ผู้ใช้:ปาณิศา/ประวัติศาสตร์จักรวรรดิเยอรมัน

ปัจจัยและสาเหตุที่ทำให้เกิดจักรวรรดิเยอรมัน แก้

การประชุมแห่งเวียนนา จนถึง การปฏิวัติ ค.ศ. 1848-49 แก้

 
เยอรมันนีหลังจากการประชุมแห่งเวียนนา


หลังจากการประชุมแห่งเวียนนาในปี ค.ศ. 1814-15 ซึ่งมีการกำหนดขอบเขตชายแดนใหม่ เนื่องจากสงครามนโปเลียนและการยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ประเทศเยอรมนีได้ถูกแบ่งออกเป็นรัฐอิสระ 39 รัฐ และมาตรการย้อนระบบการปกครองให้เป็นอย่างเดิม อย่างสภาพก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส (Restauration) นอกจากนั้นในเยอรมนีมี การประชุมตัวแทนรัฐที่สภา (Bundestag) ณ เมืองฟรังค์ฟูร์ทอัมไมน์ (Frankfurt am Main) ซึ่งมีหน้าที่จัดระเบียบเรื่องภายในประเทศ เรื่องทหาร และเรื่องภายนอกประเทศ โดยมีออสเตรียเป็นประธาน ในเบื้องหลังเป็นการเริ่มแข่งขันเชิงด้านหน้าและด้านอิทธิพล ระหว่าง ออสเตรีย กับปรัสเซีย ในสมาพันธรัฐ ทั้งปรัสเซียเองและออสเตรียเอง หรือปรัสเซียและออสเตรียทั้งสองรัฐรวมกัน ต่างไม่มีเสียงพอที่จะออกกฎหมายด้วยตัวเองได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องอาศัยเสียงรัฐอื่นในการออกกฎหมายด้วย กฎหมายที่ออกจากสภา ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีอำนาจเหนือกว่ากฎหมายในรัฐของตนเอง การปรับปรุงระบบการปกครองเป็นอย่างนี้เป็นการให้รัฐทั้งหมดทำงานร่วมกัน และเป็นการให้รวมตัวกันในระยะยาว แม้ว่าจะไม่มีการเรียบเรียงรัฐธรรมนูญก็ตาม

การแบ่งแยกเป็นรัฐอิสระนั้น ทำให้เกิดปัญหาทางด้านการค้าระหว่างรัฐดังนี้

  1. การเสียภาษี เนื่องจากแต่ละรัฐมีด่านของตนเอง (ตัวอย่างเช่นจาก เวือร์ทเทมแบร์ก (Württemberg) ไปเบรเมิน (Bremen) ต้องผ่าน 4 ด่าน ภายใน 480 กม.
  2. ขาดมาตรฐานในการวัดความยาวหรือการชั่งน้ำหนัก
  3. สกุลเงิน ภาษี และ กฎหมายไม่เหมือนกัน
 
Deutscher Zollverin

จากประเด็นดังกล่าวนี้ กลุ่มพ่อค้าและเศรษฐีได้เรียกร้องให้มีการค้าเสรี วันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1833 จึงมีการตั้ง กรมศุลกากร (deutscher Zollverein) ขึ้นเป็นการร่วมมือระหว่างรัฐแต่ละรัฐ เพื่อละเว้นการเก็บภาษีระหว่างคู่สัญญา ซึ่งส่งเสริมการค้าระหว่างรัฐนั้นเอง ถึงแม้ทุกรัฐไม่ได้ตกลงการร่วมมือการค้าก็ตาม แต่ข้อตกลงนี้ทำให้ปรัสเซียมีอิทธิพลมากขึ้นและส่งเสริมการรวมประเทศเยอรมนีตามแนวคิด (kleindeutsche Lösung) ในภายหลังแม้ว่ามีการจัดตั้งกรมศุลกากรก็ตาม แต่การพัฒนาทางด้านเครื่องจักร โดยเฉพาะการผลิตเสื้อผ้า ซึ่งผลิตด้วยเครื่องจักรที่ทำได้รวดเร็วและประหยัดแรงงาน ทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศเริ่มแย่ลง เนื่องจากประชากรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ (เพราะขาดสงคราม) และที่ทำงานเริ่มลดลงเรื่อยๆ จึงทำให้คนตกงานมากขึ้นและทำให้เกิดชนชั้นแรงงาน

ใน ค.ศ. 1846 การเกษตรของเยอรมนีแย่มาก จึงทำให้เกิดการอดยาก โดยเฉพาะในกลุ่มชนชั้นคนจน ผู้ที่มีคนอดยากจำนวนมากรวมตัวกัน เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย เหมือนของการปฏิวัติฝรั่งเศสในปีเดียวกัน

ใน ค.ศ. 1848 เดือน กุมภาพันธ์ และชัยชนะของกลุ่มปฏิวัติในฝรั่งเศส ทำให้ประชาชนในเยอรมนีประท้วงและเกิดการชุมนุมขึ้น การปฏิวัติบีบให้ผู้มีอำนาจ ตั้งรัฐบาลที่ถูกประชาชนเลือกและการตั้งการประชุมตัวแทนประชาชนเพื่อสร้างรัฐธรรมนูญ ณ โบสถ์พอล (Frankfurter Paulskirche)

 
Frankfurter Paulskirche

เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1848 มีการเลือกตั้งในประเทศฝรั่งเศส ในการเลือกตั้งนั้นฝ่ายชนชั้นกรรมาชีพได้แพ้การเลือกตั้ง ไม่นานต่อมารัฐบาลได้ปิด Ateliers nationaux (คือโรงงานที่สร้างโดยรัฐบาลเพื่อส่งเสริมชนชั้นแรงงาน) ซึ่งทำให้คนตกงานจำนวนมาก จึงเกิดการประท้วงจากฝ่ายชนชั้นกรรมาชีพขึ้น ในการประท้วงนี้ฝ่ายชนชั้นกรรมาชีพได้พ่ายฝ่ายรัฐบาลที่เอาทหารเข้าช่วย ประมาณ 3000 คนตาย และ 15000 คนถูกจับและลงทัณท์ด้วยการส่งไปทำงานที่เมืองขึ้น กระแสนี้ทำให้ผู้มีอำนาจในประเทศเยอรมนีปฏิวัติกลับ (Konterrevolution) โดยอาศัยกำลังทหารปราบฝ่ายปฏิวัติ

วันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1849 การประชุมตัวแทนประชานชนเพื่อสร้างรัฐธรรมนูญออกแนวคิดการรวมประเทศดังนี้

  1. การรวมประเทศโดยมีปรัสเซียเป็นประธาน (kleindeutsche Lösung) โดยไม่มีออสเตรียรวมด้วย ในกรณนี้รัฐกลุ่มโปรเตสแตนต์ทางเหนือจะมีอิทธิพล
  2. การรวมประเทศโดยมีออสเตรียเป็นประธาน (großdeutsche Lösung) ในกรณีนี้กลุ่มโรมันคาทอลิกทางใต้จะมีอิทธิพล

