ปวดประจำเดือน
อาการปวดประจำเดือน หรือ ปวดระดู คืออาการปวดที่มีขึ้นขณะที่สตรีกำลังมีประจำเดือน[1][2] ส่วนใหญ่มักเริ่มเป็นในวันแรกของการมีประจำเดือน[1] และมักเป็นอยู่ไม่เกิน 3 วัน[1] อาการปวดมักเป็นอยูที่ท้องน้อยหรืออุ้งเชิงกราน[1] อาการอื่นที่พบร่วมด้วยเช่น ปวดหลัง คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น[1]
ปวดประจำเดือน (Dysmenorrhea) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Dysmenorrhoea, painful periods, menstrual cramps |
สาขาวิชา | นรีเวชวิทยา |
อาการ | Pain during menstruation, diarrhea, nausea[1][2] |
การตั้งต้น | Within a year of the first menstrual period[1] |
ระยะดำเนินโรค | Less than 3 days (primary dysmenorrhea)[1] |
สาเหตุ | No underlying problem, uterine fibroids, adenomyosis, endometriosis[3] |
วิธีวินิจฉัย | Pelvic exam, ultrasound[1] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | Ectopic pregnancy, pelvic inflammatory disease, interstitial cystitis, chronic pelvic pain[1] |
การรักษา | Heating pad, medication[3] |
ยา | NSAIDs such as ibuprofen, hormonal birth control, IUD with progestogen[1][3] |
พยากรณ์โรค | Often improves with age[2] |
ความชุก | 20–90% (women of reproductive age)[1] |
สตรีอายุน้อยอาจมีอาการปวดประจำเดือนได้โดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคหรือพยาธิสภาพ[3][4] แต่ในสตรีสูงอายุมักพบว่าเกิดจากโรค เช่น เนื้องอกมดลูก อะดีโนไมโอซิส หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่[3] ในคนที่มีประจำเดือนมามาก มาไม่สม่ำเสมอ มีประจำเดือนครั้งแรกเร็ว (ก่อน 12 ปี) หรือมีน้ำหนักตัวน้อย จะพบได้บ่อยกว่าคนทั่วไป[1] การตรวจภายในและการตรวจอุลตร้าซาวด์จะมีส่วนช่วยอย่างมากในการวินิจฉัย[1] ภาวะที่จะต้องนึกถึงและตรวจให้แน่ใจว่าไม่เป็นได้แก่ การท้องนอกมดลูก การอักเสบของอุ้งเชิงกราน กระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง และโรคปวดอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง[1]
คนที่ออกกำลังกายเป็นประจำและคนที่เคยมีบุตรจะมีโอกาสมีอาการปวดประจำเดือนน้อยกว่าคนทั่วไป[1] การรักษาอาจทำได้โดยการประคบอุ่น[3] ยาที่ช่วยได้คือยาในกลุ่มยาแก้อักเสบแบบไม่ใช่สเตียรอยด์ (เช่น ไอบูโปรเฟน) ยาคุมกำเนิด และห่วงคุมกำเนิดแบบปล่อยฮอร์โมน[1][3] การกินวิตามินบีหนึ่งและแมกนีเซียมเสริมอาจช่วยได้[2] ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่าการทำโยคะ การฝังเข็ม และการนวด จะช่วยได้[1] ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดหากมีโรคบางชนิดร่วมด้วย[2]
สัดส่วนของสตรีที่มีอาการปวดประจำเดือนแตกต่างกันไปตามแต่ละงานวิจัย โดยมีอยู่ตั้งแต่ 20-90%[1][4] ถือเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือนที่พบบ่อยที่สุด[2] ส่วนใหญ่มักเริ่มเป็นภายในหนึ่งปีหลังเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก[1] ในกรณีที่ไม่มีโรคเป็นสาเหตุ อาการปวดมักดีขึ้นเมื่อโตขึ้นหรือเมื่อมีบุตร[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 Osayande AS, Mehulic S (March 2014). "Diagnosis and initial management of dysmenorrhea". American Family Physician. 89 (5): 341–6. PMID 24695505.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 American College of Obstetricians and Gynecologists (Jan 2015). "FAQ046 Dynsmenorrhea: Painful Periods" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2015. สืบค้นเมื่อ 26 June 2015.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 "Menstruation and the menstrual cycle fact sheet". Office of Women's Health. December 23, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 June 2015. สืบค้นเมื่อ 25 June 2015.
- ↑ 4.0 4.1 "Dysmenorrhea and Endometriosis in the Adolescent". ACOG. American College of Obstetricians and Gynecologists. 20 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-22. สืบค้นเมื่อ 21 November 2018.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |