แอร์ฟอร์ซวัน (อังกฤษ: Air Force One) เป็นรหัสเรียกขานโดยศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Control; ATC) ของอากาศยานของกองทัพอากาศสหรัฐลำใดก็ตามที่กำลังมีประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาโดยสารอยู่ในอากาศยานลำนั้น[1] (ประธานาธิบดีอาจใช้อากาศยานลำอื่นที่ไม่ใช่เครื่องบินประจำตำแหน่งก็ได้ โดยอาจขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน หรือขนาดของรันเวย์สนามบินปลายทาง เป็นต้น) เครื่องบินจะถูกเรียกรหัสเรียกขานว่า แอร์ฟอร์ซวัน ขณะที่มีประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาอยู่บนเครื่องเท่านั้น

แอร์ฟอร์ซวัน

แอร์ฟอร์ซวัน (โบอิง วีซี-25เอ) ขณะบินผ่านภูเขารัชมอร์
ข้อมูลทั่วไป
บทบาทเครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
ชาติกำเนิดสหรัฐอเมริกา
บริษัทผู้ผลิตโบอิง
สถานะในประจำการ
ผู้ใช้งานหลักประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
จำนวนที่ผลิต2 ลำ
ประวัติ
เริ่มใช้งานพ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) (รหัสเรียกขานแอร์ฟอร์ซวัน)
พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) (เครื่องบินประจำตำแหน่งในปัจจุบัน (โบอิง วีซี-25เอ))

อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปชื่อแอร์ฟอร์ซวันมักหมายความถึงเครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีขนาดใหญ่ มีระบบความปลอดภัยขั้นสูง และมีความหรูหรา เป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นถึงความมีอำนาจและตำแหน่งประธานาธิบดี[2] โดยปกติแล้วจะสงวนไว้ใช้กับประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่ก็มีในบางกรณีที่ประธานาธิบดีอาจจะอนุญาตให้รองประธานาธิบดีใช้เครื่องบินนี้ในการเดินทางไปปฏิบัติงานในฐานะรองประธานาธิบดีได้ (ประธานาธิบดีไม่ได้เดินทางไปด้วย)[3]

ประวัติ

แก้

เมื่อทีโอดอร์ รูสเวลต์ ได้ก้าวเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และได้นั่งเครื่องบินเป็นครั้งแรกในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ในเวลานั้นเอง เขาไม่มีห้องทำงานบนเครื่องแต่ วิลเลียม ฮาวเวิร์ด แทฟต์ (William Howard Taft) ได้จัดเตรียมห้องทำงานบนเครื่องตอนที่เขาขึ้นรับตำแหน่ง ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การเดินทางไปไหนมาไหนของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกานั้นมีความสำคัญและมีค่ามากที่สุด ระบบการสื่อสารไร้สายและการขนส่งที่รวดเร็วในระยะทางอันยาวไกลของการเดินทางของประธานาธิบดีนั้นเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ และระบบเหล่านั้นสามารถทำหน้าที่แทน ทำเนียบขาว ได้เมื่อประธานาธิบดีเดินทางไปที่ต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลก

ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนแรกที่ได้โดยสารเครื่องบินซึ่งมีห้องทำงานบนเครื่องด้วยคือ แฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลต์ โดยสายการบิน แพน-แอม (Pan-AM) โบอิง 314

ชื่อเครื่องบินที่ตั้งขึ้นเพื่อตำแหน่งของประธานาธิบดีชื่อแรกคือ ซี-87เอ วีไอพี ทรานสปอร์ต แอร์คราฟ (C-87A VIP transport aircraft) โดยมีเลขทะเบียนเครื่อง คือ 41-24159 และได้เปลี่ยนชื่อใหม่ในปี ค.ศ.1943 เพื่อใช้กับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ชื่อ วีไอพี ทรานสปอร์ต (VIP Transport) และชื่อ เกรสส์ แวร์ ทู (Guess Where II) ได้จัดเตรียมไว้สำหรับ ประธานาธิบดีแฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลต์ ในการเดินทางออกนอกประเทศ อย่างไรก็ตามหลังจากตรวจสอบเรื่องระบบรักษาความปลอดภัย ของเครื่องบิน ซี-87 หน่วยงาน United States Secret Service หรือ (U.S.S.S.) ได้ลงความเห็นว่า เครื่องบินรุ่นดังกล่าวไม่มีความปลอดภัยในการรับส่งประธานาธิบดีอีกต่อไป