ซึ่งได้เสนอรัฐธรรมนูญ โดยมีประชาธิปไตยและแต่งตั้งกษัตริย์ปรัสเซีย เป็นจักรพรรคดิ์ของประเทศเยอรมันและเป็นประมุข ซึ่งออสเตรียเป็นประธาน ไม่ต้องการสูญเสียอำนาจ จึงขู่ด้วยการเปิดสงครามจึงทำให้กษัตริย์ปรัสเซียปฏิเสธข้อเสนอซึ่งทำให้สถานการณ์แย่ลง จนทั้งสองฝ่ายต่างใช้มาตรการรุนแรงขึ้น สุดท้ายกำลังทหารของฝ่ายกษัตรีย์ตีฝ่ายปฏิวัติแตก จึงทำให้วันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1849 เป็นวันยุติการปฏิวัติของเยอรมนี จนถึงปี ค.ศ. 1860 ฝ่ายปฏิวัติ (ฝ่ายค้าน) ถูกกดขี่ (ชื่อระยะเวลานี้เรียกว่า Reaktionsära) ทำให้ปี ค.ศ. 1860 เริ่มมีการสร้างพรรคการเมืองในประเทศเยอรมนี เพื่อทำให้ฝ่ายค้านรวมตัวกันและประสานงานกันสะดวกขึ้น [1][2][3][4]

การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองในยุโรป แก้

สงครามไครเมีย แก้

 
สถานการณ์การล้อม


หลังจากการชุมนุมแห่งเวียนในปี ค.ศ. 1814-1815 มีการตกลงระหว่างมหาอำนาจเพื่อให้แบ่งอำนาจในยุโรปสมดุลกัน ระหว่างปี ค.ศ. 1818-1822 มีการสร้างพันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์ระหว่าง ปรัสเซีย ออสเตรีย และรัสเซ๊ย (ประเทศที่มีระบบราชาธิปไตยเท่านั้น) นอกจากนั้นมีการใช้ทหารเพื่อปราบปรามกระแสปฏิวัติ โดยเฉพาะกระแสการรวมตัวเพื่อตั้งประเทศ

กระแสปฏิวิติในเยอรมันต้องการรวมท่องถิ่นที่พูดเยอรมันเป็นหลักเป็นปึกเดียว ซึ่งแย้งต่อข้อตกลงแห่งเวียนนาและจะทำให้ผู้นำรัฐเล็กๆสูญเสียอำนาจ นอกจากนั้นการรวมเช่นนั้นจะทำให้รัสเซีย อังกฤษ และฝรั่งเศสมองว่าเยอรมนีเป็นอันตราย ฉะนั้นการรวมตัวจะมีโอกาสต่อเมื่อในระบบการปกครองห้ามหาอำนาจมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ซึ่งทำให้เลิกล้อมหรือลดการปราบปรามกระแสปฏิวัติลง

ในปี ค.ศ. 1822 อังกฤษได้ออกจากการเมืองเช่นนั้น เนื่องจากช่วยชาวกรีซ ซึ่งตอนนั้นเป็นของ จักรวรรดิออตโตมัน ฝรั่งเศสและรัสเซียก็เข้าร่วมด้วย จึงทำให้ระบบการรักษาอำนาจให้สมดุลในยุโรปเปลี่ยนเป็นระบบการขยายอำนาจ

ในปี ค.ศ. 1829 รัสเซียและ จักรวรรดิออตโตมัน ได้ยุติศึก โดยมีปรัสเซียเป็นผู้ติดต่อ (นายหน้า) ซึ่งทำให้รัสเซียได้ยุทธศาสตร์ไป ซึ่งเป็นฐานให้ตีมายังทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในอนาคตได้ แม้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยๆ แต่มหาอำนาจก็พยายามทำให้อำนาจสมดุลในยุโรป

ในปี ค.ศ. 1853 รัสเซียอาศัยจังหวะที่ปรัสเซียและออสเตรียอ่อนแอ เนื่องจากการปฏิวัติในปี ค.ศ. 1848 โจมตีและยึดคอนสแตนติโนเปิล (Konstantinopel) เพื่อป้องกันไม่ให้รัสเซียแข็งแรงขึ้นและมีตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่ดีขึ้น อังกฤษ ฝรั่งเศสและ จักรวรรดิออตโตมัน รวมตัวกันต่อต้านรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1854 ทหารเรืออังกฤษและฝรั่งเศสได้ส่งทหารไปยังไครเมีย (crimea) เพื่อยึดป้อม ปี Sewastopol ในขณะที่ออสเตรียขับไล่ทหารรัสเซียออกจากบริเวณรัฐริมแม่น้ำดานูบ (Danube) ได้

สงครามนี้ทำให้พันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์แตกออกจากกัน โดยเฉพาะระหว่าง ออสเตรียกับรัสเซีย และ ออสเตรียกับปรัสเซีย ซึ่งทำให้ออสเตรียขาดมิตรในยุโรป (อังกฤษและฝรั่งเศสเป็นระบบประชาธิปไตยอันมีกษัตรีย์เป็นประมุข ซึ่งไม่ถูกกับระบบราชาธิปไตยของออสเตรีย) จึงทำให้มหาอำนาจปรัสเซีย ซึ่งเป็นมหาอำนาจที่อ่อนแอที่สุดในขณะนั้น เริ่มขยายอิทธิพลในสหพันธ์เยอรมันได้ [3][5][6]

การรวมประเทศอิตาลี แก้

หลังจากปี ค.ศ. 1815 ทั้งเยอรมนีและอิตาลีเป็นเพียงแค่การเรียกชื่อทางภูมิศาสตร์เท่านั้น ประเทศเยอรมนีแตกเป็นหลายรัฐ ในขณะที่อิตาลีเหนืออยู่ภายใต้การปกครองของออสเตรีย อิตาลีกลางอยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา และอิตาลีใต้อยู่ภายใต้การปกครองของสเปน กระแสการรวมตัวของชาวอิตาลีในปี ค.ศ. 1848 ล้มเหลวเช่นเดียวเหมือนในเยอรมัน หลังปี ค.ศ. 1850 มีสองกระแส กระแสสาธารณรัฐนิยม นำโดยมัซซีนี (Mazzini) และกระแสเสรีนิยม นำโดยรัฐมนตรีคาวูร (Cavour) แห่งแคว้นพีดมอนต์ (Piemont)

ระหว่างปี ค.ศ. 1853 และ 1857 ความพยายามรวมประเทศอิตาลีเป็นปึกของทั้งสองฝ่ายต่างล้มเหลว คาวูร (Cavour) จึงได้ส่งทัพช่วยพันธมิตรฝรั่งเศส อังกฤษ และจักรวรรดิออตโตมัน ในสงครามไครเมีย (Crimea) เพื่อหวังได้รับความร่วมมือในการรวมประเทศในภายหลัง เนื่องจากในสมัยนั้นทั้งสองประเทศมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในสนธิสัญญาสันติภาพปารีสอิตาลีสามารถเริ่มทำการรวมตัวด้วย เนื่องจากหลังจากสงครามไครเมีย มีความขัดแย้งในพันธิมิตรศักดิ์สิทธิ์ระหว่างออสเตรียและปรัสเซียเกิดขึ้น

