ปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น

ปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น เป็นช่วงเวลาการเติบโตอย่างรวดเร็วทางเศรษฐกิจในญี่ปุ่น เกิดขึ้นหลังยุคสงครามโลกครั้งที่สองไปจนถึงสงครามเย็น ในช่วงที่เศรษฐกิจเฟื่องฟู ประเทศญี่ปุ่น กลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลกอย่างรวดเร็ว (รองจากสหรัฐอเมริกา) ในช่วงทศวรรษ 1990 อัตราประชากรของญี่ปุ่นเริ่มลดลง จำนวนวัยทำงานไม่ได้ขยายตัวเร็วเท่ากับในทศวรรษก่อน ๆ แม้ว่าประสิทธิภาพการทำงานของวัยทำงานยังคงอยู่ในระดับสูงก็ตาม

อุตสาหกรรมการบินที่รอดพ้นจากสงคราม
อุตสาหกรรมโทรทัศน์ถูกผลิตในญี่ปุ่นในช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟู
อุตสาหกรรมถ่านหินและโลหะของญี่ปุ่นมีอัตราการเติบโต 25% ต่อปีในทศวรรษ 1960 ซึ่งมีโรงงานเหล็กของนิปปอนสตีลเป็นโรงงานที่โดดเด่นมากที่สุด
ยานยนต์นิสสัน ซันนี่กลายเป็นสัญลักษณ์ของชนชั้นกลางของญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษ 1960

ปูมหลัง แก้

ปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง รวมถึงประเทศเยอรมนีตะวันตกซึ่งได้รับผลประโยชน์จากสงครามเย็น อันเนื่องมาจากรัฐบาลอเมริกันดำเนินการปฏิรูปสังคมญี่ปุ่นในช่วงการยึดครองญี่ปุ่น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ และพลเมือง [1][2] ส่วนใหญ่เกิดมาจากจากการแทรกแซงทางเศรษฐกิจของรัฐบาลญี่ปุ่นและความช่วยเหลือของสหรัฐฯในการช่วยเหลือเอเชียหลังสงคราม[3] เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง สหรัฐได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในญี่ปุ่นเพื่อชะลอการขยายอิทธิพลของสหภาพโซเวียตในมหาสมุทรแปซิฟิก สหรัฐฯ ยังกังวลเกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นด้วย เนื่องจากหากประชากรญี่ปุ่นเกิดความทุกข์ยากก็จะหันไปพึ่งลัทธิคอมมิวนิสต์เช่นนี้จะทำให้โซเวียตมีอิทธิพลเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก [1]

ลักษณะเด่นของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วง "ปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจ" ได้แก่ ความร่วมมือของผู้ผลิต ผู้จัดส่ง ผู้จัดจำหน่าย และธนาคารเป็นกลุ่มใกล้ชิดกันเรียกว่า "เคเรตสึ" รวมถึงสหภาพแรงงานที่มีอำนาจ ความสัมพันธ์อันดีกับข้าราชการ และหลักประกันการจ้างงานตลอดชีวิต ในองค์กรขนาดใหญ่และโรงงานที่มีสหภาพแรงงานสูง

นักวิชาการบางคนแย้งว่าการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของญี่ปุ่นหลังสงครามจะเกิดเป็นไปไม่ได้หากญี่ปุ่นไม่ได้เป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสหรัฐฯ คอยดูดซับการส่งออกของญี่ปุ่น ยอมรับแนวทางปฏิบัติทางการค้าของญี่ปุ่น ให้เงินอุดหนุนเศรษฐกิจญี่ปุ่น และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบริษัทญี่ปุ่น จึงเป็นการขยายประสิทธิผลของนโยบายการค้าของญี่ปุ่น [4]

