ปีศาจสปาเกตตีลอยฟ้า
ปีศาจสปาเกตตีลอยฟ้า (อังกฤษ: Flying Spaghetti Monster หรือมักเรียกโดยย่อว่า FSM) เป็นพระเจ้าตามความเชื่อของ ศาสนจักรปีศาจสปาเกตตีลอยฟ้า หรือ ลัทธิพาสตาฟาเรียน ซึ่งเป็นศาสนาที่มีอยู่จริงก่อตั้งโดยบ็อบบี เฮนเดอร์สัน เพื่อต่อต้านมติของคณะกรรมการการศึกษาของรัฐแคนซัส ที่บังคับให้โรงเรียนในสังกัดสอนทฤษฎีผู้สร้างอันชาญฉลาดควบคู่ไปกับทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินในวิชาชีววิทยา เฮนเดอร์สันเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงคณะกรรมการฯ มีใจความว่า เขาเชื่อว่าโลกและจักรวาลถูกสร้างโดยพระเจ้าที่มีรูปร่างคล้ายสปาเกตตีและลูกชิ้นสองก้อน ซึ่งเขาเรียกว่า "ปีศาจสปาเกตตีลอยฟ้า" และเรียกร้องให้โรงเรียนในรัฐแคนซัสสอนทฤษฎีการสร้างโลกของเขาเช่นกันเพื่อความเท่าเทียมกัน เช่นเดียวกับการที่ทางคณะกรรมการฯ ได้กล่าวไว้ว่าการเรียนการสอนระหว่างทฤษฎีวิวัฒนาการและทฤษฎีผู้สร้างอันชาญฉลาดควรจะมีความเท่าเทียมกัน ซึ่งโดยนัยแล้ว เขาแสดงให้เห็นว่าทฤษฏีผู้สร้างอันชาญฉลาดเป็นเรื่องไร้สาระ ไม่ผิดกับปีศาจสปาเกตตีลอยฟ้าเลย[1][2]
ปีศาจสปาเกตตีลอยฟ้า | |
---|---|
ลัทธิพาสตาฟาเรียน | |
Touched by His Noodly Appendage ภาพล้อเลียน The Creation of Adam อันมีชื่อเสียงของมีเกลันเจโล | |
ศูนย์กลางของลัทธิ | venganza.org |
สัญลักษณ์ | |
คัมภีร์ | พระวรสารปีศาจสปาเกตตีลอยฟ้า |
เทศกาล | "Holiday" |
หลังจากเฮนเดอร์สันเผยแพร่จดหมายดังกล่าวบนเว็บไซต์ของเขา FSM ได้กลายเป็นปรากฏการณ์ทางอินเทอร์เน็ตและเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อต้านการสอนทฤษฎีผู้สร้างอันชาญฉลาดในโรงเรียนของรัฐ[3] "ความเชื่อ" ของพาสตาฟาเรียนล้วนล้อเลียนมากจากแนวความเชื่อในศาสนาเกี่ยวกับผู้สร้างโลก ความเชื่อเหล่านี้เผยแผ่ในเว็บไซต์ของเฮนเดอร์สัน Church of the Flying Spaghetti Monster ซึ่งเขาถือเป็นผู้ประกาศพระวรสาร และใน The Gospel of the Flying Spaghetti Monster เขียนโดยเฮนเดอร์สันและตีพิมพ์ใน ค.ศ. 2006 โดย Villiard Press ความเชื่อแกนหลักคือปีศาจอัจมองไม่เห็นและไม่อาจตรวจจับได้เป็นผู้สร้างจักรวาล โจรสลัดเป็นชาวพาสตาฟาเรียน (เป็นการรวมคำ พาสต้าและRastafarian เข้าด้วยกัน) พวกแรก[4] เฮนเดอร์สันเชื่อว่าการลดลงของโจรสลัดทำให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อน[5] ชุมชน FSM รวมตัวกันที่เว็บไซต์ของเฮนเดอร์สันเพื่อแบ่งปันความคิดและสร้างสรรค์ผลงานเกี่ยวกับ Flying Spaghetti Monster
เนื่องด้วยความโด่งดังและเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไป ปีศาจสปาเกตตีลอยฟ้า เป็นตัวอย่างยุคใหม่ของ Russell's teapot ข้อโต้เถียงทางปรัชญาที่กล่าวว่าการพิสูจน์เป็นหน้าที่ของผู้สร้างข้อกล่าวอ้างที่ไม่มีทางแสดงให้เห็นได้ว่าเท็จ หาใช่หน้าที่ของของผู้ที่ปฏิเสธข้อกล่าวอ้างดังกล่าว แม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว FSM จะได้รับการชื่มชมและได้รับการยอมรับจากชุมชนทางวิทยาศาสตร์ FSM มักถูกวิพากษ์โดยผู้สนับสนุนปรัชญาผู้สร้างอันชาญฉลาด ผู้อ้างตนว่าเป็นพาสตาฟาเรียนได้มีส่วนในข้อพิพาททางศาสนาหลายครั้ง รวมถึงครั้งหนึ่งในรัฐฟลอริดาซึ่งมีการแสดงละครล้อเลียนเพื่อไม่ให้โรงเรียนในท้องถิ่นกำหนดกฎใหม่ในการสอนทฤษฎีวิวัฒนาการ[6]
