จาฤก กัลย์จาฤก
เกิดกรุงเทพ
อาชีพประธานบริษัทกันตนา,
ผู้บริหาร,
ผู้ผลิตละครวิทยุ, โทรทัศน์ และภาพยนตร์,การแสดง,การศึกษา,อีสปอร์ต,ออนไลน์มีเดีย
ผลงานเด่นประธานกรรมการบริษัท บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน),
กรรมการ บริษัทในเครือกันตนา,
กรรมการ บริษัท กัลย์จาฤก โฮลดิ้งส์ จำกัด,
กรรมการ มูลนิธิประดิษฐ์-สมสุข กัลย์จาฤก,
ที่ปรึกษาสถาบันกันตนา,
ที่ปรึกษาสถาบันกันตนา,
ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ,
,ที่ปรึกษามูลนิธิยุวเกษตรกรไทยในพระราชูปถัมภ์
,สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
,นายกสมาคมส่งเสริมวิชาชีพวิทยุและโทรทัศน์ไทย
,กรรมการ คณะกรรมการอำนวยการ ศูนย์การศึกษาจังหวัด นครปฐม ม.สวนสุนันทา,

จาฤก กัลย์จาฤก (JAREUK KALJAREUK) ประธานกรรมการ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

ผู้นำบริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ สู่ความเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านธุรกิจบันเทิง ระดับแนวหน้าของเอเชียและของโลก เป็นที่ยอมรับจากบริษัทชั้นนำต่างๆ ในต่างประเทศ และสร้างภาพพจน์ให้กับประเทศชาติในการช่วยพัฒนาธุรกิจบันเทิงให้กับประเทศเพื่อนบ้าน

ตำแหน่งหน้าที่สำคัญ แก้

การศึกษา แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ แก้

เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์

รางวัลที่ได้รับ แก้

  • รางวัล Asia Pacific Copyright Educator (A.C.E.) Award ครั้งที่ 3 พ.ศ.2557 ณ เขตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในฐานะที่ทุ่มเทการทำงานเพื่อปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก อย่างต่อเนื่อง
  • รางวัลสุพรรณหงส์เกียรติยศ ปี พ.ศ.2557
  • รางวัลช่อสะอาดสำหรับบุคคล/องค์กร ที่มีผลงานสร้างสรรค์สื่อดีเด่นด้านสนับสนุนและส่งเสริมป้องกันและปราบปรามการทุจริต ปี พ.ศ.2558
  • โล่แสดงความขอบคุณ จัดทำและจัดฉายวีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติ "เรื่อง 7ทศวรรษ ใต้ร่มพระบารมี" ปี พ.ศ.2558

ส่วนหนึ่งของผลงาน แก้

ด้านโทรทัศน์ที่มีการริเริ่มและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แก้

