกับพระราชบิดา

เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะกุมาร เจริญพระชนมพรรษาได้ 7 พรรษา พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงโปรดให้ขุดสระโบกขรณี 3 สระด้วยกัน คือ สระบัวหลวง สระบัวขาว และ สระบัวขาบ ให้เป็นที่เล่นสำราญพระทัย พร้อมพระสหายที่อยู่ในวัยเดียวกัน

เมื่อพระกุมารเจริญวัย อันสมควรจะได้การศึกษาศิลปะวิทยาแล้ว พระราชบิดา ได้ทรงพาไปมอบไว้ในสำนักครูชื่อ วิศวามิตร เพื่อทรงศึกษาศิลปศาสตร์ทั้งหมด 18 ประการ และพระราชกุมาร ก็ได้ทรงศึกษาศิลปวิทยาทั้งหมดนั้น จนเชี่ยวชาญแตกฉานในเวลาอันรวดเร็วมาก จนสิ้นความรู้ของครูอาจารย์ที่จะสอนต่อไป

เกร็ดความรู้ แก้

พระเจ้าสุทโธทนะ กับการไหว้พระราชบุตร 3 ครั้ง 3 ครา แก้

พระเจ้าสุทโธทนะทรงไหว้พระพุทธเจ้าถึง 3 ครั้งด้วยกัน

ครั้งแรกเมื่อภายหลังประสูติ ที่ดาบสมาเยี่ยม เมื่อเห็นท่านดาบสไหว้ก็เลยไหว้ตาม

ครั้งที่สองก็คือ ครั้งทรงเห็นปาฏิหาริย์

ครั้งที่สามคือ ภายหลังพระพุทธเจ้าเสด็จออกผนวช ได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนสำเร็จเป็นพระสัมมาพระพุทธเจ้า แล้วเสด็จกลับไปโปรดพระพุทธบิดาครั้งแรก[4]

อานาปานสติ พื้นฐานของการตรัสรู้ แก้

อานะ (อัสสาสะ) คือ ลมหายใจเข้า

อาปานะ (ปัสสาสะ) คือ ลมหายใจออก

อานะ + อาปานะ = อานาปานะ คือ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก

สติ คือ ความระลึกรู้ การกำหนดรู้ในปัจจุบัน ไม่ใช่การคิด จำเอา

อานาปานสติ คือ การกำหนดรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ในปัจจุบันแต่ละขณะ

พระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ได้บำเพ็ญอานาปานสติมาหลายภพหลายชาติ ในพระชาติสุดท้าย เมื่อครั้งที่พระองค์ยังทรงเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ราชกุมาร ประทับใต้ร่มต้นหว้า ในคราวที่พระพุทธบิดาทรงประกอบพิธีแรกนาขวัญ ทรงกำหนดลมหายใจออก ลมหายใจเขา และได้บรรลุปฐมฌานในครั้งนั้น

ในวันที่ทรงตรัสรู้เป็นพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงประทับใต้ร่มศรีมหาโพธิ์ ก็ทรงอาศัยอานาปานสติเป็นพื้นฐาน

หลังจากตรัสรู้ก็ทรงใช้อานาปานสติเป็นวิหารธรรม ได้ทรงสอนลูกศิษย์ว่า ถ้ามีใครถามว่า พระสมณโคดมอยู่อย่างไรในพรรษา ให้ตอบว่า ท่านอยู่ด้วยอานาปานสติเป็นส่วนใหญ่[5][6]

ศิลปศาสตร์ทั้ง 18 ประการ มีอะไรบ้าง แก้

พระพุทธเจ้าในสมัยเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ทรงได้รับการศึกษาเป็นอย่างดี จากอาจารย์ที่มีชื่อเสียง คือ อาจารย์วิศวามิตร

วิชาที่ทรงศึกษา คือ ศิลปศาสตร์ 18 ประการ อันเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้จะเป็นกษัตริย์ จะต้องศึกษาศิลปศาสตร์ 18 ประการ คือ
   

1. ยุทธศาสตร์ วิชานักรบ

2. รัฐศาสตร์ วิชาการปกครอง

3. นิติศาสตร์ วิชากฎหมายและจารีตประเพณีต่างๆ

4. พาณิชยศาสตร์ วิชาการค้า

5. อักษรศาสตร์ วิชาวรรณคดี

6. นิรุกติศาสตร์ วิชาภาษาทั้งของตน และของชนชาติ ที่เกี่ยวข้องกัน

7. คณิตศาสตร์ วิชาคำนวณ

8. โชติยศาสตร์ วิชาดูดวงดาว

9. ภูมิศาสตร์ วิชาดูพื้นที่ และรู้จักแผนที่ของประเทศต่างๆ

10. โหราศาสตร์ วิชาโหรรู้จักพยากรณ์เหตุการณ์ต่างๆ

11. เวชศาสตร์ วิชาแพทย์

12. เหตุศาสตร์ วิชาว่าด้วยเหตุผล หรือตรรกวิทยา

13. สัตวศาสตร์ วิชาดูลักษณะสัตว์ และรู้เสียงสัตว์ว่าดี หรือร้าย

14. โยคศาสตร์ วิชาช่างกล

15. ศาสนศาสตร์ วิชาศาสนารู้ความเป็นมา และหลักศาสนาทุกศาสนา

16. มายาศาสตร์ วิชาอุบาย หรือตำหรับพิชัยสงคราม

17. คันธัพพศาสตร์ วิชาร้องรำ หรือนาฎยศาสตร์ และวิชาดนตรี หรือดุริยางค์ศาสตร์

18. ฉันทศาสตร์ วิชาการประพันธ์

พระพุทธเจ้าทรงศึกษาศิลปศาสตร์ 18 ประการนี้สำเร็จภายในเวลาเพียง 7 วัน และมีความรู้แตกฉาน เชี่ยวชาญยากที่หาใครเสมอเหมือนได้ จึงกล่าวได้ว่า พระองค์ทรงมีความรู้ ในทางโลกเพียบพร้อม เป็นอย่างดีอยู่แล้ว เมื่อได้เสด็จออกบรรพชา พระองค์ทรงได้ศึกษาเพิ่มเติมจากอาฬารดาบส และอุททกดาบส ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา และทรงบำเพ็ญเพียรทางจิตใจ จนได้ตรัสรู้ พระองค์จึงทรงพร้อมที่จะสอนบุคคลทุกชั้น ตั้งแต่คนธรรมดา จนถึงนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียง ทุกโอกาสและสถานที่[7]

อ้างอิง แก้

  1. เนื้อเพลง พระพุทธประวัติ #07 วันแรกนาขวัญ - เพลิน พรหมแดน
  2. อ้างอิงบางส่วนจาก หนังสือ พระพุทธเจ้า สำนักพิมพ์สกายบุ๊คส์ หน้า 19-20
  3. อ้างอิงบางส่วนจาก หนังสือ พระพุทธเจ้า สำนักพิมพ์ Skybook หน้า 19-20
  4. ทรงบรรลุปฐมฌานตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ขณะประทับใต้ร่มหว้าในพิธีแรกนาขวัญ จากเว็บ 84000.org
  5. อานาปานสติ : วิถีทำให้เป็นสุข จากเว็บ ธรรมะไทย
  6. บรรลุปฐมฌาณในวันแรกนาขวัญ : พุทธประวัติ จากเว็บ History-Buddha.blogspot.com
  7. พระสัพพัญญุตญาณ คือปัญญาที่ประกอบในจิตประเภทใด จากเว็บ DhammaHome.com