หน่วยงาน U.S.S.S. ได้ให้เครื่องบิน ดักลาส ซี-54 สกายมาสเตอร์ (Douglas C-54 Skymaster) เข้ามารับผิดชอบรับส่งประธานาธิบดี โดยเครื่องบินลำนี้มีชื่อเล่นว่า Sacred Cow) ภายในเครื่องบินลำนี้ประกอบด้วย ห้องนอน ,เครื่องรับส่งวิทยุสื่อสาร และพัฒนาสำหรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอมเริกาโดยเฉพาะ เพื่อใช้งานในภารกิจต่าง ๆ

 
เครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ "อินดิเพนเดนซ์" ในสมัยแฮร์รี เอส. ทรูแมน

หลังจากประธานาธิบดีโรสเวลต์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1945 แฮร์รี เอส. ทรูแมน ก็ได้เข้ารับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 33 ของสหรัฐอเมริกา และในปี ค.ศ.1947 เขาได้เปลี่ยนเครื่องจาก ซี-54 เป็น ซี-118 เลิฟท์มาสเตอร์ (C-118 Liftmaster) โดยให้รหัสเรียกขานว่า อินดิเพนเดนซ์ (Independence) โดยตั้งชื่อตามบ้านเกิดของทรูแมน ซึ่งเกิดที่เมืองอินดิเพนเดนซ์ รัฐมิสซูรี (Independence, Missouri) ซึ่งเป็นเครื่องบินลำแรกที่รักษาการแทนเครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดี และได้ลงลายนกอินทรีใหญ่หัวสีขาวซึ่งเป็นนกประจำชาติของอเมริกา บนหัวของเครื่องบินลำนี้ด้วย

ในขณะที่ ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ (Dwight D. Eisenhower) ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ เพื่อความปลอดภัยของตำแหน่งประธานาธิบดีจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่จาก 1953 เป็น 8610 ซึ่งเป็นของสายการบินอีสเทิร์นแอร์ไลน์ (Eastern Air Lines) จึงมีชื่อเรียกเป็น แอร์ฟอร์ซ 8610 (Air Force 8610) และหลังจากนั้นได้ไม่นาน เครื่องบินที่มีประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาโดยสารอยู่นั้นก็ได้เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่เป็น แอร์ฟอร์ซวัน (Air Force One) และชื่อเรียกนี้ก็ใช้กันจนถึงปัจจุบัน

ไอเซนฮาวร์ได้เพิ่มในส่วนของเครื่องยนต์ใบพัด 4 เครื่องให้เครื่องบินรุ่น Lockheed C-121 Constellations และเปลี่ยนชื่อเครื่องบินใหม่เป็น Columbine II และ Columbine III โดยภริยาของไอเซนฮาวร์ ชื่อ Mamie Eisenhower ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ได้เพิ่มเทคโนโลยีใหม่ ๆ ลงในเครื่องบิน เช่น โทรศัพท์ เพื่อใช้ติดต่อกันระหว่างเครื่องบินและภาคพื้น, เครื่องรับส่งโทรเลข เป็นต้น และก่อนที่ไอเซนฮาวร์จะหมดวาระลงในปี 1958 เขายังได้นำเครื่องบิน โบอิง 707 เครื่องยนต์เจ็ตเข้าประจำการเป็น แอร์ฟอร์ซ ด้วยกันถึง 3 ลำ โดยใช้รุ่น วีซี-138เอส และได้รับการแต่งตั้งชื่อเป็น แซม970, แซม971 และแซม 972 (VC-137s designated SAM 970, 971, and 972) ไอเซนฮาวร์ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง และเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนแรกที่ได้ใช้เครื่อง วีซี-137 (VC-137) โดยเที่ยวบิน Flight to Peace ใช้เวลาในการเดินทางนานถึง 19 วัน ในระหว่างวันที่ 3 ธันวาคม ถึง 22 ธันวาคม 1959 และได้ไปเยี่ยมประเทศในภูมิภาคเอเชียนถึง 11 ประเทศ ใช้ระยะทาง 22,000 ไมล์ หรือ 35,000 กิโลเมตร

โบอิง 707

แก้

ตุลาคม 1962 สมัย จอห์น เอฟ. เคนเนดี (John F. Kennedy) ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้จัดซื้อเครื่องบินโบอิง 707 รุ่น C-137 Stratoliner โดยมีรหัสหางเครื่องชื่อ 260000 แม้ว่าเครื่องบินลำนี้ได้ถูกใช้งานไปยังประเทศแคนาดา, ฝรั่งเศส, ออสเตรีย, และอังกฤษ เท่านั้น