ในปี ค.ศ. 1859 คาวูรร่วมมือกับทหารฝรั่งเศสหลอกให้ออสเตรียส่งทหารเข้ามาอิตาลีเหนือ เพื่อหวังที่จะตีทัพออสเตรีย ซึ่งจะทำให้ลอมบาร์เดีย (Lombardy) และเวเนโต (Venetia) รวมตัวกับพีดมอนด์ ในขณะที่ฝรั่งเศสจะได้นีซ (Nice) และซาวอยเยิน (Savoyen) ตอบแทน แม้ว่าทัพออสเตรียจะถูกตีต่อเนื่อง ฝรั่งเศสก็ไม่กล้ายึดนีซและซาวอยเยิน เนื่องจากเกรงว่าปรัสเซียจะร่วมทำสงครามด้วย จึงยึดลอมบาร์เดียและเวเนโตไปแทนจนกว่าจะทำสนธิสัญญาสันติภาพ

 
กษัตริย์ของพีดมอนต์ พระราชาวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 2

ในสนธิสัญญาสันติภาพของซูริก (Zurich) ตกลงว่าฝรั่งเศสได้ลอมบาร์เดีย ในขณะที่ออสเตรียได้เวเนโตไป ซึ่งทำให้คาวูรลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีไป จึงทำให้ฝรั่งเศสยอมแลกลอมบาร์เดีย กับนีซและซาวอยเยิน

ด้วยเหตุนี้กระแสการรวมประเทศอิตาลีจึงได้หยุดไป จนกระทั่งนักปฏิวัติการีบัลดี (Garibaldi) กับทัพซีซิเลียน (Sicilian) นำทัพบุกจากทั้งใต้มายังทางเหนือ กระแสนี้ทำให้คาวูรมานำทัพอีกครั้งและยึดอาณาจักรพระสันตะปาปา

ต่อมาผู้นำทั้งสองร่วมมือกันล้อมราชาอาณาจักรสุดท้ายคือเนเปิลส์ (Naples/Napoli) หลังจากทำการยึดได้แล้ว การีบัลดียอมรับกษัตริย์ของพีดมอนต์ พระราชาวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 2 (Vicotr Emmanuel II)

เดือนมีนาคมปี ค.ศ. 1861 พระราชาวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 2 ได้รับการสถาปานาเป็นกษัตรีย์สมเด็จพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 2 แห่งอิตาลี แม้ว่าประเทศอิตาลีรวมตัวได้แล้วแต่ก็ยังมีปัญหาภายในประเทศอยู่

หลังจากปี ค.ศ. 1866 ซึ่งถูกเวเนโตและ ปี ค.ศ. 1870 อาณาจักรพระสันตะปาปา ซึ่งถูกฝรั่งเศสปกป้องอยู่ ตกเป็นของอิตาลี โรมก็ได้ถูกเลือกเป็นเมืองหลวง ซึ่งทำการให้สถาปนาราชอาณาจักรอิตาลีสำเร็จ ซึ่งเป็นตัวอย่างต่อรัฐในประเทศเยอรมนีและกลุ่มเล็กๆในออสเตรีย สรุปได้ว่ากระแสการรวมประเทศเกิดขึ้นได้หลังจากมหาอาณาในยุโรปไม่รักษาความสมดุลของอำนาจในยุโรป จึงทำให้เกิดสงครามไครเมีย ซึ่งทำให้พันธิมิตรศักดิ์สิทธิ์ได้แตกคอกันและทำให้มาตรการย้อนระบบการปกครองให้เป็นอย่างเดิมอ่อนแอลง [5][7]

สงครามเพื่อรวมประเทศ แก้

สงครามเยอรมัน-เดนมาร์ค แก้

 
สงครามเยอรมัน-เดนมาร์ค

ในปี ค.ศ. 1864 เดนมาร์คยึดอาณาจักรดยุค ชเลส์วิก (Schleswig) ซึ่งสวามิภักดิ์ต่อเดนมาร์ค ตั้งแต่มัยอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แล้ว แต่มีประชากรเยอรมันจำนวนมากอาศัยอยู่ จึงทำให้เกิดสงครามขึ้น เนื่องจากสัญญาของรีเพน (Ripen) ในปี ค.ศ. 1460 ได้รวมอาณาจักร ชเลส์วิก (Schleswig) และอาณาจักรดยุค โฮลสตายน์ (Holstein) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมันไว้เป็นปึกแผ่นเดียวกันแยกจากกันไม่ได้ เหตุผลนี้รัฐทั้งหลายในประเทศเยอรมนีได้รวมตัวกันเป็นพันธมิตร เพื่อต่อต้านเดนมาร์ค ในสงครามระหว่างเดนมาร์คกับเยอรมนี้ ฝ่ายพันธมิตรมีความสามัคคีและได้ชัย ชัยชนะที่ทำให้ปรัสเซียได้ขยายอิทธิพลในเยอรมนีต่อไป ในขณะที่อิทธิพลของออสเตรียเริ่มลดลงเรื่อยๆ ผลสงครามนี้ไม่ได้แปลก เนื่องจากประเทศเดนมาร์คไม่ใช่มหาอำนาจในสมัยนั้น แค่เพียงปรัสเซียรัฐเดียวก็สามารถปราบอยู่ การรวมตัวเป็นพันธมิตรเป็นเพียงการสร้างสถานการณ์เพื่อขยายอิทธิพลของปรัสเซียในเยอรมันเท่านั้น หลังจากชัยชนะปรัสเซียได้อาณาเขตเพิ่ม ได้แก่ อาณาจักรดยุค Sachsen-Lauenberg และ ชเลส์วิก (Schleswig) ในขณะที่ออสเตรียได้อาณาจักรดยุค โฮลสตายน์ (Holstein) ไป [5][8][9]

สงครามเยอรมัน แก้

 
สงครามเยอรมัน
สีน้ำเงิน: ปรัสเซีย
สีฟ้า: พันธมิตรปรัสเซีย
สีแดง: ออสเตรีย
สีชมพู: พันธมิตรออสเตรีย
สีเขียว: เป็นกลาง
สีเหลือง: ชเลส์วิก-โฮลสตายน์

