ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ

ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ (อังกฤษ: red tide) คือชื่อสามัญของปรากฏการณ์สาหร่ายสะพรั่ง (อังกฤษ: algal bloom) หรือ การรวมตัวขนาดใหญ่ของจุลชีพในทะเล เกิดขึ้นจากไดโนแฟลกเจลเลตไม่กี่ชนิด ที่มีการสะพรั่งสีแดงหรือน้ำตาล ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ คือ เหตุการณ์ซึ่งสาหร่ายที่อาศัยอยู่ในน้ำกร่อย น้ำเค็ม หรือ น้ำจืด มีการสะสมอย่างรวดเร็วในห้วงน้ำ ส่งผลให้เกิดสีบนผิวน้ำ ปกติแล้วจะพบได้ตามชายหาด ในทุก ๆ ปีปรากฏการณ์นี้ยังฆ่าแมนนาทีจำนวนมาก [1]

ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬบริเวณชายฝั่งเขตลาฮอยา เมืองแซนดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย

สาหร่ายเหล่านี้ ซึ่งมีอีกชื่อนึงว่าแพลงก์ตอนพืช ซึ่งเป็นโพรทิสต์เซลล์เดียว เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายพืช และสามารถก่อให้เกิดรอยแต้มขุ่นที่สามารถสังเกตได้ใกล้ผิวน้ำ ในขณะเดียวกันนั้น แพลงก์ตอนพืชบางชนิด เช่น ไดโนแฟลกเจลเลต ยังมีรงควัตถุสังเคราะห์แสง ซึ่งมีสีที่หลากหลายตั้งแต่สีเขียว ไปจนถึงสีเขียวและสีแดง

เมื่อสาหร่ายมีจำนวนหนาแน่น จะส่งผลให้น้ำเปลี่ยนสีหรือขุ่นมัว โดยปกติแล้วจะเป็นสีแดงหรือสีเขียว โดยบางทีอาจจะเป็นสีม่วงหรือสีชมพูก็ได้ สาหร่ายสะพรั่งที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนสีของน้ำนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อมีความหนาแน่นสูงเพียงพอเท่านั้น และไม่จำเป็นจะต้องเป็นสีแดงเสมอไป

ในบางครั้ง ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬอาจเกี่ยวข้องกับผลผลิตของชีวพิษ การขาดแคลนของออกซิเจนละลาย หรือผลกระทบเชิงลบอื่น ๆ ซึ่งทั้งหมดนี้โดยปกติแล้วจะเรียกว่า สาหร่ายสะพรั่งที่มีความอันตราย ผลกระทบที่เห็นได้ชัดที่สุดจากปรากฏการณ์นี้เกี่ยวข้องกับอัตราการตายของสิ่งมีชีวิตหลาย ๆ อย่างที่อาศัยอยู่ในทะเลรวมไปถึงแนวชายหาด เช่น ปลา นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเล และสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น

สาเหตุ แก้

ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬในบางที่นั้นเกิดจากธรรมชาติ (สาหร่ายสะพรั่งที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล โดยกระบวนการน้ำผุดที่แนวชายฝั่ง ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการเคลื่อนตัวของน้ำทะเล)[2][3] ในขณะเดียวกัน ธาตุอาหารที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์นั้นยังเป็นอีกสาเหตุนึงของปรากฏการณ์นี้อีกด้วย[4] การเติบโตของแพลงก์ตอนพืชโดยปกติแล้วจะถูกจำกัดไว้ด้วยปริมาณของไนเตรตและฟอสเฟต ซึ่งพบมากในของเหลวที่ไหลออกมาจากพื้นที่การเกษตรและในเขตที่มีกระบวนการน้ำผุดที่แนวชายฝั่ง มลพิษทางน้ำตรงชายฝั่งโดยฝีมือมนุษย์ และอุณภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นของน้ำทะเลนั้นยังเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬเช่นเดียวกัน โดยมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น ฝุ่นที่มีธาตุเหล็กสูงที่พัดมาจากทะเลทรายสะฮารา ซึ่งเชื่อว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬเช่นกัน[5] สาหร่ายสะพรั่งในชายฝั่งแปซิฟิกบางที่นั้นได้ถูกเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศขนาดใหญ่เช่น ปรากฏการณ์เอลนีโญ เช่นกัน ทั้งนี้ปัจจุบันยังมีการถกเถียงกันในเรื่องของจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดของปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ ว่าเป็นการเพิ่มขึ้นที่แท้จริงหรือเป็นเพียงผลจากการใส่ใจและเฝ้าดูที่เพิ่มขึ้นและเทคโนโลยีในการหาที่พัฒนามากขึ้น[6][7]

อ้างอิง แก้

  1. "Discover NOAA's Coral Reef Data" เก็บถาวร 2012-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. www8.nos.noaa.gov
  2. Trainer, VL; Adams, NG; Bill, BD; Stehr, CM; Wekell, JC; Moeller, P; Busman, M; Woodruff, D (2000).
  3. Adams, NG; Lesoing, M; Trainer, VL (2000).
  4. Lam CWY, Ho KC (1989) Red tides in Tolo Harbor, Hong Kong.
  5. Walsh et al. (2006).
  6. Sellner, K.G.; Doucette G.J.; Kirkpatrick G.J. (2003).
  7. Van Dolah, F.M. (2000).