ปลากรายอินเดีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Osteoglossiformes
วงศ์: Notopteridae
สกุล: Chitala
สปีชีส์: C.  chitala
ชื่อทวินาม
Chitala chitala
(Hamilton, 1822)
ชื่อพ้อง
  • Mystus chitala Hamilton, 1822

ปลากรายอินเดีย (เบงกอล: চিতল, ทมิฬ: அம்பட்டன்வாளை, சொட்டைவாளை, அம்புட்டன் வாழ; ชื่อวิทยาศาสตร์: Chitala chitala) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายปลากราย (C. ornata) เพียงแต่ปลากรายอินเดียจะมีรูปร่างที่เพรียวกว่า เกล็ดมีขนาดเล็กกว่า บริเวณสันหลังยังมีสีเหลือบทองและยังมีแถบสีเงินเป็นบั้ง ๆ ซึ่งในปลากรายจะไม่มี ลายจุดจะมีลักษณะคล้ายปลาตองลาย (C. blanci) คือ เป็นจุดเล็กกว่าปลากราย แต่ปลากรายอินเดียจะไม่มีจุดมากเท่าปลาตองลาย หรือในบางตัวอาจไม่มีเลย และจุดดังกล่าวเป็นแต้มสีดำไม่มีขอบขาวเป็นวงรอบ และอยู่ค่อนข้างไปทางท้ายลำตัว ปลาในวัยเล็กจะยังไม่มีบั้งสีเงิน

พบในภูมิภาคเอเชียใต้ ซึ่งปลาชนิดนี้ในความเชื่อของศาสนาฮินดู พระนารายณ์ได้อวตารลงมาเป็นปลากรายทองในชื่อปาง "มัตสยาวตาร" ชาวฮินดูจึงถือว่าปลาชนิดนี้เป็นปลาศักดิ์สิทธิ์ แต่ก็นิยมใช้บริโภคในท้องถิ่น [2]

นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่มีราคาสูง เนื่องจากเป็นปลาที่หายาก

อนึ่ง โดยมากแล้วในการอ้างอิงทางอนุกรมวิธาน มักจะจัดให้ปลากรายอินเดียเป็นชนิดเดียวกับปลากราย โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ซ้ำซ้อนกัน แต่ความจริงแล้ว ปลาทั้งสองชนิดนี้เป็นปลาคนละชนิดกัน[3]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Chitala chitala". IUCN Red List of Threatened Species. Version 3.1. 2010. สืบค้นเมื่อ June 30, 2011.
  2. "กระจกสลับสี แสดงภาพมงคล ๘ ประการ ในศาสนาพราหมณ์". อนุสรณ์สถานแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 14 May 2014.[ลิงก์เสีย]
  3. Roberts, T.R. (1992). Systematic revision of the old world freshwater fish family Notopteridae. Ichthyol. Explor. Freshwat. 2(4):361-383.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Chitala chitala ที่วิกิสปีชีส์