ปรงไข่
ปรงไข่ | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Pteridophyta |
ชั้น: | Pteridopsida |
อันดับ: | Polypodiales |
วงศ์: | Pteridaceae |
วงศ์ย่อย: | Ceratopteridoideae |
สกุล: | Acrostichum |
สปีชีส์: | A. aureum |
ชื่อทวินาม | |
Acrostichum aureum L. |
ปรงไข่ (อังกฤษ: Leather fern หรือ Swamp fern) เป็นพืชตระกูลเฟิร์นโบราณ ซึ่งอยู่ในจำพวกพืชเมล็ดเปลือยเช่นเดียวกันกับพวกแปะก๊วยและสน มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ชอบขึ้นอยู่ตามที่ชื้นแฉะ ส่วนมากมักพบตามบริเวณใกล้แหล่งน้ำ เป็นพืชที่ความทนทานสูงและมีอายุยืน มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ คือ ปรงทะเล ปรงแดง(สมุทรสาคร) แสม (ใต้) ผักชล (อีสาน) ปรงทอง ปรงใหญ่ และบีโย (มลายู-สตูล)[1][2]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แก้- ปรงไข่เป็นพืชตระกูลเฟิร์น สูงประมาณ 1-3 เมตร เป็นไม้พื้นล่าง ชอบขึ้นตามที่ชุ่มชื้นและชื้นแฉะ เช่น ป่าชายเลนและบริเวณแหล่งน้ำต่าง ๆ
- ลำต้น: มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดินลักษณะขนานไปกับพื้นดิน ส่วนใบจะชูขึ้นมาเป็นกอด้านบน ด้านล่างของโค่นต้นจะมีรากค้ำยัน
- ใบ: มีอยู่ 2 แบบ แบบแรกคือตอนที่ต้นปรงไข่ยังมีขนาดเล็กจะมีลักษณะ แบบใบเดียวเป็นรูปไข่ สีเขียวและขอบขนาน เมื่อโตขึ้นจะลักษณะแบบใบประกอบขนนกคล้ายหอกแต่ปลายมน กว้าง 1-2 นิ้ว ยาว 120-270 ซม. มียอดอ่อนสีแดง ลักษณะหนาหยาบมีการสร้างสปอร์อยู่ใต้ใบ ที่ท้องใบมีจุดสีน้ำตาลแดง[3][4]
การเจริญเติบโต
แก้เป็นพืชที่ชอบดินที่ชุ่มชื้นมีความชื้นสูงและมีอินทรีย์วัตถุมาก ปริมาณแสงที่ชอบคือแดดจัดจนถึงปานกลาง
การกระจายพันธุ์และแหล่งที่พบ
แก้จะพบมากในป่าชายเลนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และส่วนมากของประเทศไทยจะพบที่ภาคใต้และภาคตะวันออก
ประโยชน์
แก้สรรพคุณ
- ยาง: ทาแผล ดับพิษและทาฝีเพื่อดูดหนอง
- หัว
- ยอดอ่อน: สามารถกินเป็นอาหารได้เช่น แกงเลียง หรือแกงส้มและผักลวกจิ้มน้ำพริก แต่ถ้าเป็นคนอินเดีย ศรีลังกาและมาเลเซีย จะใช้ทำเป็นอาหารโดยการนำไปทำผักสลัด
ด้านอื่น ๆ
- จัดสวน
- ปลูกเป็นไม้ประดับ
- ทำเป็นที่พักหรือกระท่อมแบบชั่วคราว โดยใช้ใบที่แก่ไปตากแห้งแล้วมาผูกติดกันเป็นฝากั้นห้องหรือเพดาน ส่วนมากจะทำในแถบหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกและประเทศเวียดนาม[5]