ปลาคิเมียรา
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ตั้งแต่ยุคดีโวเนียน-ปัจจุบัน[1] [1]
Hydrolagus colliei
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
Families

Callorhinchidae
Chimaeridae
Rhinochimaeridae

ปลาคิเมียรา [1] (อังกฤษ: Chimaera) หรือมีอีกชื่อที่เป็นที่รู้จักคือ ฉลามผี เป็นปลากระดูกอ่อนในลำดับ Chimaeriformes ปลาคิเมียรานั้นเป็นญาติห่าง ๆ ของปลาฉลามเนื่องจากการวิวัฒนการของพวกมันนั้นแยกตัวออกมาจากฉลามตั้งแต่ 400 ล้านปีที่แล้ว[2]ในปัจจุบันนี้สามารถพบได้ตามทะเลลึก[3]

ลักษณะและอุปนิสัย

แก้
 
ถุงหุ้มไข่ของปลาคิเมียรา
 
ปลาคิเมียราที่อยู่บริเวณน้ำลึกถูกจับภาพได้โดยNOAAS Okeanos Explorerซึ่งจากภาพสามารถถ่ายเซลล์บริเวณจมูกซึ่งเป็นเซลล์รับประสาทสัมผัสทางไฟฟ้า

ปลาคิเมียราอาศัยอยู่ในทะเลลึกโดยอยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 2,600 เมตร ยกเว้นสกุล Callorhinchus ที่จะอาศัยอยู่บริเวณน้ำลึก 200 เมตร จึงทำให้พวกมันสามารถถูกจับมาแสดงโชว์ที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ[4]

พวกมันมีลำตัวยาวและมีหัวขนาดใหญ่และมีช่องปิดเหงือกช่องเดียวเมื่อโดเต็มวัยอาจมีความยาวถึง 150 ซ.ม.[5]พวกมันเป็นปลากระดูกอ่อนมีผิวหนังที่เรียบเนียนมีสีน้ำตาลถึงเทาและมีครีบหลังเป็นกระดูกอ่อน

พวกมันมีลักษณะบางประการคล้ายปลาฉลามเช่นการปฏิสนธิภายในของเพศเมีย, การวางไข่แบบมีถุงหุ้มไข่และยังมีการใช้ประสาทสัมผัสทางไฟฟ้าในการหาเหยื่อเหมือนกัน[6]

ถึงจะมีลักษณะคล้ายปลาฉลามแต่มันมีสิ่งทีแตกต่างและแปลงออกไปคือปลาคิเมียราเพศผู้นั้นจะมีอวัยวะสืบพันธุ์ที่สามารถยืดหดได้อยู่บนหน้าผาก[7] และมีครีบเอว[5]

และยังมีสิ่งที่แตกต่างจากฉลามอีกเช่นขากรรไกรรวมกับกระโหลกศีรษะ, มีการแยกกันระหว่างทวารหนักและอวัยวะเพศ, ไม่มีฟันที่แหลมคมและมีแผ่นปิดเหงือกเหมือนปลากระดูกแข็ง[5]

การจัดหมวดหมู่

แก้

ในการจัดหมวดหมู่ของปลาคิเมียรานั้นถือว่าเป็นปลากระดูกอ่อนแต่พวกมันก็มีลักษณะบางประการเหมือนปลากระดูกแข็งอยู่ในกลุ่ม Holocephali

จากการสำรวจทะเลลึกนั้นทำให้มีการวิเคราะห์และจัดอนุกรมวิธานใหม่ ๆ ขึ้นเนื่องจากมีการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ๆ[2] พวกมันมี 50 สายพันธุ์ใน 6 สกุล 3 อันดับ (รวมสกุล Ischyodus ที่สูญพันธุ์ไปแล้วและอีกสองอันดับที่เป็นแค่ฟอสซิล)

 
Callorhinchus callorynchus
 
Chimaera monstrosa
 
Hydrolagus affinis
 
Harriotta raleighana

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Froese, Rainer, and Daniel Pauly, eds. (2014). "Chimaeriformes" in FishBase. November 2014 version.
  2. 2.0 2.1 "Ancient And Bizarre Fish Discovered: New Species Of Ghostshark From California And Baja California". ScienceDaily. September 23, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-09-23.
  3. Peterson, Roger Tory; Eschmeyer, William N.; Herald, Earl S. (1 September 1999). A Field Guide to Pacific Coast Fishes: North America. Houghton Mifflin Harcourt. p. 13. ISBN 0-618-00212-X. สืบค้นเมื่อ 9 August 2015.
  4. Tozer, H. & Dagit, D.D. (2004) : Husbandry of Spotted Ratfish, Hydrolagus colliei.[ลิงก์เสีย], Chapter 33 in: Smith, M., D. Warmolts, D. Thoney, & R. Hueter (editors). Elasmobranch Husbandry Manual: Captive Care of Sharks, Rays, and their Relatives. Ohio Biological Survey, Inc.
  5. 5.0 5.1 5.2 Stevens, J.; Last, P.R. (1998). Paxton, J.R.; Eschmeyer, W.N. (บ.ก.). Encyclopedia of Fishes. San Diego: Academic Press. p. 69. ISBN 0-12-547665-5.
  6. T.H. Bullock; R.H. Hartline; A.J. Kalmijn; P. Laurent; R.W. Murray; H. Scheich; E. Schwartz; T. Szabo (6 December 2012). Electroreceptors and Other Specialized Receptors in Lower Vertebrates. Springer Science & Business Media. p. 125. ISBN 978-3-642-65926-3.
  7. Freaky New Ghostshark ID’d Off California Coast, a September 22, 2009 blog post from Wired Science