ปาลู (อินโดนีเซีย: Palu) เป็นนครแห่งหนึ่งบนเกาะซูลาเวซีและเมืองหลักของจังหวัดซูลาเวซีกลาง ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ห่างจากกรุงจาการ์ตาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 1,650 กิโลเมตร (1,030 ไมล์) ที่ปากน้ำปาลูบริเวณอ่าวแคบและยาวแห่งหนึ่ง เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งอยู่ระหว่างสันเขา เมืองนี้จึงมีภูมิอากาศแห้งผิดปกติ จากสำมะโน ค.ศ. 2010 ปาลูมีประชากรประมาณ 336,300 คน (ไม่รวมผู้ที่อาศัยอยู่ในอำเภอข้างเคียง)[2]

ปาลู
ตามเข็มนาฬิกาจากบน:
ปาลูในเวลากลางคืน, ฆ้องสันติภาพปาลู นูซันตารา, อนุสาวรีย์สันติภาพโนซารารา โนซาบาตูตู, ทางยกระดับปาลนโตอัน และมัสยิดลอยปาลู
ตราราชการของปาลู
ตราอาร์ม
คำขวัญ: 
Maliu Ntuvu
แผนที่
แผนที่แบบโต้ตอบของปาลู
ปาลูตั้งอยู่ในเกาะซูลาเวซี
ปาลู
ปาลู
ปาลูตั้งอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย
ปาลู
ปาลู
ปาลู (ประเทศอินโดนีเซีย)
พิกัด: 0°53′42″S 119°51′34″E / 0.89500°S 119.85944°E / -0.89500; 119.85944
ประเทศ อินโดนีเซีย
จังหวัด จังหวัดซูลาเวซีกลาง
ระบบเทศบาล1 กรกฎาคม ค.ศ. 1978
สถานะนคร22 กรกฎาคม ค.ศ. 1994
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีฮาเดียนโต ราชิด
 • รองนายกเทศมนตรีเรนี อา. ลามาจีโด
พื้นที่
 • ทั้งหมด395.06 ตร.กม. (152.53 ตร.ไมล์)
ความสูง118 เมตร (387 ฟุต)
ประชากร
 (ประมาณกลาง ค.ศ. 2022)
 • ทั้งหมด381,572 คน
 • ความหนาแน่น970 คน/ตร.กม. (2,500 คน/ตร.ไมล์)
 [1]
เขตเวลาUTC+8 (เวลาอินโดนีเซียกลาง)
รหัสพื้นที่(+62) 451
เอชดีไอ (2022)เพิ่มขึ้น 0.820 (สูงมาก)
เว็บไซต์www.palukota.go.id

ในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2018 เมืองได้รับความเสียหายอย่างหนักจากแผ่นดินไหวและสึนามิ[3] ทำให้โครงสร้างพื้นฐานส่วนใหญ่ของนครถูกทำลาย และพื้นที่ขนาดใหญ่กลายเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยไม่ได้[4] กระตุ้นให้รัฐบาลท้องถิ่นวางแผนย้ายนครไปยังบริเวณที่ปลอดภัยกว่า แทนที่จะสร้างใหม่ในสถานที่เดิม[5]

ประวัติ

แก้

ปาลูได้รับการสถาปนาเป็นเมืองเกษตรกรรมและมีความสำคัญน้องกว่าเมืองใหญ่ดงกาลาที่ห่างจากปาลูประมาณ 35 กิโลเมตร (22 ไมล์)[6] ตัวเมืองไดสถาปนาโดยผู้คนจากหมู่บ้านบางแห่งรอบเขาอูลาโยเป็นผู้เข้าตั้งถิ่นฐานในปาลู ต้นกำเนิดของชื่อนครมีหลายแบบ โดยรายงาหนนึ่งระบุว่ามาจากศัพท์ โตปาลูเออ (topalu'e) ซึ่งหมายถึง "พื้นดินยกขึ้น" ส่วนอีกฉบับระบุว่ามาจากคำว่า โวโล (volo)" ซึ่งเป็นชื่อต้นไผ่ในภาษาท้องถิ่น[7]

