ขาลสา หรือ คาลซ่า (ปัญจาบ: ਖ਼ਾਲਸਾ; khalsa, แปลตรงตัวว่า "เหล่าผู้บริสุทธิ์") หมายถึงกลุ่มนักรบพิเศษของบรรดานักรบซิกข์กลุ่มแรก[1] หรืออาจหมายถึงชุมชนชาวซิกข์ ที่ยอมรับและเชิดชูให้ศาสนาซิกข์เป็นศาสนาและแนวทางการปฏิบัติตนของสมาชิกในชุมชน[2] แนวคิดขาลสาเริ่มต้นขึ้นโดยคุรุโควินทสิงห์ คุรุซิกข์ท่านสุดท้าย ในปี 1699 การก่อตั้งขาลสานั้นถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในประวัติศาสนาซิกข์[3] ชาวซิกข์เฉลิมฉลองการก่อตั้งขาลสาในเทศกาลวิสาขี (Vaisakhi)[4][5][6]

เกศครห์สาหิบในเมืองอานันทปุรสาหิบ สถานที่ก่อตั้งขาลสา

คุรุโควินทสิงห์ก่อตั้งขาลสาขึ้นหลังบิดาของท่านถูกประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะโดยจักรวรรดิโมกุล หลังแสดงการต่อต้านการดำเนินคดีกับศาสนิกชนของศาสนาอื่นนอกจากอิสลามซึ่งเป็นศาสนาหลักของจักรวรรดิ นำโดย จักรพรรดิออรังเซพ โดยเฉพาะการดำเนินคดีกับชาวฮินดูในกัศมีร์ที่ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลาม[7][8][9][10] นักรบขาลสาจึงถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อปกป้องศาสนิกชนซิกข์และฮินดูผู้บริสุทธิ์จากการรุกรานของจักรวรรดิ[11] ขาลสาเข้ามาแทนที่ "วสันต์" และกลายเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของศาสนาซิกข์ในแง่ของการเมืองและการทหาร[2][12][13]: 127 

ซิกข์ขาลสาจะได้รับชื่อ "สิงห์" (บุรุษ) และ "Kaur" (สตรี) และต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบเพิ่มเติม เช่น ห้ามสูบยาสูบ บุหรี่ ดื่มสุรา และห้ามรับประทานเนื้อสัตว์ และมีการแต่งกายพิเศษตาม ก 5 ประการ[13]: 121–126  "ซิกข์สหัชธารี" นั้นตรงข้ามกับซิกข์ขาลสา สหัชธารีจะน้อมนำคำสอนมาปฏิบัติตาม และเชื่อถือในคุรุซิกข์ แต่ไม่เข้าร่วมพิธีรับชื่อ และไม่ปฏิบัติตาม ก 5 ประการ รวมถึงกฏบางกฏ[14] สังคมขาลสาเป็นสังคมบุรุษนำเป็นหลัก จนมาถึงในยุคปัจจุบันที่เริ่มมีสตรีมีบทบาทในตำแหน่งผู้นำมากขึ้น[2][15]

อ้างอิง

แก้
  1. Singh
  2. 2.0 2.1 2.2 Khalsa: Sikhism, Encyclopaedia Britannica
  3. Singh, Nikky-Guninder Kaur (2012). The Birth of the Khalsa : A Feminist Re-Memory of Sikh Identity. State University of New York Press. p. xi. ISBN 978-0-7914-8266-7.
  4. Senker, Cath (2007). My Sikh Year. The Rosen Publishing Group. p. 10. ISBN 978-1-4042-3733-9., Quote: "Vaisakhi is the most important mela. It marks the Sikh New Year. At Vaisakhi, Sikhs remember how their community, the Khalsa, first began."
  5. Cole, p. 63: "The Sikh new year, Vaisakhi, occurs at Sangrand in April, usually on the thirteenth day."
  6. Jacobsen, Knut A. (2008). South Asian Religions on Display: Religious Processions in South Asia and in the Diaspora. Routledge. p. 192. ISBN 978-1-134-07459-4., Quote: "(...) for the Sikhs, it [Baisakhi] celebrates the foundation of the Khalsa in 1699."
  7. Mandair, Arvind-Pal Singh (2013). Sikhism: A Guide for the Perplexed. Bloomsbury Academic. pp. 53–54. ISBN 978-1-4411-0231-7., Quote: "The Guru's stance was a clear and unambiguous challenge, not to the sovereignty of the Mughal state, but to the state's policy of not recognizing the sovereign existence of non-Muslims, their traditions and ways of life".
  8. Seiple, Chris (2013). The Routledge handbook of religion and security. New York: Routledge. p. 96. ISBN 978-0-415-66744-9.
  9. Singh, pp. 236–238
  10. Fenech, Louis E. (2001). "Martyrdom and the Execution of Guru Arjan in Early Sikh Sources". Journal of the American Oriental Society. 121 (1): 20–31. doi:10.2307/606726. JSTOR 606726.
  11. Cole, p. 36
  12. Singh, Teja (2006). A Short History of the Sikhs: Volume One. Patiala: Punjabi University. p. 107. ISBN 978-8173800078.
  13. 13.0 13.1 Singh, Kartar (2008). Life of Guru Gobind Singh. Ludhiana, India: Lahore Bookshop.
  14. Sikhism: Sects and Other Groups, Encyclopaedia Britannica
  15. Doniger, Wendy (1999). Merriam-Webster's Encyclopedia of World Religions. Merriam-Webster. p. 636. ISBN 978-0-87779-044-0.