โรงเรียนกุหลาบวิทยา แก้

โรงเรียนกุหลาบวิทยา (อังกฤษ: Rosary College : RC) เปิดทำการสอนเมื่อ พ.ศ. 2491 เป็นโรงเรียนเอกชนคาทอลิกในเครืออัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เปิดทำการสอนตั้งแต่เตรียมอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตั้งอยู่บน 1334 ถนนโยธา แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100

ประวัติ แก้

สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ ทุกสิ่งทุกอย่างเริ่มเข้าสู่ปกติ พ่อค้าคหบดีของวัด กาลหว่าร์ ได้ร่วมกันจัดตั้งโรงเรียนขึ้นในบริเวณวัดกาลหว่าร์ โดยใช้สถานที่อาคารของวัด การใช้จ่ายต่างๆ ถ้าไม่พอก็ร่วมกันออกให้พอเพียง กิจการได้ดำเนินไปด้วยดี ณ อาคารและสถานที่นี่ได้ให้กำเนิดนักเรียนมาเป็นจำนวนมาก เพราะตั้งแต่สร้างมาประมาณอายุไม่น้อยกว่า 60 ปี มีลูกหลานเป็นจำนวนมากมาย โรงเรียนได้ดำเนินต่อมาในความควบคุมของคณะกรรมการสมาคม จนกระทั่งกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศให้โรงเรียนที่เปิดสอนโดยมิได้รับอนุญาต ไปยื่นขอจัดตั้งภายในวันที่ 26 มีนาคม 2491 นายโก เซี่ยงอัน เป็นประธาน ได้ให้ นายชัช นาคะทัต ช่วยจัดการยื่นขอต่อกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้นายเซ่งยิ้น แซ่ก้วย เป็นเจ้าของและผู้จัดการ นายชัช นาคะทัต เป็นครูใหญ่ ยื่นขอในวันที่ 26 มีนาคม 2491 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายและวันนี้เป็นวันเกิดอันถูกต้องของโรงเรียน "เทียนจู๋เจี้ยวเหมยกุ้ยเซียะเสี้ยว" เป็นชื่อที่ยาวและค่อนข้างจะจำยากมาก เมื่อสมาคมโอนโรงเรียนนี้มอบให้แก่วัดได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียน "ซินเหมยกุ้ย" และโรงเรียน "กุหลาบวิทยา" เพื่อต้องตามประสงค์ของกระทรวงศึกษาธิการ และตรงกับนามของวัดคือ Holy Rosary Church

28 มิถุนายน 2491 สมาคมมอบโรงเรียนให้กับบาทหลวงโอลลี่เอร์ คุณพ่อเจ้าวัดได้รับไว้และแต่งตั้งให้บาทหลวงบุญไทย สิงห์เสน่ห์ เป็นเจ้าของและเป็นผู้จัดการ ต่อมา บาทหลวงอาแมสตอยส์ รักษาการและเป็นคุณพ่อเจ้าวัด และบาทหลวงถาวร กิจสกุล เป็นผู้จัดการแทน หลังจากนั้น ได้มีความคิดที่จะขยายชั้นเรียนให้สูงขึ้น จึงขออนุญาตพระสังฆราชหลุยส์โชแรง และได้รับอนุญาต เปลี่ยนสภาพเป็นโรงเรียนมัธยมวิสามัญศึกษาสอนภาษาอังกฤษแทน ขอรับเงินอุดหนุนจากกระทรวงศึกษาธิการ ขณะที่บาทหลวงราแปง เป็นคุณพ่อเจ้าวัดได้เชิญ บราเดอร์อาเทอร์ จากคณะเซนต์คาเบรียลมาช่วยเหลืองานโรงเรียน และได้ขยายชั้นเรียนถึง ม.ศ.3 (ม.6) ขยายห้องเรียนเป็น 33 ห้อง รับนักเรียนได้ 1,310 คน

นับแต่นั้นจนถึงยุคสมัยของ บาทหลวงกิมฮั้ง ดำรงตำแหน่งคุณพ่อเจ้าวัด และมี บราเดอร์เอ๊ดวาร์ด อี.เจ. เป็นอธิการโรงเรียน ได้เริ่มออกแบบและวางแผนก่อสร้าง อาคารเรียน 4 ชั้น จนมาสำเร็จลุล่วงในสมัยของ บราเดอร์เดชน์ เกิดสว่าง อาคารเรียน 4 ชั้นหลังนี้ได้วางศิลาฤกษ์ ในวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม 2509 โดยคุณพ่อกิมฮั้ง คุณพ่อเจ้าวัดเป็นประธานและทำพิธี ครั้นมาถึงสมัยที่ ภราดาวิจารณ์ ทรงเสี่ยงชัย ย้ายมาดำรงตำแหน่งอธิการโรงเรียน ในปี พ.ศ.2514 ท่านได้จัดตั้งสภานักเรียนขึ้น เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2516 เพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของนักเรียน และแบ่งเบาภาระของครู

ต่อมา ได้มีนโยบายที่จะให้การบริหารโรงเรียนเป็นของบาทหลวงสังกัด อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ นับตั้งแต่ 16 กันยายน 2516 เป็นต้นไป โดยมี คุณพ่อประสาน คูรัตนสุวรรณ เป็นบาทหลวงองค์แรกที่เป็นอธิการโรงเรียนและเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดกาลหว่าร์ด้วย ซึ่งขณะนั้น คุณพ่อเสวียง ศุระศรางค์ เป็นเจ้าอาวาสและในสมัยคุณพ่อประสานนี้เอง ได้เริ่มก่อสร้างอาคารเรียน 5 ชั้นขึ้น

วันที่ 1 พฤษภาคม 2522 ถึง10 พฤษภาคม 2524 คุณพ่อธวัช พันธุม-จินดา ย้ายมาดำรงตำแหน่งแทนคุณพ่อประสานและในวันที่ 20 พฤษภาคม 2523 นี้เองได้เปิดใช้อาคารเรียน 5 ชั้น และทำพิธีเสกและเปิดอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 5 ตุลาคม 2523 โอกาสฉลองวัดกาลหว่าร์

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน แก้

  • ไบเบิล พระคริสตธรรมคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บอกเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้า, มนุษย์, ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาป สู่ชีวิตนิรันดร์
  • กางเขน เป็นเครื่องหมายที่หมายถึงการรับใช้มวลมนุษย์และสละได้แม้ชีวิตด้วยความรัก
  • ดอกกุหลาบ ความหมายของดอกกุหลาบคือ การชื่นชมและการเชิดชูบูชา

เพลงประจำโรงเรียน แก้

  • เพลง กุหลาบวิทยา

หลักสูตร แก้

ระดับอนุบาล[แก้] แก้

ระดับประถมศึกษา[แก้] แก้

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น[แก้] แก้

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้] แก้

ทางโรงเรียนได้เปิดสอนแผนการเรียนทั้งหมด 4 แผนการเรียน ได้แก่

  • วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • ศิลป์-คำนวณ
  • ศิลป์-ภาษาจีน
  • สหศิลป์

โรงเรียนในเครือ แก้