  • การสร้างละครชุดแบบจบในตอน (Series) เรื่อง 38 ซอย 2 (พ.ศ. 2523)
  • การถ่ายทำละครโทรทัศน์ เช่น การถ่ายทำนอกสถานที่ โดยใช้รถ O.B., การใช้ระบบเสียง Wireless, เทคนิคการถ่ายทำตัดต่อที่นำสมัย, สร้างสตูดิโอและโรงถ่าย Out Door ถ่ายทำละครโทรทัศน์
  • การผลิตละครสร้างสรรค์สังคม อาทิ ละครสำหรับเด็กและเยาวชน เช่น เรื่องจอมเกเร (2525), ละครสะท้อนปัญหาสังคม เช่น เรื่องบาปบริสุทธิ์ (2524) ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด (2526), ละครส่งเสริมการต่อสู้ชีวิตเพื่อสิทธิมนุษยชน เช่นเรื่อง ผู้หญิงคนหนึ่ง (2525), หางเครื่อง (2530) ลอดลายมังกร (2535), ละครแนวอนุรักษ์ความเป็นไทยและชีวิตชนบทไทย เช่น เจ้าซอใจซื่อ, ทิมมวยไทย (2526), เหล็กน้ำพี้ (2527) และ แม่เอิบ (2529)
  • เป็นต้นแบบของการถ่ายทำละครในต่างประเทศ เช่นเรื่อง “ซูซี่ซิงซิง” ที่ฮ่องกง (2530), “ทิวาหวาม” ที่ประเทศอังกฤษ (2532) และ “แก้วตาดวงใจ” ที่สหรัฐอเมริกา (2534)
  • เป็นต้นแบบการสร้างสรรค์ฉาก เช่น เรื่อง เปรต (2529) สร้างฉากเรือนไทยซึ่งได้รับรางวัลด้านฉากยอดเยี่ยม, ฉากถ้ำในเรื่อง มาเฟียซาอุ (2529), ฉากภายในเครื่องบินเรื่องนางฟ้าปีกอ่อน (2537)
  • เป็นต้นแบบของการสร้างประดิษฐ์อุปกรณ์ประกอบฉาก เช่น เรื่อง “ชาติมังกร (2529)” สร้างรถมอเตอร์, “พันท้ายนรสิงห์” สร้างเรือ
  • ด้านเทคนิคการถ่ายทำต่างๆ เช่น สัตว์ประหลาดในเรื่อง เกาะมหัศจรรย์ (2528), ห้องถ่ายภาพใต้น้ำในเรื่อง “คนทะเล”
  • ด้านเทคนิคการตัดต่อลำดับภาพ ริเริ่มการฟรีซภาพ รีเวิร์สภาพ และตัดต่อลำดับภาพให้แปลกตาในการทำไตเติ้ล คีย์ซีน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 เป็นต้นมา และยังมีการนำคอมพิวเตอร์กราฟฟิคมาใช้ เช่น เรื่อง เทพบุตรสุดเวหา (2536) ซึ่งเป็นละครโทรทัศน์เรื่องแรกที่ใช้โปรแกรม “มอร์ฟ” ในการเปลี่ยนภาพแทนการซ้อนภาพ และดิสโซล์ฟ
  • การผลิตสารคดีสั้น 1-3 นาที ได้แก่ สารคดีโลกกว้างทางแคบ ชุด เรื่องกิน เรื่องใหญ่ และสารคดีงามอย่างไทย (2523)
  • รายการโทรทัศน์ประเภท Docu Drama และ Documentary ด้วยเรื่อง แฝดสยาม (2534). เสรีไทย (2535). คนจีนในแผ่นดินสยาม (2537)
  • เป็นต้นแบบของการร่วมลงทุนกับต่างประเทศ และเปิดตลาดภาพยนตร์การ์ตูน โดยร่วมมือกับ บริษัท โตเอะ ประเทศญี่ปุ่น ในการผลิตการ์ตูน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา
  • เป็นต้นแบบของการถ่ายทำมิวสิควิดีโอ โดยทำให้กับกลุ่มซูโม่ ด้วยเพลงแนวล้อเลียน “I Just Call to Say I love You” (2526)
  • ผลิตรายการ Big Brother Thailand ซีซั่น 1-3 รายการประเภทเรียลลิตี้โชว์ถ่ายทอดสดตลอด 24 ชม. ของผู้แข่งขันที่เข้ามาใช้ชีวิตในบ้านด้วยกันเป็นเวลา 100 วัน ผ่านกล้องบันทึกเหตุการณ์กว่า 30 ตัว จนโด่งดังเป็นที่กล่าวถึงทั้งในด้านรูปแบบรายการและคอนเทนต์ที่สนุกสนาน
  • พัฒนาต่อเนื่องในการผลิตคอนเทนต์ที่ตอบรับกับไลฟ์สไตล์ของผู้ชมที่เปลี่ยนไป โดยนำฟอร์แมทโปรแกรมจากต่างประเทศมาสร้างสรรค์ในเวอร์ชั่นไทย จนประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยเฉพาะ The Face Thailand และ The Face Men Thailand
  • พัฒนาฟอร์แมตรายการอีสปอร์ตเรียลลิตี้โชว์รายการแกของโลก King of Gamer จากซีซั่น 1 จนถึงปัจจุบันยาวนานกว่า 6 ซีซั่น ทั้งยังต่อยอดสู่การพัฒนานักกีฬาอีสปอร์ตระดับแนวหน้าของโลก โดยจัดตั้งทีม KOG เพื่อเข้าร่วมแข่งขันในรายการต่างๆ จนคว้ารางวัลมาแล้วมากมายทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ ถือได้ว่าเป็นการสร้างภาพลักษณ์ของกีฬาอีสปอร์ตให้ได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้น

ด้านโทรทัศน์ที่มีการริเริ่มและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แก้

ก่อตั้งสถาบันกันตนา สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาแห่งแรกที่มุ่งเน้นการเรียนการสอนทาง วิชาชีพโดยเฉพาะ ในแขนงวิชาการผลิตภาพยนตร์ แขนงวิชาการผลิตแอนิเมชัน และแขนงวิชาการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการสื่อสารข้ามสื่อ แบบเข้มข้น เน้นการปฏิบัติจริงควบคู่การเรียนในภาคทฤษฎี เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์สูง มีความเป็นมืออาชีพ สามารถเข้าทำงานในอุตสาหกรรมการผลิตสื่อบันเทิงได้ทันที หรือสามารถรับงานอิสระหรือสร้างงานด้วยตัวเองได้