วันสำคัญ
แก้ชาวพาสตาเรียนได้กำหนดให้ทุกวันศุกร์เป็นวันศักดิ์สิทธิ์ ทุกบทอธิษฐานในศาสนจักรนี้จะลงท้ายด้วยคำว่า "ราเมน" ซึ่งมีนัยยะล้อเลียนคำว่า อาเมน ในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ และยังสื่อถึง "ราเม็ง" เพื่อสื่อซึ่งถึงบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่นักเรียนนักศึกษานิยมรับประทาน[7]
ช่วงเทศกาลคริสต์มาส ฮานุคคาห์ และควันซา ชาวพาสตาเรียนจะฉลองวันหยุดที่เรียกว่า "Holiday" ซึ่งในแต่ละครั้งจะไม่กำหนดวันที่แน่นอน เพราะชาวพาสตาเรียนไม่นิยมสิ่งที่เป็นคำสอนต้องเชื่อหรือลัทธิพิธีการใด ๆ ไม่มีข้อกำหนดที่ต้องทำเป็นพิเศษ แต่จะฉลอง Holiday ตามที่จะพอใจทำ[8] มีการฉลอง "พาสต์โอเวอร์" เพื่อล้อเลียนพิธีปัสคา[9][10][11] (Passover) ในศาสนาคริสต์ และฉลอง "ราเม็งดัน" เพื่อล้อเลียนเดือนเราะมะฎอนของศาสนาอิสลาม[12][13][14]
ชาวพาสตาเรียนยังถือว่าการที่คนหันมาอวยพรกันว่า "สุขสันต์ฮอลิเดย์" มากขึ้นแทนการอวยพรเดิม (เช่น สุขสันต์วันคริสต์มาส) ถือเป็นการสนับสนุนลัทธิพาสตาเรียน[8] ในเดือนตุลาคมปี ค.ศ. 2005 บัตรอวยพรวันคริสต์มาสจากทำเนียบขาวสมัยจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ได้อวยพรให้ประชาชนสุขสันต์ "holiday season"[15] เฮนเดอร์สันจึงเขียนบันทึกส่งไปขอบคุณ มีรูปปลากำลังวาดปีศาจสปาเกตตีลอยฟ้าเอาไว้ติดรถลีมูซีนหรือเครื่องบินแอร์ฟอร์ซวัน[16] เฮนเดอร์สันยังขอบคุณถึงร้านวอล-มาร์ตที่ใช้วลีนี้เช่นเดียวกัน[17]
การใช้ในข้อโต้แย้งทางศาสนา
แก้ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2011 Niko Alm ผู้ไม่นับถือศาสนาชาวออสเตรียได้รับสิทธิ์ตามกฎหมายให้ถ่ายรูปติดใบอนุญาตขับขี่โดยสวมกระชอนพาสต้าไว้บนศีรษะ หลังจากที่เขาได้ใช้เวลาสามปีในการแสดงให้เห็นว่าเขามีจิตประสาทดีพอที่จะขับรถได้ เขาได้จุดประกายความคิดนี้เมื่อเห็นว่าข้อบังคับของออสเตรียยอมให้มีการปกคลุมศีรษะในภาพถ่ายอย่างเป็นทางการหากสวมใส่ด้วยเหตุผลทางศาสนา[4][18][19]
อ้างอิง
แก้เชิงอรรถ
แก้- ↑ "Verbatim: Noodle This, Kansas". วอชิงตันโพสต์. 28 สิงหาคม, พ.ศ. 2548.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Thierman, Jessica (18 กันยายน, พ.ศ. 2548). "Touched by His Noodly Appendage". Gelf Magazine.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Boxer, Sarah (2005-08-29). "But Is There Intelligent Spaghetti Out There?". The New York Times Arts article. สืบค้นเมื่อ 2007-02-05.
- ↑ 4.0 4.1 "Austrian Pastafarian dons colander as religious headgear for drivers license". english.alarabiya.net. 2011 [last update]. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ "Discussion of the Open Letter". Henderson, Bobby. สืบค้นเมื่อ 2007-04-07.