ในปี ค.ศ. 1866 ปรัสเซียยึด อาษาจักดยุค โฮลสตายน์ (Holstein) ซึ่งเป็นของออสเตรีย ทั้งนี้ปรัสเซียยุยงออสเตรีย เนื่องจากออสเตรียมีปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศและวางตัวในสงครามคริม (Krimkrieg) ไม่ดี จึงหวังการสนับสนุนจากรัสเซียไม่ได้ นอกจากนั้น ออทโท ฟอน บิสมาก์ (Otto von Bismarck) ได้ให้ความหวังกับฝรั่งเศสไว้ หากฝรั่งเศสไม่เข้ามายุ่งในสงครามนี้ จะยกลักเซ้มบัวก์ (Luxemburg) ให้แก่ฝรั่งเศส ประเด็นเหล่านี้ทำให้ปรัสเซียเป็นต่อมากและเนื่องจากปรัสเซียไม่ต้องการให้ออสเตรียมีอิทธิพลในเยอรมันต่อไป จึงยึด โฮลสตายน์ (Holstein)ทำให้เกิดสงครามเยอรมัน ในสงครามนี้ฝ่ายปรัสเซียเป็นต่อทั้งจำนวนทหารและทางด้านเทคนิค ซึ่งทำให้ออสเตรียแพ้เร็ว จึงทำให้ออสเตรียถูกตัดออกจากสหพันธุ์เยอรมันและไม่มีอิทธิพลในเยอรมันอีกต่อไป ปรัสเซียได้รวมตัวกับรัฐทางเหนือเป็นสหพันธรัฐเยอรมันเหนือและได้ทำสัญญาลับการร่วมมือทางทหารกับรัฐทางใต้ บาวาเรีย(Bayern), เฮสเสน (Hessen), บาเดน (Baden) และ เวือรเทนเบรก (Württemberg) ไว้ เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ตนเอง เนื่องจากเยอรมันอยู่ระหว่างมหาอำนาจจึงอาจถูกโจมตีจากหลายด้านได้ [5][3][8][9]

สงครามเยอรมัน-ฝรั่งเศส แก้

 
จักรพรรดินโปเลียนที่ 3


หลังจากการโค่นราชบัลลังค์ของ สมเด็จพระราชีนีอีซาเบลที่ สอง(Könign Isabella II) แห่งสเปน ซึ่งทำให้รัชทายาทครองราชสมบัติเป็นคนเชื้อสาย โฮเฮนโซลแลรน์(Hohenzollern) ซึ่งเป็นเชื้อสายของกษัตริย์ของปรัสเซียและในฐานะผู้นำของเชื้อสายนั้น ฝรั่งเศสจึงเกรงว่าจะอยู่ระหว่างสองประเทศที่มีเยอรมันครอบครอง จึงทำให้เกิดความตึงเครียดขึ้น แม้ว่ารัชทายาท เจ้าชายลีโอโพล (König Leopold von Hohenzollern-Sigmaringen) จะปฏิเสธก็ตาม แต่ฝรั่งเศสก็ยังติดใจที่เชื่อสายนี้ยังมีสิทธิที่จะครอบครองสเปน แม้ว่า เจ้าชายลีโอโพล (König Leopold von Hohenzollern-Sigmaringen) เป็นญาติของจักรพรรดินโปเลียน (Kaiser Napoleon) และเป็นคาโทริกด้วย ซึ่งเข้ากับฝรั่งเศสมาก ด้วย แต่ จักรพรรดินโปเลียน ที่ 3 (Kaiser Napoleon III) กษัตริย์ซึ่งอาศัยเสียงของประชาชน เพื่อดำรงตำแหน่งได้ พยายามสร้างผลงานนอกประเทศ

 
เจ้าชายลีโอโพล

หลังจากที่เจ้าชายลีโอโพล (König Leopold von Hohenzollern-Sigmaringen) สละราชสมบัติแล้ว แต่ถูก ออทโท ฟอน บิสมาร์ค (Otto von Bismarck) กล่อมให้ครองราชสมบัติ ก็เกิดตวามขัดแย้งขึ้น ทั้งสองฝ่ายออทโท ฟอน บิสมาร์ค (Otto von Bismarck) และ จักรพรรดินโปเลียน ที่ 3 (Kaiser Napoleon III) ต่างพยายามใช้ เจ้าชายลีโอโพล (König Leopold von Hohenzollern-Sigmaringen) เป็นเครื่องมือ เพื่อตบหน้าทางด้านการเมือง ในขณะที่ ออทโท ฟอน บิสมาร์ค Otto von Bismarck) พยายามที่จะปลุกขวัญในเยอรมนี จักรพรรดินโปเลียน ที่ 3 (Kaiser Napoleon III) พยายามคุ้มกันภัยนี้ให้ได้ ทั้งนี้ทำให้รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศส ดยุค แห่ง กามองน์ (Herzog von Gramont) ชี้ภัยจากเยอรมนีให้แก่สภา ซึ่งขู่ด้วยการเปิดสงคราม เจ้าชายวิลเฮล์ม ที่ 1 (König Wilhelm I)และ Leopold จึงถอนตัวจากการรับราชสมบัติ ซึ่งสำหรับ ดยุค แห่ง กามองน์ (Herzog von Gramont) นั้นยังไม่เพียงพอ ดยุค แห่ง กามองน์ (Herzog von Gramont) เรียกร้องให้เยอรมันขอโทษและสละสิทธิรับราชสมบัติในสเปนตลอดไป โดยส่งทูต วินเซนด์ เบแนดตี้(Vincent Graf Benedetti) ไปยังที่พักพ่อนบาดเอ็มส์ (Bad Ems)

 
วินเซนด์ เบแนดตี้(Vincent Graf Benedetti)

เจ้าชายวิลเฮล์ม ที่ 1 (König Wilhelm I)ต้อนรับทูตอย่างดีและได้บอกไปว่ายังไม่ได้รับการเรียกร้องนั้นตามระเบียบ และยังไม่จำเป็นต้องเข้าเฝ้าต่อไปไฮน์ริช อาเบเคน (Heinrich Abeken) ผู้ปรึกษาได้รายงานเหตุการณ์นี้ไปยัง ออทโท ฟอน บิสมาร์ค (Otto von Bismarck) สารจาก Ems นี้ถูก ออทโท ฟอน บิสมาร์ค (Otto von Bismarck) ย่อความจนทำให้จับใจความได้ว่า ทูต วินเซนด์ เบแนดตี้(Vincent Graf Benedetti) ไม่สุภาพและไม่พอใจ ต่อเจ้าชายวิลเฮล์ม ที่ 1 (König Wilhelm I)มาก โทรสารจาก Ems ซึ่งได้จารึกในประวัติศาสตร์ เป็น โทรเลขจากเมืองเอมส์ (Emser Depesche) ตีพิมพ์เมื่อในวันที่ 13 กรกฎาคม ซึ่งยั่วฝรั่งเศส เนื่องจากฝรั่งเศสเสียหน้าจึงเป็นเหตุให้ฝรั่งเศสเปิดสงครามออทโท ฟอน บิสมาก์ (Otto von Bismarck) ใช้เหตุการณ์นี้เป็นอุบายยั่วยุ เพื่อเล่นงานฝรั่งเศสและสร้างภาพให้มหาอำนาจในยุโรปมองฝรั่งเศสในทางที่ไม่ดี ซึ่งทำให้ไม่มีใครต้องการช่วยฝรั่งเศสในสงครามนี้ [10][11][12]

ความจริงออทโท ฟอน บิสมาร์ค ต้องการให้เกิดสงคราม เนื่องจากเมื่อฝรั่งเศสโจมตีเยอรมนี จะทำให้รัฐทางใต้ที่มีสัญญาปกป้องกันและกัน ระหว่างสหพันธ์เยอรมันทางเหนือ จึงต้องเข้าช่วย ทั้งนี้ทำให้ปรัสเซียได้เป็นต่อ เนื่องจากฝรั่งเศสไม่คาดว่ารัฐทางใต้จะสู้ฝรั่งเศสด้วย จึงทำให้ปรัสเซียได้นำทหารเยอรมันและขยายอิทธิพลในยุโรปต่อไป