เงินสนับสนุนจากรัฐบาล แก้

แม้ว่าดักลาส แมกอาเธอร์จะจากไปแล้วบวกกับความเจริญทางเศรษฐกิจที่เกิดจากสงครามเกาหลีก็ลดลง แต่การฟื้นตัวทางการเงินของญี่ปุ่นยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง เวลานั้น เศรษฐกิจญี่ปุ่นรอดพ้นจากภาวะถดถอยรุนแรงเนื่องมาจากการสนับสนุนของสหรัฐฯ สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างทางทหาร ในช่วงปลายทศวรรษ 1960 ญี่ปุ่นฟื้นตัวจากเถ้าธุลีของสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วอย่างน่าประหลาดใจ ดั่งคำกล่าวของมิกิโซะ ฮาเนะศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ วิทยาลัยน็อกซ์ กล่าวว่าช่วงเวลาปลายทศวรรษ 1960 ถือเป็น "ปีแห่งความเจริญรุ่งเรืองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ญี่ปุ่นเคยเห็นมานับตั้งแต่อามาเตราซุผนึกตัวเองอยู่หลังประตูหิน" รัฐบาลญี่ปุ่นเองก็มีส่วนทำให้เกิดปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นหลังสงครามโดยการกระตุ้นการเติบโตของภาคเอกชน มีการสร้างกฎระเบียบที่จัดการวิกฤตเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และต่อมาโดยมุ่งเน้นไปที่การขยายการค้า [5]

ประวัติศาสตร์ แก้

ภาพรวม แก้

ปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น หมายถึงช่วงเวลาการเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งสองจนถึงทศวรรษ 1990 การเติบโตอย่างรวดเร็วในครั้งนี้สามารถแบ่งออกเป็นสี่ระยะ ได้แก่ ระยะการฟื้นตัว (ค.ศ. 1946–1954) ระยะการเติบโตอย่างรวดเร็ว (ค.ศ. 1955–1972) ระยะการเติมโตคงที่ (ค.ศ. 1972–1992) และระยะภาวะเศรษฐกิจถดถอย (ค.ศ. 1992–2017) [6]

แม้ว่าญี่ปุ่นจะได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมะและนางาซากิและถูกฝ่ายสัมพันธมิตรปูพรมทิ้งระเบิดจำนวนมหาศาล แต่ญี่ปุ่นก็สามารถฟื้นตัวจากบาดแผลทางจิตใจในสงครามโลกครั้งที่สองกลายเป็นประเทศที่เศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก (รองจากสหรัฐอเมริกาและ สหภาพโซเวียต) ในคริสต์ทศวรรษ 1960[7] แต่ต่อมาญี่ปุ่นก็ประสบกับสิ่งที่เรียกว่า "การชะงักทางเศรษฐกิจ" เนื่องจากค่าเงินเยนของญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้น ญี่ปุ่นมีความพยายามโดยการปรุงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเพิ่มมูลค่าของเงินเยน เพราะการปล่อยให้เงินเยนอ่อนค่าอาจส่งผลเสียต่อการค้า[8] แต่แล้วในช่วงทศวรรษ 1980 เงินเยนแข็งค่าขึ้นทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ เพื่อบรรเทาอิทธิพลของภาวะเศรษฐกิจถดถอย ญี่ปุ่นได้กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจและการเงินเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ แต่ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1980 และต้นทศวรรษ 1990 รวมถึงนโยบายเงินฝืดของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ทำลายเศรษฐกิจญี่ปุ่นจนเกิดเป็นทศวรรษที่สาบสูญถึงปัจจุบัน

ช่วงการฟื้นตัว (ค.ศ. 1946–1954) แก้

เศรษฐกิจญี่ปุ่นเกิดความตกต่ำหลังอย่างมากหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ตัวอย่าง เช่น อุตสาหกรรมฝ้ายของญี่ปุ่นปิดตัวลง สองในสามของฝ้ายที่ผลิตขึ้นก่อนสงครามถูกทิ้ง รวมไปถึงการถูกทิ้งระเบิดและการถูกทำลายล้างเขตเมืองโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้เปอร์เซ็นต์การปั่นด้ายลดลง 20 แห่ง ส่งผลให้ความสามารถในการทอเหลือเพียง 14 เปอร์เซ็นต์ [9] ที่เลวร้ายกว่านั้นคือในปี 1946 ญี่ปุ่นเกือบจะเกิดภาวะอดอยากทั่วประเทศ ซึ่งสามารถบรรเทาได้ด้วยการขนส่งอาหารมาสนับสนุนของอเมริกาเท่านั้น [10] บวกกับภัยคุกคามทางทหารจากสหภาพโซเวียต ทำให้สหรัฐฯ ต้องดำเนินการสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจญี่ปุ่นจในวงกว้าง ในช่วงหลังสงครามแทบทุกประเทศประสบกับปัญหาการเติบโตของอุตสาหกรรม แต่ญี่ปุ่น เยอรมนีตะวันตก และอิตาลี กลับประสบความสำเร็จในการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วที่สุด ในกรณีของญี่ปุ่นการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงมากในปี ค.ศ. 1946 เหลือ 27.6% ของระดับก่อนสงคราม แต่ฟื้นตัวในปี 1951 และเพิ่มขึ้นเป็น 350% ในปี ค.ศ. 1960 [11]

หลังจากการยึดครองญี่ปุ่นยุติลง สหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในพลิกญี่ปุ่นกลับเข้าสู่เศรษฐกิจโลก และสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจขึ้นมาใหม่ เพราะเหตุนี้ต่อมาเป็นจุดเริ่มต้นปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น [2]

อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ญี่ปุ่นฟื้นตัวอย่างรวดเร็วก็คือการปฏิรูปเศรษฐกิจที่ประสบความสำเร็จจากภาครัฐบาล หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับนโยบายด้านอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นเป็นหลักคือกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม [12] การปฏิรูปเศรษฐกิจที่สำคัญประการหนึ่งคือการนำต้นแบบ "นโยบายการผลิตแบบเอนเอียง" (傾斜生産方式, keisha seisan hoshiki ) มาใช้ นโยบายนี้หมายถึงการผลิตที่เน้นเอียงไปที่การผลิตวัตถุดิบเป็นหลัก เช่น เหล็ก ถ่านหิน และฝ้าย [13] เพื่อกระตุ้นการเติบโตในภาคแรงงาน รัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนให้ผู้หญิงเข้าสู่ตลาดแรงงาน เพื่อมาทำงานร่วมกับผู้ชายในกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานมีองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่ ข้อจำกัดในการสรรหาและย้ายคนงานในระดับภูมิภาค ห้ามการจัดหาโดยตรงกับผู้ที่พึ่งจบการศึกษาจากโรงเรียนใหม่ และการรับสมัครโดยตรงกับผู้ที่พึ่งจบการศึกษาจากโรงเรียนโดยไม่ได้จบการศึกษาจากโรงเรียนภายใต้กฎระเบียบที่ออกโดยกระทรวงแรงงาน [2]

อีกเหตุผลที่ญี่ปุ่นฟื้นตัวอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจากสงครามเกาหลี เพราะว่าสหรัฐได้เข้ามาช่วยเกาหลีใต้รบ สหรัฐฯ หันไปพึ่งเศรษฐกิจญี่ปุ่นในการจัดซื้ออุปกรณ์และเสบียง เพราะในเวลานั้นการขนส่งทางเรือจากแผ่นดินใหญ่สหรัฐฯเป็นปัญหาสำคัญของกองทัพ เพราะเหตุนี้อุตสาหกรรมของญี่ปุ่นก็จัดหาอาวุธและการขนส่งที่จำเป็นแก่กองกำลังอเมริกันที่กำลังทำสงครามในเกาหลี จากความต้องการทั้งหลายนำไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นทำให้สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วจากการโจมตีทางอากาศที่ญี่ปุ่น

ช่วงเศรษฐกิจฟูฟ่อง (ค.ศ. 1954–1972) แก้

หลังจากญี่ปุ่นได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา และปฏิรูปเศรษฐกิจภายในประเทศสำเร็จ เศรษฐกิจของญี่ปุ่นก็ทะยานได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ทศวรรษ 1950 ถึง 1970 ญี่ปุ่นยังดำเนินการเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมจนสำเร็จส่งผลให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วแห่งแรกในเอเชียตะวันออก จากรายงานประจำปีเกี่ยวกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 1967 - 1971 มีการเติบโตอย่างสำคัญ เศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 1966 มีการเติบโตได้เร็วกว่าที่คาดไว้ [14] กระทั้งปี 1968 เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องหลังจากที่เคยร่วงลงไปต่ำสุดในในฤดูใบไม้ร่วงปี 1965 [15] ลักษณะสำคัญในยุคนี้ก็คืออิทธิพลของนโยบายรัฐบาลฮายาโตะ อิเคดะที่เน้นการบริโภค และการส่งออกจำนวนมาก