ภูมิศาสตร์

แก้

นครปาลูตั้งอยู่ในแอ่งปาลู ใกล้อ่าวปาลู และตั้งอยู่บนรอยเลื่อนปาลู-โกโร

รอยเลื่อนปาลู-โกโรเลื่อนผ่านอ่าวปาลูประมาณ 300 km (190 mi) ผ่าตัวนครตรงกลาง และเชื่อมเข้ากับเขตมุดตัวในซูลาเวซีเหนือ ตะกอนที่ค่อนข้างอ่อนจำนวนมากข้างใต้นครเป็นสาเหตุหนึ่งของแผ่นดินเหลวขนาดใหญ่และแลนด์สไลด์ที่เกิดขึ้นในช่วงแผ่นดินไหวใน ค.ศ. 2018 ดินข้างใต้นครยังไม่แข็งแรงเพียงพอ[8] [9]

ภูมิอากาศ

แก้

ปาลูมีสภาพภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น (เคิพเพิน Af) แม้ว่าจะมีสภาพค่อนข้างแห้งเนื่องจากเป็นพื้นที่อับฝนที่มีเทือกเขาล้อมรอบ[10]

ข้อมูลภูมิอากาศของปาลู
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 38
(100)
37
(99)
37
(99)
37
(99)
35
(95)
37
(99)
37
(99)
37
(99)
38
(100)
37
(99)
37
(99)
38
(100)
38
(100)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 30.3
(86.5)
30.5
(86.9)
30.7
(87.3)
30.8
(87.4)
31.1
(88)
30.2
(86.4)
29.4
(84.9)
30.8
(87.4)
30.9
(87.6)
32.1
(89.8)
31.3
(88.3)
30.8
(87.4)
30.74
(87.34)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 26.6
(79.9)
26.7
(80.1)
26.9
(80.4)
26.9
(80.4)
27.4
(81.3)
26.6
(79.9)
25.7
(78.3)
26.8
(80.2)
26.7
(80.1)
27.7
(81.9)
27.2
(81)
27.0
(80.6)
26.85
(80.33)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 22.9
(73.2)
23.0
(73.4)
23.1
(73.6)
23.1
(73.6)
23.8
(74.8)
23.1
(73.6)
22.0
(71.6)
22.8
(73)
22.5
(72.5)
23.3
(73.9)
23.1
(73.6)
23.2
(73.8)
22.99
(73.39)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 22
(72)
21
(70)
18
(64)
20
(68)
21
(70)
21
(70)
21
(70)
20
(68)
20
(68)
17
(63)
21
(70)
21
(70)
17
(63)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 101
(3.98)
88
(3.46)
90
(3.54)
102
(4.02)
130
(5.12)
157
(6.18)
158
(6.22)
147
(5.79)
164
(6.46)
109
(4.29)
110
(4.33)
76
(2.99)
1,432
(56.38)
ความชื้นร้อยละ 75 76.5 75.5 76 75.5 76.5 77 74 74.5 73 73 74.5 75
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 7 8 9 9 10 12 11 9 8 7 9 7 106
แหล่งที่มา 1: weatherbase[11]
แหล่งที่มา 2: climate-data[10]

การปกครอง

แก้

เขตบริหาร

แก้

ในช่วงที่มีการจัดทำสำมะโนอินโดนีเซีย ค.ศ. 2010 ปาลูแบ่งออกเป็น 4 อำเภอ ต่อมาใน ค.ศ. 2011 มีการจัดเขตบริหารใหม่ออกเป็น 8 อำเภอ ตารางข้างล่างนี้รวมข้อมูลพื้นที่และประชากรตามสำมะโน ค.ศ. 2010[12] และสำมะโน ค.ศ. 2020[13] ร่วมกับจำนวนประมาณการอย่างเป็นทางการในช่วงกลาง ค.ศ. 2022[14] ตารางนี้ยังมีจำนวนหมู่บ้านในแต่ละอำเภอ

