ประวัติศาสนาซิกข์

ประวัติของศาสนาซิกข์ เริ่มต้นขึ้นโดยคุรุนานักเทพจิ คุรุศาสดาคนแรก ราวคริสต์ศตวรรศที่ 15 ในภูมิภาคปัญจาบทางตอนเหนือของอนุทวีปอินเดีย เมื่อเวลาผ่านไป การปฏิบัติตนในศาสนาได้ถูกทำให้เป็นแบบแผนมากขึ้นและเป็นระบบระเบียบโดยคุรุท่านต่อ ๆ มา โดยเฉพาะ คุรุโควินทสิงห์ เมื่อปี 1699[1] ศาสนิกชนกลุ่มแรกซึ่งล้วนมาจากภูมิหลังทางสังคมที่ต่างกัน รวมกันเป็นขาลสา (ਖ਼ਾਲਸਾ) โดย 5 คนแรกที่ได้เปลี่ยนศาสนาเข้ามานั้นเรียกว่า "ปัญจเปียร์" เป็นผู้เปลี่ยนศาสนาและรับคุรุโควินทสิงห์เข้ามาในสังคมขาลสา[2]

ประวัติของศาสนาซิกข์เกี่ยวข้องมากกับประวัติศาสตร์ปัญจาบ ในสมัยจักรวรรดิโมกุล (1556 - 1707) ศาสนาซิกข์เกิดความไม่ลงรอยกับกฎหมายจักรวรรดิซึ่งเป็นมุสลิม ด้วยปัญหาทั้งทางการเมืองและความเชื่อของซิกข์ที่เพิ่มเติมนักบุญจากทั้งฮินดูและอิสลามเข้ามา คุรุซิกข์คนสำคัญถูกประหารชีวิตเพราะปฏิเสธที่จะเปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลาม[3] และเพราะต่อต้านการดำเนินคดีของจักรวรรดิต่อชาวซิกข์และชาวฮินดู[4][5][6][7][8][9] คุรุสองท่านที่ถูกประหารชีวิตและทรมานอย่างหนัก ได้แก่ คุรุอรชุน และ คุรุเตฆหบดูร์[10][11][12][13] รวมถึงบุคคลสำคัญในศาสนาที่ได้รับการเคารพจากศาสนิกชน เช่น Banda Bahadur, Bhai Mati Das, Bhai Sati Das และ Bhai Dayala[9][12][13] ดังนั้นศาสนาซิกข์จึงจัดตั้งกองทัพซิกข์ขึ้นเพื่อป้องกันการรุกรานของจักรวรรดิโมกุล การก่อเกิดขึ้นของ Sikh Confederacy ภายใต้ misl และ อาณาจักรซิกข์ นำการปกครองโดยมหาราชา รันจิต สิงห์ ซึ่งเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาด้วยความต้านทางทางศาสนาและแนวคิดพหุศาสนา (Religious pluralism) ร่วมกับชาวคริสต์ ฮินดู และมุสลิม ในตำแหน่งของอำนาจ การก่อตั้งอาณาจักรซิกข์นั้นถือเป็นจุดสูงสุดของศาสนาซิกข์ในเชิงการเมือง[14] ขณะที่อาณาจักรซิกข์ขยายอาณาเขตครอบคลุมกัศมีร์, Ladakh และ Peshawar ก็ทำให้มีศาสนิกชนเปลี่ยนศาสนามาเป็นซิกข์จำนวนมาก ด้วยจากทั้งความเกรงกลัวในอำนาจก็ดี หรือจากเหตุผลเชิงธุรกิจก็ดี[15]

อ้างอิง แก้

  1. "BBC History of Sikhism – The Khalsa". Sikh world history. BBC Religion & Ethics. 29 August 2003. สืบค้นเมื่อ 2008-04-04.
  2. Singh, Patwant (2000). The Sikhs. Knopf. p. 14. ISBN 0-375-40728-6.
  3. Pashaura Singh (2005), Understanding the Martyrdom of Dhan Dhan Sri Guru Arjan Dev Ji, Journal of Punjab Studies, 12(1), pages 29-62
  4. McLeod, Hew (1987). "Sikhs and Muslims in the Punjab". South Asia: Journal of South Asian Studies. 22 (s1): 155–165. doi:10.1080/00856408708723379.
  5. V. D. Mahajan (1970). Muslim Rule In India. S. Chand, New Delhi, p.223.
  6. Irvine, William (2012). Later Mughals. Harvard Press. ISBN 9781290917766.
  7. Pashaura Singh; Louis Fenech (2014). The Oxford handbook of Sikh studies. Oxford, UK: Oxford University Press. pp. 236–238. ISBN 978-0-19-969930-8.
  8. Gandhi, Surjit (2007). History of Sikh gurus retold. Atlantic Publishers. pp. 653–691. ISBN 978-81-269-0858-5.
  9. 9.0 9.1 Singh, Prithi (2006). The history of Sikh gurus. Lotus Press. p. 124. ISBN 978-81-8382-075-2.
  10. Singh, Prof. Kartar (2003-01-01). Life Story Of Guru Nanak. Hemkunt Press. p. 90. ISBN 978-81-7010-162-8. สืบค้นเมื่อ 26 November 2010.
  11. Siṅgha, Kirapāla (2006). Select documents on Partition of Punjab-1947. National Book. p. 234. ISBN 978-81-7116-445-5.
  12. 12.0 12.1 Singh, Prithi Pal. The history of Sikh Gurus. Lotus Press. p. 158. ISBN 81-8382-075-1.
  13. 13.0 13.1 Abel, Ernest. "Life of Banda Singh".[ลิงก์เสีย]
  14. Lafont, Jean-Marie (16 May 2002). Maharaja Ranjit Singh: Lord of the Five Rivers (French Sources of Indian History Sources). USA: Oxford University Press. pp. 23–29. ISBN 0-19-566111-7.
  15. Singh, Pritam (2008). Federalism, Nationalism and Development: India and the Punjab Economy (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 9781134049455. A large number of Hindu and Muslim peastants converted to Sikhism from conviction, fear, economic motives, or a combination of the three (Khushwant Singh 1999: 106; Ganda Singh 1935: 73).