บ็อบ ดิลลัน

(เปลี่ยนทางจาก บ๊อบ ดีแลน)

บ็อบ ดิลลัน (อังกฤษ: Bob Dylan) หรือชื่อจริง โรเบิร์ต อัลเลน ซิมเมอร์แมน (อังกฤษ: Robert Allen Zimmerman; เกิด 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1941) เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง ศิลปิน จิตรกร นักประพันธ์ และกวีชาวอเมริกัน ที่มีผลงานในวงการดนตรีมาตลอดกว่า 5 ทศวรรษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงทศวรรษ 1960 จนได้รับฉายาให้เป็น "ราชาแห่งโฟล์ก"[1][2] ด้วยภาพลักษณ์ของดิลลันในการแต่งเพลงที่เน้นเนื้อหาทางสังคมและการต่อต้านสงคราม มีเพลงตัวอย่างเช่น "Blowin' in the Wind" และ "The Times They Are a-Changin'" ที่ได้กลายมาเป็นหนึ่งในเพลงสัญลักษณ์ของการเคลื่อนไหวทางสิทธิมนุษยชนและการต่อต้านสงครามในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้เขายังได้ออกซิงเกิล "Like a Rolling Stone" ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปี ค.ศ. 1965 และได้รับการจัดอันดับจากโรลลิงสโตนให้เป็นเพลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[3] และได้รับความนิยมอย่างยิ่งในช่วงกลางยุค 1960 ที่มีโอกาสได้ขึ้นชาร์ตสูงๆ แต่ถึงอย่างก็ดีดิลลัน ก็ถูกวิจารณ์จากศิลปินโฟล์กด้วยกัน ที่เขาได้หันกลับร่วมบรรเลงกับวงกีตาร์ไฟฟ้า ซึ่งนับเป็นการทิ้งแนวเพลงโฟล์ก ที่เขาได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำ "ยุคบุกเบิกดนตรีโฟล์กอเมริกัน" (American folk music revival)

บ็อบ ดิลลัน
ภาพถ่ายปี ค.ศ. 1963
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดโรเบิร์ต อัลเลน ซิมเมอร์แมน
เกิด (1941-05-24) พฤษภาคม 24, 1941 (83 ปี)
ที่เกิดแมลิบู แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
แนวเพลง
อาชีพนักร้อง นักแต่งเพลง นักประพันธ์ กวี จิตรกร
เครื่องดนตรี
ช่วงปี1959–ปัจจุบัน
ค่ายเพลง
เว็บไซต์www.bobdylan.com

เนื้อเพลงของดิลลันยุคแรก จะเกี่ยวกับการเมือง สังคม ปรัชญา และอิทธิพลจากวรรณคดี ดนตรีของเขาได้ต่อต้านกระแสนิยมทางดนตรีป็อปและนำโฟล์กเข้ามามีบทบาทในกระแสสังคม เขาได้รับแรงบันดาลใจด้านการแสดงมาจาก ลิตเทิล ริชาร์ด และการประพันธ์เพลงแบบ วูดดี กัทรี, โรเบิร์ต จอห์นสัน และแฮงก์ วิลเลียมส์ ตลอดชีวิตด้านงานดนตรีของเขา ดิลลันได้ขยายสาแหรกแนวย่อยดนตรีเป็นจำนวนมาก ได้เป็นผู้บุกเบิกวงการเพลงโฟล์กในอเมริกันสู่โฟล์กในอังกฤษ สกอตแลนด์และไอร์แลนด์ และผลักดันดนตรีโฟล์กให้กลับมาได้รับความนิยม รวมไปถึงบลูส์, คันทรี, กอสเปล, ร็อกอะบิลลี และแจ๊ส[4] ดิลลัน เป็นที่รู้จักจากศิลปินที่ทั้งแต่งและร้องเอง จนได้รับการยกย่องให้เป็นนักแต่งเพลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง[5] และภาพลักษณ์การแสดงสดที่เล่นกีตาร์ พร้อมกับเปล่าฮาร์โมนิกา รวมไปถึงคีย์บอร์ด เขาได้จัดทัวร์คอนเสิร์ตอย่างต่อเนื่องในช่วงปลายยุค 1980 จนได้รับการยกย่องให้เป็นทัวร์ "Never Ending Tour"

นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 ดิลลันได้ออกผลงานวาดรูปและลงสีมาแล้วกว่า 6 เล่ม และได้รับการจัดแสดงในเวทีใหญ่หลายครั้ง ในด้านงานดนตรี ดิลลันได้จำหน่ายอัลบั้มไปแล้วกว่า 100 ล้านชุด ทำให้เขาเป็นหนึ่งในศิลปินที่มียอดจำหน่ายอัลบั้มโดยรวมสูงที่สุดตลอดกาล เขายังได้รับรางวัลมากมาย ไม่ว่าจะเป็น 11 รางวัลแกรมมี รางวัลลูกโลกทองคำ และรางวัลออสการ์ ดิลลันได้รับการบรรจุเข้าสู่หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล, หอเกียรติยศมินนิโซตามิวสิก, หอเกียรติยศนักประพันธ์เพลงแนชวิลล์ และ หอเกียรติยศนักประพันธ์เพลง ในปี ค.ศ. 2008 เขาก็ได้รับรางวัลจากพูลิตเซอร์ ในโอกาศพิเศษสำหรับ "ที่เขาสร้างไว้ต่อวงการดนตรีนิยมและวัฒนธรรมอเมริกัน ด้วยเนื้อเพลงและบทประพันธ์ที่เรียบเรียงอย่างทรงพลัง"[6] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2012 ดิลลันได้รับเกียรติรับเหรียญอิสรภาพประธานาธิบดี ซึ่งถือเป็นเหรียญสูงสุดของพลเรือน จากประธานาธิบดีสหรัฐ บารัค โอบามา

ในปี ค.ศ. 2016 ดิลลันได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม[7]

อ้างอิง

แก้
  1. "Bob Dylan and Joan Baez - The Story of Bob Dylan and Joan Baez". Folkmusic.about.com. 1980-06-06. สืบค้นเมื่อ 2013-07-02.
  2. Daniel Mark Epstein (2011-01-04). The Ballad of Bob Dylan. Souvenir Press Ltd. p. 94. ISBN 978-0-285-64022-1.
  3. "The Rolling Stone 500 Greatest Songs of All Time". Rock List Music. สืบค้นเมื่อ May 2, 2010.
  4. Browne, David (2001-09-10). "Love and Theft review". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-12. สืบค้นเมื่อ 2008-09-07.
  5. Gates, David (1997-10-06). "Dylan Revisited". Newsweek. สืบค้นเมื่อ 2008-10-13.
  6. "The Pulitzer Prize Winners 2008: Special Citation". Pulitzer. 2008-05-07. สืบค้นเมื่อ 2008-09-06.
  7. "The Nobel Prize in Literature 2016". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)