แอร์ฟอร์ซวันออกแบบมาพิเศษสำหรับประธานาธิบดี โดยมีชื่อว่า block letters เคนเนดีได้เดินทางบนอากาศยานที่สะดวกสบายพร้อมกับภริยาของเขา Raymond Loewy ซึ่งถูกติดต่อโดย เคนเนดี ได้ช่วยออกแบบ เครื่องแบบของลูกเรือ และ ตกแต่งภายในเครื่องบิน วีซี-137

โบอิง วีซี-25เอ

แก้
 
ห้องทำงานประธานาธิบดี ภายในเครื่อง วีซี-25เอ

ในปี ค.ศ. 1990 สำนักงานเลขานุการประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ได้จัดหาเครื่องบิน โบอิง 747-200บี รหัสที่หางเครื่อง คือ 28000 และ 29000 โดยมีชื่อว่า วีซี-25เอ (VC-25A) และได้เริ่มใช้เป็นเครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 1990 (สมัยประธานาธิบดีจอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช) จนถึงปัจจุบัน

แผนการเปลี่ยนเครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐลำใหม่

แก้

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2015 กองทัพอากาศสหรัฐได้เปิดเผยถึงแผนการเปลี่ยนเครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีลำใหม่เป็นเครื่องบินโบอิง 747-8[4][5] (ซึ่งอาจจะใช้ชื่อว่า โบอิง วีซี-25บี) แทนที่โบอิง วีซี-25เอ ซึ่งมีอายุมากถึง 24 ปีแล้วในขณะนั้น และมีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่สูงมากในแต่ละเที่ยวบิน[6][7] คาดกันว่าเครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีลำใหม่จะสร้างแล้วเสร็จราวปี ค.ศ. 2023 หรือ 2024[7]

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2020 กองทัพอากาศสหรัฐได้เปิดเผยถึงแผนการพัฒนาเครื่องบินความเร็วเหนือเสียง (supersonic aircraft) ที่อาจจะนำมาใช้เป็นเครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐได้ในอนาคต[8][9][10][11]

รหัสเรียกขานอื่นที่ใกล้เคียง

แก้

เช่น

  • Army One รหัสเรียกขานของอากาศยานของกองทัพบกสหรัฐที่มีประธานาธิบดีสหรัฐโดยสารอยู่บนอากาศยานลำนั้น
  • Navy One รหัสเรียกขานของอากาศยานของกองทัพเรือสหรัฐที่มีประธานาธิบดีสหรัฐโดยสาร[1]
  • Marine One รหัสเรียกขานของอากาศยานของเหล่านาวิกโยธินสหรัฐ (United States Marine Corps) ที่มีประธานาธิบดีสหรัฐโดยสาร[12]
  • Coast Guard One รหัสเรียกขานของอากาศยานของหน่วยยามฝั่งสหรัฐ (United States Coast Guard) ที่มีประธานาธิบดีสหรัฐโดยสาร[1]
  • Executive One อาจใช้เป็นรหัสเรียกขานของอากาศยานพลเรือน (เช่น เครื่องบินส่วนตัว, เครื่องบินของสายการบิน) ที่มีประธานาธิบดีสหรัฐโดยสาร[1] หรือเมื่อประธานาธิบดีเพิ่งจะหมดวาระลงแต่ยังมีเหตุให้ต้องโดยสารอากาศยานของกองทัพสหรัฐก็อาจใช้รหัสนี้แทน[13][14][15][16][17][18]
  • Executive One Froxtrot หรือ EXEC1F รหัสเรียกขานอากาศยานที่มีสมาชิกในครอบครัวของประธานาธิบดีสหรัฐ (เช่น สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งสหรัฐ) โดยสาร แต่ไม่มีประธานาธิบดีสหรัฐโดยสารมาด้วย[1][19] ซึ่งบางครั้งอาจเป็นเครื่องบินของกองทัพสหรัฐ[20] หรืออาจใช้รหัสอื่นลงท้ายด้วย Foxtrot เช่น Air Force One Foxtrot สำหรับอากาศยานของกองทัพอากาศสหรัฐ (Foxtrot เป็นการออกเสียงตัวอักษรของการสื่อสารวิทยุของอักษร F ที่ในที่นี้ย่อมาจาก Family)
  • แอร์ฟอร์ซทู (Air Force Two) รหัสเรียกขานอากาศยานของกองทัพอากาศสหรัฐลำที่มีรองประธานาธิบดีสหรัฐโดยสาร แต่ไม่มีประธานาธิบดีสหรัฐโดยสารมาด้วย[21][22] แม้ว่าเครื่องบินลำนั้นเป็นเครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ที่มักถูกเรียกว่าแอร์ฟอร์ซวันก็ตาม ถ้าบนเครื่องบินมีรองประธานาธิบดีสหรัฐโดยสารมา และไม่มีประธานาธิบดีโดยสารมาด้วย เครื่องบินนั้นก็จะถูกเรียกรหัสเรียกขานว่าแอร์ฟอร์ซทูเช่นกัน[3][23] และในกรณีเดียวกันรหัสอื่นข้างต้นซึ่งใช้คำว่า One ก็จะเปลี่ยนเป็นคำว่า Two ด้วยเช่นกัน