 
จักรพรรดินปเลียนที่ 3 วางอาวุธ

ในสงครามฝรั่งเศส-เยอรมัน ฝรั่งเศสได้เสียเปรียบเนื่องจาก

  1. ฝรั่งเศส แม้ว่าจะมีทัพบกที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ได้คาดการผิดว่ารัฐทางใต้ของเยอรมันจะเป็นกลาง และไม่รู้ว่ามีสัญญาลับระหว่างสหพันธ์เยอรมันเหนือกับรัฐทางใต้แล้ว
  2. การลำเลียงทัพของฝรั่งเศสช้ากวาเยอรมัน ซึ่งทำให้เยอรมันตีทัพฝรั่งเศสที่ไม่ได้เตรียมตัวได้ง่าย
  3. ทัพของเยอรมันมีความเคลื่อนไหวและการพลิกแพลงที่สูงกว่า จึงทำให้ได้เปรียบในเชิงกลยุทธ์

หลังจากที่ทัพฝรั่งเศสแพ้ศึกของเซดอง (Sedan) จนกระทั่ง จักรพรรดินโปเลียน ที่ 3 (Kaiser Napoleon III) ถูกทหารปรัสเซียจับ ฝรั่งเศสได้ปลดกษัตริย์ออกจากตำแหน่งและตั้งรัฐบาลใหม่เป็นสาธารณรัฐที่สาม รัฐบาลใหม่ ภายใต้ กัมเบดต้า (Gambetta)ไม่ยอมออมชอม และประกาศให้ประชาชน ปกป้องประเทศ จึงรวบรวมกำลังต่อต้านได้อีกครั้ง จนกระทั่งเมืองหลวงถูกทหารเยอรมันยึดในวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 1870 ยึด เนื่องจากฝรั่งเศสยังไม่ยอมจำนนและเกิดสงครามกองโจร ระหว่างทหารเยอรมันกับ Franc tireurs จึงทำให้สถานการณ์แย่ลง ไม่นานต่อมา ทหารฝรั่งเศสที่เมืองเมทซ์ (Metz) ได้ยอมจำนน จึงทำให้ทหารเยอรมันมีกำลังสู้ทัพฝรั่งเศสที่ก่อตั้งใหม่มากขึ้น หลังจากที่ ทหารฝรั่งเศส 87000 คน ถูกบังคับไปยังสวิสและถูกจับนั้น ไม่นานปารีสก็ยอมจำนนวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1871

ผลของสงครามฝรั่งเศส-เยอรมัน

  1. การนำทัพของปรัสเซียทำให้ปรัสเซียมีอิทธิพลมาก จึงทำให้ทุกรัฐยอมรวมตัวเป็นประเทศ เป็นจักรวรรดิ์เยอรมนี บางรัฐมีอภิสิทธิ์ อย่างเช่น รัฐทางใต้มีข้อตกลงพิเศษทางด้านทหารและอื่นๆ รัฐทุกรัฐอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันโดยมีกษัตริย์ของปรัสเซียเป็นประมุข
  2. เจ้าชายวิลเฮล์ม ที่ 1 (König Wilhelm I)ได้สภาปานาตัวเองเป็น จักรพรรด์วิลเฮล์มที่ 1 (Kaiser Wilhelm I) พระราชาวัง ณ แวรไซย์ (Versailles)
  3. อาณาเขตเอลสาส(Elsass) และ อาณาเขตโลทริงเงิน (Lothringen) ตกเป็นของเยอรมนี ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องจากทหาร เนื่องจากเป็นจุดยุทธศาสตร์ในเชิงการทหาร
  4. ฝรั่งเศสต้องจ่ายค่าเสียหาย 5 พันล้านฟัรงก์ (Francs)จึงทำให้ประเทศเยอรมันมีการพัฒนาการถไฟ ประเทศเยอรมันเป็นประเทศที่มีการเชื่อมโยงทางบกที่ใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น ในขณะที่ฝรั่งเศสถูกขัดการพัฒนาประเทศเนื่องจากผลของการชำระค่าเสียหาย

[5][3][8][9][13][14]

การรวมประเทศเยอรมัน แก้

 
การสถาปานาจักรพรรดิเยอรมัน ณ ไวแซด์

การสถาปานาจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แก้

ในสงครามเยอรมัน ฝรั่งเศส ปรัสเซียพิสูจน์อิทธิพลและความเป็นผู้นำให้รัฐอื่นในเยอรมนีเห็น ซึ่งทำให้เป็นที่ยอมรับ รัฐส่วนมากในเยอรมนีจึงยอมรวมตัวด้วย โดยเฉพาะหลังจากที่รัฐเบวาเรีย (Bayern) ซึ่งเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดในรัฐทางใต้เยอรมันเข้าร่วมด้วย รัฐอื่นๆก็เข้าตาม เพื่อให้การสถาปานาจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ ๑ มีน้ำหนัก จึงมอบหมายให้พระราชาลูดวิก (Ludwig II) นำมงกุฎให้ ในการรวมตัวประเทศนี้ปรัสเซียซื้อรัฐทางใต้ด้วยอภิสิทธิ์ในการทหารและข้อแลกเปลี่ยนอื่นๆ (เช่น พระราชาลูดวิก ที่ 2 ได้รับเงินจำนวน 5 ล้านทองมารค์ทุกปี)

รัฐธรรมนูญ แก้

รัฐธรรมนูญกำหนดอำนาจและบทบาทการปกครองประเทศไว้ดังนี้


  1. จักรพรรดิ เป็นตัวแทนของทุกรัฐ ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นพระราชาในรัฐปรัสเซียด้วย นอกจากนั้นเป็นผู้บังคับบัญชาทหารสูงสุดในกรณีสงคราม มีสิทธิแต่งตั้งมุขมนตรีและรัฐบาล ไม่มีสิทธิออกกฎหมาย
  2. มุขมนตรีเป็นผู้จัดรัฐบาลและดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศนอกจากนั้นยังเป็นประธานสภาสูง
  3. สภาต่ำ (Bundestag) ซึ่งมีสมาชิกสภาจำนวน 397 คน ซึ่งถูกเลือกโดยประชาชนและมีสิทธิ์ออกกฎหมาย ซึ่งยังต้องอาศัยการอนุมัติจากสภาสูง
  4. สภาสูง (Bundesrat)แต่ละรัฐมีสิทธิ์ส่งสมาชิกในจำนวนที่บัญญัติไว้ (เช่น ปรัสเซีย 17 คน) สภานี้มีอำนาจเหนือกว่าสภาต่ำมาก เนื่องจากกฎหมายจะต้องอาศัยการอนุมติจากสภาสูง นอกจากนั้นกษัตรีย์และสภาสูงสามารถสั่งยุบสภาต่ำได้ สภาสูงมีสมาชิกทั้งหมด 58 คน การใช้สิทธิยับยั้งจะต้องมีเสียงทั้งหมดอย่างน้อย 14 เสียง
  5. ประชาชนเพศชาย อายุ 25 ปีขึ้นไปมีสิทธิ์เลือกสมาชิกสภาต่ำ ซึ่งมีการเลือกทุก 3 ปี หลังจาก ค.ศ. 1888 เลือกทุก 5 ปี