- ↑ Billy Townsend (2007-12-22). "Polk Needled, Noodled In Evolution Flap". The Tampa Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-22. สืบค้นเมื่อ 2007-12-23.
- ↑ "In the beginning there was the Flying Spaghetti Monster". The Daily Telegraph. London. September 11, 2005. สืบค้นเมื่อ 2009-12-19.
- ↑ 8.0 8.1 Henderson, Bobby (2006-12-01). "Happy Holiday Season Everyone". Church of the Flying Spaghetti Monster. สืบค้นเมื่อ 25 November 2009.
- ↑ "Questions on FSM Holidays". Venganza.org. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-27. สืบค้นเมื่อ 2011-03-29.
- ↑ "A question about Pastover". Venganza.org. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-15. สืบค้นเมื่อ 2011-03-29.
- ↑ RD Magazine[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Ramendan". Venganza.org. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-27. สืบค้นเมื่อ 2011-03-29.
- ↑ El Pais
- ↑ Death and Taxes magazine
- ↑ Cooperman, Alan (2005-12-07). "'Holiday' Cards Ring Hollow for Some on Bushes' List". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 25 November 2009.
- ↑ Henderson, Bobby (2006-12). "FSM Card for Bush". Church of the Flying Spaghetti Monster. สืบค้นเมื่อ 25 November 2009.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ The Gospel of the Flying Spaghetti Monster, p.125.
- ↑ "Austrian driver allowed 'pastafarian' headgear photo". BBC News. 2011-07-14. สืบค้นเมื่อ 26 July 2011.
- ↑ แม่แบบ:Cite blog
อ้างอิง
แก้- Henderson, Bobby (2006). The Gospel of the Flying Spaghetti Monster. Villard Books. ISBN 0-8129-7656-8.
สื่ออื่นๆ
แก้- Schofield, Jack (20 กันยายน, พ.ศ. 2548). ""Intelligent Design" and Pastafarianism". Guardian Unlimited.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - "Evolution Debate Spawns a Saucy Monster". Wichita Eagle. 28 กันยายน, พ.ศ. 2548. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-11-01. สืบค้นเมื่อ 2006-10-10.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - "In the beginning there was the Flying Spaghetti Monster". Daily Telegraph. 11 กันยายน, พ.ศ. 2548. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-21. สืบค้นเมื่อ 2021-08-18.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - "Flying Spaghetti Monster gains following". Associated Press. 24 กันยายน, พ.ศ. 2548. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-22. สืบค้นเมื่อ 2006-10-10.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)