แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
(เปลี่ยนทางจาก บ้านเชียง)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง[1] เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ที่ตำบลบ้านเชียง (ในเขตเทศบาลตำบลบ้านเชียง) อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปี
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง | |
พิกัด | 17°24′25.2″N 103°14′27.5″E / 17.407000°N 103.240972°E |
ประเทศ | ไทย |
ภูมิภาค ** | เอเชียและแปซิฟิก |
ประเภท | มรดกทางวัฒนธรรม |
เกณฑ์พิจารณา | (iii) |
อ้างอิง | 575 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2535 (คณะกรรมการสมัยที่ 16) |
พื้นที่ | 30 เฮกตาร์ |
พื้นที่กันชน | 760 เฮกตาร์ |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
เครื่องมือและอุปกรณ์ยุคโบราณ
แก้ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา
แก้ศิลปะเครื่องปั้นดินเผาของบ้านเชียงนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ยุค ได้แก่
- ภาชนะดินเผาสมัยต้น อายุ 5,600–3,000 ปี มีลายเชือกทาบ ซึ่งคาดกันว่าเป็นปอกัญชา ทั้งยังมีลายขูดขีด และมีการเขียนสีบ่า โดยพบวางคู่กับโครงกระดูก บางใบใช้บรรจุศพเด็ก และยังมีประเพณีการฝังศพ โดยการฝังสิ่งของเครื่องใช้ลงไปเช่น ขวาน ใบหอก เป็นต้น
- ภาชนะดินเผาสมัยกลาง อายุ 3,000–2,300 ปี สมัยนี้เป็นสมัยที่เริ่มมีการขีดทาสีแดง
- ภาชนะดินเผาสมัยปลาย อายุ 2,300–1,800 ปี เป็นยุคที่มีลวดลายที่สวยงามที่สุด ลวดลายพิสดาร สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมที่สงบสุข ก่อนที่จะกลายมาเป็นการเคลือบน้ำโคลนสีแดงขัดมัน
สำริด
แก้ชาวบ้านเชียงโบราณนิยมทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับจากสำริดในระยะแรก ก่อนที่จะได้รู้จักใช้การใช้เหล็ก ชาวพอลินีเชียมีหลักฐานว่านิยมใช้สำริดเช่นกัน เช่นใช้ทำเป็นกลองมโหระทึก
แหล่งมรดกโลก
แก้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกเมื่อ พ.ศ. 2535 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 16 ที่เมืองแซนตาเฟ รัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐ โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้
- เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
ระเบียงภาพ
แก้-
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
-
แผ่นจารึกแหล่งมรดกโลกในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
อ้างอิง
แก้- ↑ "แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-24. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ วัฒนธรรมบ้านเชียง