[5][3][8][14]

การปกครองภายใต้จักรพรรดิและมุขมนตรี แก้

สมัยจักรพรรดิ วิลเฮล์มที่ 1 แก้

ความขัดแย้งระหว่างสภากับพระราชาแห่งปรัสเซีย แก้

จักรพรรดิ วิลเฮล์มที่ 1 (วันที่ 22 เดือนมีนาคม ค.ศ. 1791 ณ Berlin ถึงวันที่ 9 เดือนมีนาคม ค.ศ. 1888) เป็นพระราชาของปรัสเซียตั้งแต่ปี ค.ศ. 1861 และเป็นจักรพรรดิเยอรมัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1871 เป็นลูกคนที่สองพระราชา ฟรีดริค ที่ สาม (Friedrich III) กับพระราชีนี ลุอีเส (Luise)

ในปี ค.ศ. 1861 พระราชาวิลเฮล์มที่ 1 เริ่มบริหารบ้านเมือง เนื่องจากสุขภาพของพี่ชายไม่อำนวยการบริหารต่อไป พระราชาวิลเฮล์มแต่งตั้งรูน (Roon) เป็นรัฐมนตรีกระทรวงกาลาโหม ทั้งสองต้องการปรับปรุมทหาร เนื่องจากสัดจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ในขณะที่จำนวนทหารไม่ได้เปลี่ยนแปลง จึงต้องการเพิ่มจำนวนทหารและระยะเวลาเกณท์ทหาร ทั้งนี้ต้องอาศัยการอนุมัติจากสภา เนื่องจากเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายเงินภาษี แต่กลุ่มเสียงใหญ่ในสภา ซึ่งเป็นแนวเสรีนิยมไม่ต้องการเพิ่มค่าจ่ายและเกรงกลัวอำนาจทหารจึงปฏิเสธ การขัดแย้งทำให้พระราชาวิลเฮล์มที่ 1 อยากสละบัลลัง แต่ก่อนที่จะสละบัลลัง พระราชาวิลเฮล์มที่ 1 ได้คุยกับออทโท พอน บิสมารค์ ซึ่งออทโท พอน บิสมารค์ เป็นคนที่รักราชาธิไตยมาก จึงแต่งตั้ง ออทโท พอน บิสมารค์ ให้หาวิธีแก้ไขปัญหาภายในประเทศ

การคลี่คลายปัญหา โดยออทโท พอน บิสมารค์ แก้

 
ออทโท พอน บิสมารค์

หลังจากการแต่งตั้งเป็นมุขมนตรีของปรัสเซีย ออทโท พอน บิสมารค์ได้อาศัยทฤษฎีช่องว่าง (Lückentheorie) ซึ่งหมายความว่าสิ่งใดที่ไม่ได้บัญญัติในกฎหมาย ก็ให้ถือเป็นช่องว่าง ไม่ให้ตีความหมายเอง ทำการปรับปรุงการทหาร โดยละเมิดสิทธิ์ของสภา ออทโท พอน บิสมารค์มีความเห็นว่า ในกรณีที่สภาต่ำและพระราชามีความเห็นขัดแย้งกัน ซึ่งไม่มีบัญญัติว่าจะต้องทำอย่างไร ให้ถือว่ากษัตริย์มีสิทธิ์สูงสุด หลังจากที่สมาชิกสภาได้ประท้วงในปี ค.ศ. 1863 พระราชาวิลเฮลม์ที่ 1 ก็ได้สั่งยุบสภาเนื่องจากการประพฤติที่ละเมิดกฎหมาย ในปี ค.ศ. 1866 หลังจากปรัสเซียชนะออสเตรียแล้ว ออทโท พอน บิสมารค์ ให้เปิดสภาเพื่อลงมติกฎหมายคุ้มกันการบริหารภาษีตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1862 และการมอบฉันทะให้บริหารภาษีของปี ค.ศ. 1866 (Indemnitätsgesetz) กฎหมายเป็นการปรับความเข้าใจระหว่าง ออทโท พอน บิสมารค์ และสภาต่ำ เนื่องจากชัยชนะของปรัสเซีย สมาชิกสภาซึ่งฝันถึงการรวมประเทศเยอรมันจึงอนุมัติ และทำให้สมาชิกแนวเสรีนิยมเริ่มเข้าข้าง ออทโท พอน บิสมารค์ด้วย หลังจาก ออทโท พอน บิสมารค์ ตัดออสเตรียออกจากเยอรมนีออกไปและชนะสงครามเยอรมัน ฝรั่งเศส ประเทศเยอรมันก็ได้รวมตัวได้ หลังจากการแต่งตั้งเป็นมุขมนตรีแห่งเยอรมันแล้ว ออทโท พอน บิสมารค์ ต้องแก้ปัญหาภายในและภายนอกประเทศดังนี้ [5][3][8][9][15][16]

ปัญหาภายนอกประเทศ หลังการรวมตัว แก้

ปัญหาจากการรวมประเทศและมาตรการ แก้
 
ระบบพันธมิตรของบิวมารค์

เนื่องจากการยึดอาณาเขตเอลสาสกับลอทลิงเง้น ออทโท พอน บิสมารค์เกรงว่าฝรั่งเศสจะฉวยโอกาสที่จะทำสงครามล้างแค้น อาศัยความเป็นมิตรต่อมหาอำนาจอื่นในยุโรป ออทโท พอน บิสมารค์จึงผูกพันธมิตร เพื่อทำให้ฝรั่งเศสอยู่โดดเดี่ยว นอกจากนั้น ออทโท พอน บิสมารค์ มองว่าเยอรมันอยู่กลางยุโรปเป็นยุทธศาสตร์ที่ไม่ดี เพราะในกรณีที่เกิดสงครามอาจจะต้องทำศึกหลายด้าน จึงได้ผูกมิตรตามลำดับนี้

  • ข้อตกลงระหว่างสามมหากษัตริย์ (Dreikaiserabkommen)

ในปี ค.ศ. 1873 จักรวรรดิเยอรมันทำสัญญากับออสเตรียกับรัสเซียประเทศซึ่งมีระบบราชาธิปไตย เป็นข้อตกลงระหว่างมหาสามกษัตริย์ สัญญานี้ทำให้ฝรั่งเศสอยู่โดดเดี่ยว เนื่องจากฝรั่งเศสมีปัญหากับอังกฤษ*การประชุมแห่งเบอรลีน (Berliner Kongress)

