ประเพณีกวนข้าวทิพย์

ประเพณีการกวนข้าวทิพย์ เป็นพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ที่ปะปนกับพิธีกรรมของศาสนาพุทธ โดยอ้างถึงเหตุการณ์ในสมัยพุทธกาลที่นางสุชาดาได้ปรุงข้าวมธุปายาสถวายพระโคตมพุทธเจ้าก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้ ถือกันว่าข้าวมธุปายาสเป็นของทิพย์ เมื่อได้จัดทำขึ้นจึงเรียกว่า ข้าวทิพย์ ในประเทศไทย ชาวบ้านจะทำในเทศกาลออกพรรษา ถวายพระสงฆ์เพื่อเป็นการสักการบูชา ซึ่งถือเป็นสิริมงคลกับตนเองถ้ารับประทาน การกวนข้าวทิพย์ต้องอาศัยความสามัคคีจากชาวบ้านจึงจะสำเร็จลงได้ การที่ทำในวันออกพรรษา เพื่อถวายเป็นเครื่องสักการบูชา และรับเสด็จพระพุทธองค์ที่เสด็จจากจำพรรษาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์[1][2]

ประเพณีกวนข้าวทิพย์
นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาสแก่พระพุทธเจ้า
จัดขึ้นโดยไทย
ประเภทประเพณี
การเฉลิมฉลองไม่
การถือปฏิบัติการกวนข้าวทิพย์ถวายพระสงฆ์ และให้ประชาชนรับประทานเพื่อความเป็นสิริมงคล[1]
วันที่ตามแต่ละท้องที่
ความถี่เทศกาลประจำปี

ประเพณีกวนข้าวทิพย์ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไทย สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาลต่าง ๆ เมื่อปี พ.ศ. 2556[1]

ประวัติ แก้

ประเพณีกวนข้าวทิพย์มีที่มาจากครั้นสมัยพุทธกาล โดยนางสุชาดาได้กวนข้าวทิพย์ในวันขึ้น 14 ค่ำ แล้วนำไปถวายพระโคตมพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้ 1 วัน ในประเทศไทย ประเพณีกวนข้าวทิพย์เป็นพระราชพิธีที่กระทำกันในเดือนสิบ มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา และได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ถูกยกเลิกไปในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นมา ปัจจุบันนิยมทำกันในทุกภาคของประเทศไทย โดยในภาคกลางนิยมจัดทำกันในวันวิสาขบูชา แต่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมกระทำกันในวันก่อนออกพรรษาหนึ่งวัน[1][3]

พิธีกรรม แก้

ในแต่ละท้องที่ของภูมิภาค มีพิธีในการกวนข้าวทิพย์คล้ายคลึงกัน โดยสามารถสรุปได้ว่า เริ่มแรกจะมีการจัดโต๊ะหมู่บูชา บริเวณที่จะกวนข้าวทิพย์อาจจะทำเป็นปะรำพิธี โดยโยงด้านสายสิญจน์จากพระพุทธรูปมายังปะรำพิธี ซึ่งวงด้านสายสิญจน์เป็นสี่เหลี่ยม มุมทั้งสี่ตั้งฉัตร 69 ชั้น ขันหมากเบ็งเป็นเครื่องสักการบูชา วัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบปกติวัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบสำคัญซึ่งใช้ในการกวนข้าวทิพย์ที่ชาวบ้านนำมารวมเตรียมไว้จะประกอบด้วยน้ำนมข้าว, ถั่วทุกชนิด และพืชหรือผลผลิตจากพืชทุกชนิดที่ใช้ทำขนมได้ นำมากวนรวมกันเป็นข้าวทิพย์ กวนโดยพรหมจารี ระหว่างกวน พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อเสร็จแล้ว นำไปถวายพระสงฆ์ และให้ประชาชนรับประทานข้าวทิพย์กัน[1][3][2]

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้