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Order 7110.65R (Air Traffic Control)." เก็บถาวร 12 ตุลาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Federal Aviation Administration, 14 March 2007. Retrieved: 27 August 2007.
  2. Walsh, Kenneth T. Air Force One: A History of the Presidents and Their Planes. New York: Hyperion, 2003. ISBN 1-4013-0004-9
  3. 3.0 3.1 "Cheney heads overseas to talk terrorism". USA Today. Associated Press. 10 March 2002. สืบค้นเมื่อ 30 January 2009.
  4. AF Identifies Boeing 747-8 platform for next Air Force One.
  5. Mehta, Aaron. "Boeing Tapped for Air Force One Replacement". Defence News, 28 January 2015
  6. Trimble, Stephen. "US considers Airbus A380 as Air Force One and potentially a C-5 replacement." Flight Global, October 17, 2007. Retrieved: December 6, 2016.
  7. 7.0 7.1 อาคม รวมสุวรรณ (9 ธันวาคม 2559). "ล้วงตับมะกัน ทำไม แอร์ ฟอร์ซ วัน ไม่เจ๋งอย่างที่คิด". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. Pawlyk, Oriana (1 September 2020). "Military Moves Forward with Plan to Make Air Force One Supersonic". Military.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 September 2020.
  9. Niles, Russ (6 September 2020). "Air Force Eying Supersonic Air Force One". AVweb. สืบค้นเมื่อ 15 September 2020.
  10. O'Hare, Maureen (September 7, 2020). "An Air Force One that flies at five times the speed of sound?". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 14, 2020. สืบค้นเมื่อ September 15, 2020.
  11. Cook, Marc (8 September 2020). "Boom Enters Supersonic Air Force One Race". AVweb. สืบค้นเมื่อ 15 September 2020.
  12. "HMX-1 Executive Flight Detachment". United States Marine Corps. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2010. สืบค้นเมื่อ 22 June 2010.
  13. "Bush's last day: Calls, candy and a flight to Midland". CNN. 2009-01-20. สืบค้นเมื่อ 2009-01-23.
  14. Dunham, Richard S. (2009-01-21). "Bush's final day uncharacteristically emotional". Houston Chronicle. Chron.com. สืบค้นเมื่อ 2009-01-25.
  15. Capehart, Jonathon (2009-01-20). "So Long..." Post Partisan. Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2009-01-25.
  16. Baker, Anne (2009-01-22). "Bush leaves infamous term behind". The Appalachian. Appalachian State University. สืบค้นเมื่อ 2009-01-25.
  17. Miles, Donna (2009-01-20). "Troops bid former President Bush farewell at Andrews". American Forces Press Service. Air Force Link (Official Website of the Air Force). สืบค้นเมื่อ 2009-01-25.
  18. https://www.theguardian.com/us-news/2017/jan/20/barack-obama-departs-white-house
  19. Bumiller, Elisabeth (1999-12-03). "Airport Delay Creates a Campaign Dispute". New York Times. The New York Times Company. pp. B3. สืบค้นเมื่อ 2009-05-31.
  20. "Trump postpones Pelosi's overseas trip because of shutdown". www.cnbc.com. 17 January 2019. สืบค้นเมื่อ 18 January 2019.
  21. "Factsheets: C-32". Air Force Link. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 August 2008. สืบค้นเมื่อ 30 January 2009.
  22. "Order 7110.65R (Air Traffic Control) §2-4-20 ¶7". Federal Aviation Administration. 14 March 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2009. สืบค้นเมื่อ 27 August 2007.
  23. Whitelaw, Kevin (11 March 2002). "Reporter's Notebook on Cheney's Mideast trip: Day 1: London". US News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2009. สืบค้นเมื่อ 30 January 2009.