ในปี ค.ศ. 1878 ออทโท พอน บิสมารค์ได้เสนอตัวเป็นนายหน้าสุจริต เนื่องจากจักรวรรดิเยอรมันประกาศว่าจะไม่ขยายตัวใดๆทั้งสิ้นจึงเป็นกลาง ในเรื่องสงครามรัสเซียตุรกี มหาอำนาจอื่นๆในยุโรปเกรงว่ารัสเซียจะมีอำนาจมากเกินไป จึงตกลงให้รัสเซียคืนพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ยึดได้ให้แก่ตุรกี ทางรัสเซียติดใจเยอรมันในเรื่องนี้มากเนื่องจากออทโท พอน บิสมารค์ไม่ได้เข้าข้างรัสเซีย

  • พันธมิตรสองประเทศ (Zweibund)

หลังจากความขัดแย้งและความผิดใจซึ่งเกิดจากสงครามรัสเซียตุรกี ประเทศรัสเซียยกเลิกสัญญาพันธมิตรสามมหากษัตริย์ ด้วยเหตุนี้ออทโท พอน บิสมารค์จึงรีบผูกมิตรกับออสเตรีย เพื่อสร้างความกดดันให้กับรัสเซียในปี ค.ศ. 1879 สัญญาพันธมิตรสองประเทศระหว่างจักรวรรดิเยอรมันและออสเตรีย ตกลงว่า

  1. ในกรณีที่รัสเซียโจมตีประเทศใดประเทศหนึ่ง คู่สัญญาจะต้องให้การสนับสนุนทางทหารเต็มที่
  2. ในกรณีที่ประเทศอื่นโจมตีร่วมกับรัสเซีย คู่สัญญาจะต้องให้การสนับสนุนทางทหารเช่นเดียวกัน
  3. ในกรณีอื่นๆคู่สัญญาจะเป็นกลางไม่เข้ายุ่งเกี่ยว
  • พันธมิตรสามมหากษัตริย์ลับ (Dreikaiserbund)

หลังจากการผูกพันธมิตรสองประเทศ รัสเซียเห็นว่ามีประโยชน์มากกว่าที่เข้าเป็นพันธมิตรด้วย จึงได้มีข้อตกลงลับระหว่าง รัสเซีย จักรวรรดิเยอรมัน และออสเตรียดังนี้

  1. ในกรณีคู่สัญญาทำสงครามกับประเทศใดที่ไม่ใช่คู่สัญญานี้ คู่สัญญาอื่นๆจะเป็นกลาง
  2. ในกรณีที่อังกฤษทำสงครามกับรัสเซีย คู่สัญญาจะเป็นกลาง
  3. ในกรณีที่ฝรั่งเศสทำสงครามกับเยอรมันและหรือออสเตรีย รัสเซียจะเป็นกลาง
  • พันธมิตรสามประเทศ (Dreibund)

ในปี ค.ศ. 1882 อิตาลีมีความขัดแย้งกับฝรั่งเศสเรื่องเมืองขึ้นลีเบีย ก็ร่วมเข้าเป็นพันธิมิตรกับออสเตรียและจักรวรรดิเยอรมันด้วย

  • ข้อตกลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mittelmeerentente)

ในปี ค.ศ. 1887 ออทโท พอน บิสมารค์สนับสนุนการยอมรับเขตในชายแดนบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อังกฤษ สเปน อิตาลี ออสเตรีย และ จักรวรรดิเยอรมันตกลงไม่ขยายและยอมรับเขตชายแดน ณ เวลานั้น ยกเว้นแต่การขยายของอิตาลี ณ ลีเบียกับการขยายของอังกฤษ ณ อียิปต์ ข้อตกลงนี้ทำให้ฝรั่งเศสอยู่โดดเดี่ยวยิ่งขึ้น

หลังจากการขัดแย้งระหว่างรัสเซียและออสเตรียสัญญาลับระหว่างสามประเทศก็จบลงไป ออทโท พอน บิสมารค์ ทำสัญญาลับกับรัสเซียในปีค.ศ. 1887 โดยตกลงดังนี้

ส่วนที่ 1 ของสัญญา

  1. ในกรณีที่รัสเซียหรือจักรวรรดิเยอรมันถูกโจมตี คู่สัญญาจะเป็นกลาง
  2. จักรวรรดิเยอรมันยอมรับประวัติศาสตร์ของรัสเซียและยอมรับว่าพื้นที่บูลกาเรีย(Bulgarien)เคยเป็นของ รัสเซียและอาจเป็นส่วนของรัสเซียในอนาคต

ส่วนที่ 2 ของสัญญา จักรวรรดิเยอรมันจะสนับสนุนและช่วยรัสเซียทำทางมาทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

สัญญานี้มีข้อขัดแย้งกับข้อตกลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สำหรับ ออทโท พอน บิสมารค์ สัญญานี้ไม่มีค่ามากเท่าไหร่ เนื่องจากมีข้อขัดแย้งเยอะ แต่เพียงผูกไว้เพื่อกันไม่ให้สงครามเกิดขึ้นกลางยุโรปเท่านั้น [14][3][8][15][16]

ยุคจักรวรรดินิยม แก้
 
เมืองขึ้นของเยอรมัน

หลังจากที่ระบบผูกพันธมิตรของออทโท พอน บิสมารค์สมบูรณ์แล้ว ซึ่งทำให้จักรวรรดิเยอรมันไม่ต้องกังวลว่ามหาอำนาจอื่นในยุโรปจะโจมตี และเพื่อไม่ให้มหาอำนาจอื่นกลัวว่าจักรวรรดิเยอรมันจะขยายตัวออกไป ขยายอิทธิพลในยุโรป จึงมีการประกาศว่าจักรวรรดิเยอรมันอิ่มตัวแล้ว ไม่มีความต้องการที่จะขยายอีก

แต่กระแสจักรวรรดินิยม ซึ่งมีการเรียกร้องให้มีเมืองขึ้น เพื่อขยายตลาด ขยายแหล่งวัตถุดิบ ขยายอาณาเขต ออทโท พอน บิสมารค์มองเห็นว่า การขยายตัวเช่นนั้นจะทำให้เกิดความขัดแย้งกับมหาอำนาจอังกฤษ จึงพยายามไม่ตอบสนองการเรียกร้อง หลังจากสถานการณ์เริ่มเปลี่ยน โดยเฉพาะการครอบครองบัลลังโดยพระราชาฟริดลิงก์ที่ 3 ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ดีกับองักฤษและเหตุผลภายในประเทศ ก็มีการยึดพื้นที่ในอาฟริกาบางส่วน

ออทโท พอน บิสมารค์ เคยออกความเห็นในปี ค.ศ. 1888 ว่า

Ihre Karte von Afrika ist ja sehr schön, aber meine Karte von Afrika liegt in Europa. Hier liegt Russland. Und hier liegt Frankreich, und wir sind in der Mitte, das ist meine Karte von Afrika
(แผนที่แอฟริกาของคุณก็สวยดี ส่วนแผนที่แอฟริกาของฉันอยู่ในยุโรป ฝรั่งเศสอยู่ด้านซ้าย ส่วนรัสเซียอยู่ด้านขวา พวกเราอยู่ตรงกลาง นี่คือแผนที่แอฟริกาของฉัน)

[3][8][15][16]

ปัญหาภายในประเทศ แก้

พรรคกลาง (Zentrum) แก้

เนื่องจากออทโท พอน บิสมารค์ทำงานร่วมกับกลุ่มเสรีนิยมได้ และการตั้งพรรคกลาง โดยเป็นตัวแทนเสียงชาวแคทอลิคและกลุ่มชนชั้นแรงงาน ได้แย้งเสียงจากกลุ่มเสรีนิยม จนเป็นพรรคใหญ่ที่รองมาจากกลุ่มเสรีนิยมและเป็นพรรคที่ขัดแย้งกับโปเตสแต้น จึงทำให้ออทโท พอน บิสมารค์ เกรงว่าโป๊สจะเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ด้วยเหตุนี้จึงมีการออกกฎหมายรุนแรง โดยเฉพาะการยุ่งเกี่ยวจากบาทหลวง ให้รัฐเป็นคนจัดงานแต่งงาน ให้รัฐเป็นผู้คุมโรงเรียน มาตรการดังกล่าวนี้ออทโท พอน บิสมารค์ทำเพื่อให้พรรคยุบไป แต่กลับทำให้พรรคและสมาชิกสามัคคีและแข็งแกร่งขึ้น

พรรคแรงงาน (Sozialistische Arbeiterpartei) แก้

เนื่องจากสถานการณ์ของกลุ่มชนชั้นแรงงานนับวันเริ่มแย่ลง สภาพแวดล้อมการทำงานแย่ เงื่อนไขการทำงานแย่ จึงมีการรวมตัวเพื่อช่วยเหลือกันและกัน หลังจากการประกาศของ Karl Marx ซึ่งประกาศให้ชนชั้นแรงงานรวมตัวกัน เพื่อล้มกลุ่มนายจ้างและยึดสมบัติให้เป็นของส่วนรวม ออทโท พอน บิสมารค์ก็เห็นว่าเป็นอันตรายต่อภายในประเทศ เนื่องจากจะทำให้สถานการณ์ภายในไม่สงบและไม่สนุบสนุนออทโท พอน บิสมารค์ด้วย ด้วยเหตุนี้ปีค.ศซ 1878จึงได้ออกกฎหมายเพื่อกันเจตนาโรมร้ายแห่งสังคมนิยมประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการกฎหมายให้รวมตัวระหว่างชนชั้นแรงงานหรือสร้างชมรม ยกเว้นแต่พรรคเท่านั้น กฎหมายนี้ถูกต่ออายุถึงปี ค.ศ. 1890

การพยายามจูงใจกลุ่มชนชั้นกรรมกร แก้

ออทโท พอน บิสมารค์ พยายามที่จะซื้อเสียงของกลุ่มชนชั้นกรรมกร จึงเป็นผลให้เกิดการออกกฎหมายประกันอุบัติเหตุ ในปี ค.ศ. 1884 ซึ่งทำให้ภายหลังมีการออกกฎหมายประกันสุขภาพ ประกันการพิการและประกันเงินบำนาญ นอกจากนั้นออทโท พอน บิสมารค์ได้ขึ้นภาษีสำหรับสินค้าต่างชาติ เพื่อสนับสนุนสินค้าภายในประเทศ ซึ่งทำให้ออทโท พอน บิสมารค์ได้เสียงของกลุ่มอนุรักษนิยม

การเลือกตั้งของปี ค.ศ. 1887 กลุ่มเสรีนิยมและกลุ่มอนุรักษนิยมรวมกันมีเสียงมากที่สุดในสภาต่ำ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ออทโท พอน บิสมารค์ อยู่ในตำแหน่งมุขมนตรีและมีเสียงในสภาต่ำสนับสนุน[3][8][15][16][17][18]

 
จักรพรรดิ ฟรีดรีชที่ 3

สมัยจักรพรรดิ ฟรีดรีชที่ 3 แก้

หลังจากการตายของจักรพรรดิวิลเฮลม์ที่ 1 ฟรีดรีสที่ 3 ก็ได้ครองราช ในขณะท่านเป็นมะเร็งที่ลำคอจึงทำหน้าที่ไม่ได้เต็มที่ จักรพรรดิฟรีดรีสที่ 3 เป็นความหวังของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสรีนิยมและกลุ่มที่ต้องการขยายอาณาจักรด้วยการครอบครองเมืองขึ้น เนื่องจากจักรพรรดิฟรีดรีสที่ 3 เป็นมิตรกับอังกฤษ การปลดรัฐมนตรี Viktor von Puttkammer ออกเป็นสัญลักษณ์ให้เห็นว่าท่านต้องการสนับสนุนกระแสเสรีนิยมมาก ท่านได้ครองราชทั้งหมด 99 วัน และล้มป่วยถึงแก่ตาย จึงทำให้ลูกชายพระราชาวิลเฮลม์ที่ 2 ขึ้นมาครองราชแทน [3][8]<

สมัยจักรพรรดิ วิลเฮล์มที่ 2 แก้

 
จักรพรรดิ ฟรีดรีชที่ 3


แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ไม่แน่ใจว่าจะเขียนต่อดีหรือเปล่า เนื่องจากจะชนกับสงครามโลกครั้งที่ 1

อ้างอิง แก้

  1. Koch, Rainer: Deutsche Geschichte 1815-1848 Restauration oder Vormärz?
  2. Botzenhart, Manfred: eform, Restauration, Krise, Deutschland 1789-1847, Frankfurt a. M. 1985
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 Duden: Deutsche Geschichte, Allgemeinbildung kompakt
  4. Ghervas, Stella: Réinventer la tradition. Alexandre Stourdza et l'Europe de la Sainte-Alliance, Paris
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 Grundkurs Geschichte 12 von Rudolf Berg
  6. John Sweetman, Crimean War, Essential Histories 2
  7. "วิกิพีเดียอิตาลี เทียบข้อมูลเมื่อวันที่ 5 ก.พ."
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 8.6 8.7 8.8 Schlaglichter der deutschen Geschichte, Helmut M Müller, จาก bpb
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Brockhaus deutsche Geschichte in Schlaglichtern
  10. texte extrait de La Guerre de 70 - Paris 1970, tome I หน้าที่ 105
  11. Grundkurs Geschichte 12 จาก Rudolf Berg, Cornelsen, หน้าที่ 74
  12. Vincent Benedetti: Ma mission en Prusse. ตีพิมพ์ครั้งที่ 2 Plon, Paris 1871
  13. Lt-Colonel Rousset, Histoire générale de la guerre franco-allemande
  14. 14.0 14.1 14.2 หนังสือรวมเอกสารทางด้านประวัติศาสตร์ เช่นสัญญาและอื่นๆ: Huber Ernst Rudolf: Dokumente zur deutschen Verfassungsgeschichte. Bd 2 1851-1900
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 Tilly,Richad H. Vom Zollverein zum Industriestaat. Die wirtschaftlich soziale Entwicklung Deutschlands 1834-1914
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 Wehler Hans Ulrich: Das deutsche Kaiserreich 1871-1918 Göttingen
  17. Ritter, Gerhard: Die deutschen Parteien 1830-1914. Parteien und Gesellschaft in der konstituionellen Regierungssystem
  18. Lehnert Detlef: Sozialdemokratie zwischen Protestbewegung und Regierungspartei 1848-1983