รหัส ชื่ออำเภอ
(เกอเจอมาตัน)
พื้นที่ใน ตร.กม. ประชากร
ในสำมะโน
2010
ประชากร
ในสำมะโน
2020
ประชากร
ประมาณกลาง
2022
จำนวน
หมู่บ้าน
(เกอลูราฮัน)
72.71.02 ปาลูบารัต (ปาลูตะวันตก) 8.28 98,739 46,435 46,737 6
72.71.06 ตาตางา 14.95 [a] 52,580 54,066 6
72.71.05 อูลูจาดี 40.25 [a] 35,055 36,088 6
72.71.03 ปาลูเซอลาตัน (ปาลูใต้) 27.38 122,752 72,059 73,426 5
72.71.01 ปาลูตีมูร์ (ปาลูตะวันออก) 7.71 75,967 43,318 43,643 5
72.71.08 มันตีกูโลเรอ 206.80 [a] 76,745 79,312 8
72.71.04 ปาลูอูตารา (ปาลูเหนือ) 29.94 39,074 24,458 25,021 5
72.71.07 ตาวาเออลี 59.75 [a] 22,568 23,279 5
รวม 395.06 336,532 373,218 381,572 46

หมายเหตุ

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ประชากรในอำเภอใหม่ที่แยกใน ค.ศ. 2011 รวมเข้าในจำนวนประชากรใน ค.ศ. 2010

อ้างอิง

แก้
  1. Badan Pusat Statistik, Jakarta, 2023.
  2. "HASIL SENSUS PENDUDUK 2010 SULAWESI TENGAH". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2011. สืบค้นเมื่อ 8 December 2010.
  3. "Large numbers of casualties in Indonesian city due to tsunami". MSN. Reuters. 29 September 2018. สืบค้นเมื่อ 29 September 2018.
  4. "Likuifaksi Palu Terbesar di Dunia" (ภาษาอินโดนีเซีย). 2018-10-12. สืบค้นเมื่อ 2022-06-08.
  5. "Dipindahkan, Ini Tiga Alternatif Lokasi Kota Palu Baru" (ภาษาอินโดนีเซีย). 2018-10-16. สืบค้นเมื่อ 2022-06-08.
  6. Mamar, Sulaiman (1984–1985). Sejarah sosial daerah Sulawesi Tengah (wajah kota Donggala dan Palu). Departemen Pendidikan dan Kebudayaan, Direktorat Sejarah dan Nilai Tradisional, Proyek Inventarisasi dan Dokumentasi Sejarah Nasional. OCLC 15864232.
  7. Putong, Ady (2018-10-02). "Kota Palu Dan Misteri Topalu'e yang Berarti Tanah Terangkat". Barta1.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2022-05-07.
  8. "Investigasi_Awal_LongsorLikuifaksi_Geotechnical_Extreme_Events_Reconnaissance_Akibat_Gempa_Palu" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-11-11. สืบค้นเมื่อ 2024-02-10.
  9. Jalil, Abdul; Fathani, Teuku Faisal; Satyarno, Iman; Wilopo, Wahyu (2021-08-24). "Liquefaction in Palu: the cause of massive mudflows". Geoenvironmental Disasters. 8 (1): 21. Bibcode:2021GeoDi...8...21J. doi:10.1186/s40677-021-00194-y. ISSN 2197-8670. S2CID 237272220.
  10. 10.0 10.1 "CLIMATE TABLE // HISTORICAL WEATHER DATA". climate-data.org. สืบค้นเมื่อ 15 July 2017.
  11. "PALU, INDONESIA". weatherbase.com. สืบค้นเมื่อ 15 July 2017.
  12. Biro Pusat Statistik, Jakarta, 2011.
  13. Badan Pusat Statistik, Jakarta, 2021.
  14. Badan Pusat Statistik, Jakarta, 2023.

ข้อมูล

แก้

Kahin, George McTurnan (1952). Nationalism and Revolution in Indonesia. Ithaca, N.Y.: Cornell University Press. ISBN 0-8014-9108-8.