บ้านวิชาเยนทร์

(เปลี่ยนทางจาก บ้านหลวงรับราชทูต)

บ้านวิชาเยนทร์ หรือ บ้านหลวงรับราชทูต ตั้งอยู่ทางเหนือของวังนารายณ์ราชนิเวศน์ และวัดเสาธงทอง ทางตะวันตกใกล้กับวัดปืน และทางตะวันออกใกล้กับเทวสถานปรางค์แขก สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2228 เพื่อใช้รับรองราชทูตชาวตะวันตกที่มาเฝ้าฯ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาสมเด็จพระนารายณ์ได้พระราชทานที่พักอาศัยนี้ให้แก่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์[2] สมุหนายกชาวตะวันตกในราชสำนักสยาม ณ เวลานั้น ใน พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ระบุไว้ว่า "ส่วนเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ผู้ว่าราชการที่สมุหนายก, ให้ก่อตึกสี่เหลี่ยมอันใหญ่, แลตึกเวียนมีกำแพงแก้วล้อมรอบเป็นที่อยู่, แลให้ก่อตึกปิจุตึกคชสาร, แลตึกฝรั่งอื่นทั้งหลายเป็นอันมากตำบลที่ใกล้วัดปืน..."[3]

บ้านวิชาเยนทร์
Wichayen House
บริเวณด้านหน้าทางเข้าบ้านวิชาเยนทร์
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทบ้าน
คฤหาสน์
โบสถ์
สถาปัตยกรรมเรอเนสซองส์
สถาปัตยกรรมไทย
เมืองถนนวิชาเยนทร์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
ประเทศประเทศไทย ไทย
เริ่มสร้างพ.ศ. 2228 (ราว 340 ปี)[1]
ข้อมูลทางเทคนิค
โครงสร้างก่ออิฐถือปูน

บ้านหลวงรับราชทูตแบ่งได้ 3 ส่วน ด้านตะวันออกเป็นบ้านพักของคณะทูตชาวฝรั่งเศส ส่วนด้านตะวันตกเป็นบ้านพักของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ขุนนางชาวกรีก และท้าวทองกีบม้า ภรรยา ส่วนกลางเป็นที่ตั้งของโบสถ์ของคริสต์ศาสนา ที่สถาปัตยกรรมเป็นแบบเรอเนสซองส์ ผสมสถาปัตยกรรมไทย แห่งแรกของไทย และของโลก[1]

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 “บ้านวิชาเยนทร์” บ้านพักของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ขุนนางที่สมเด็จพระนารายณ์โปรดปราน, เว็บไซด์:https://travel.mthai.com/ .สืบค้นเมื่อ 11/08/2561
  2. เปิดบ้านหลวงวิชาเยนทร์ ของ “คอนสแตนติน ฟอลคอน” ประวัติศาสตร์ที่ยังเหลืออยู่!, เว็บไซด์: https://www.khaosod.co.th/ .สืบค้นเมื่อ 11/08/2561
  3. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน, หน้า 353
บรรณานุกรม
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563. 488 หน้า. ISBN 978-616-514-650-0