ช่วงเศรษฐกิจดันตัวต่อเนื่อง (ค.ศ. 1973–1992) แก้

ในปี 1973 เศรษฐกิจญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันครั้งแรก ในตอนนั้นราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นจาก 3 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็น13 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นลดลง 20% เนื่องจากกำลังการผลิตไม่สามารถตอบสนองความต้องการอุปสงค์ที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วได้ จากที่ต้องลงทุนเพิ่มขึ้นจากปัญหาน้ำมันแพงก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น เส้นอุปทานที่ตึงตัวและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น[16] ่อมาวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่สองปี 1979 ทำให้สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมจาก 13 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็น 39.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ถึงแม้ญี่ปุ่นจะได้รับผลกระทบร้ายแรงจากวิกฤตการณ์น้ำมันทั้ง 2 ครั้ง แต่ในที่สุดญี่ปุ่นก็สามารถอดทนต่อเหตุการณ์ดังกล่าวและเปลี่ยนการผลิตจากที่มุ่งเน้นเพียงผลิตภัณฑ์ไปสู่รูปแบบการผลิตที่มุ่งเน้นเทคโนโลยีได้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Political and Economic Changes during the American Occupation of Japan". Columbia University.
  2. 2.0 2.1 2.2 Orr, Robert (2004). Winning the Peace: An American Strategy for Post-Conflict Reconstruction. Washington D.C.: The CSIS Press. p. 183. ISBN 9780892064441.
  3. Nakamura, Takafusa (1981). "3: Rapid Growth". The Postwar Japanese Economy: Its Development and Structure (book). แปลโดย Jacqueline Kaninski. Tokyo: University of Tokyo Press. p. 56.
  4. Michael Beckley; Yusaku Horiuchi; Jennifer M. Miller (2018). "America's Role in the Making of Japan's Economic Miracle". Journal of East Asian Studies. 18 (1): 1–21. doi:10.1017/jea.2017.24.
  5. Hane, Mikiso. Eastern Phoenix: Japan Since 1945. Boulder: Westview Press, 1996.
  6. Liu, Haoyuan. "日德战后经济奇迹(Japanese and Germany Postwar Economic Miracle)". Finance World.
  7. "Ranking of the World's Richest Countries by GDP (1967) – Classora Knowledge Base". en.classora.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2020. สืบค้นเมื่อ 2017-12-08.
  8. Nanto, Dick Kazuyuki (1976). The United States' role in the postwar economic recovery of Japan. Massachusetts: Harvard University Press. p. 258.
  9. Macnaughtan, Helen (2005). Women, work and the Japanese economic miracle: the case of the cotton textile industry, 1945–1975. New York: RoutledgeCurzon. p. 11. ISBN 0415328055.
  10. Aldous, Chris (2010). "Contesting Famine: Hunger and Nutrition in Occupied Japan, 1945-1952". Journal of American-East Asian Relations. 17 (3): 230–256. doi:10.1163/187656110X548639 – โดยทาง Brill.com.
  11. Ichiro, Nakayama (1964). Industrialization of Japan. Tokyo. p. 7.
  12. Organisation for Economic Co-operation and Development (1972). The industrial policy of Japan. Paris. p. 45.
  13. Seymour, Broadbridge (1966). Industrial dualism in Japan : a problem of economic growth and structural change. Chicago: Alpine Publication Corporation. p. 39.
  14. The Oriental Economist (1967). Japan Economic Year Book. p. 23.
  15. The Oriental Economist (1968). Japanese Economic Year Book. p. 19.
  16. Business Intercommunications Inc. (1973). White Papers on Japanese Economy, 1973. p. 16.