สุวัฒน์ กลิ่นเกษร

(เปลี่ยนทางจาก น้าติง)

สุวัฒน์ กลิ่นเกษร (นามแฝง "น้าติง") ผู้บรรยายการแข่งขันกีฬาชาวไทย มีชื่อเสียงจากผลงานบรรยายกีฬามวยปล้ำของสหรัฐอเมริกา ด้วยรูปแบบการบรรยายที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์

สุวัฒน์ กลิ่นเกษร
เกิด30 ตุลาคม พ.ศ. 2498 (68 ปี)[1]
อำเภอยานนาวาจังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ชื่ออื่นวัฒน์
การศึกษาค.บ.
ศิษย์เก่าคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาชีพผู้บรรยายกีฬา
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2527 – ปัจจุบัน
นายจ้างจีเอ็มเอ็มสปอร์ต
ไทยพีบีเอส
มีชื่อเสียงจากผู้บรรยายภาษาไทยในกีฬามวยปล้ำ
คู่สมรสจารุลัทธิ์ กลิ่นเกษร (พ.ศ. 2525 – ปัจจุบัน)
บุตรวสุ กลิ่นเกษร (ปอ)
รุจา กลิ่นเกษร (ปุ๋ย)​

ประวัติ

เกิดที่ย่านถนนตก สะพานกรุงเทพ พื้นเพเป็นชาวกรุงเทพมหานคร[2] มีชื่อเล่นจริงๆ ว่า [3]

เป็นอาจารย์ประจำวิชาพลศึกษา ของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยรับงานบรรยายการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ เป็นอาชีพเสริม โดยเฉพาะมวยปล้ำของสหรัฐอเมริกา เริ่มจากบริษัท วิดีโอสแควร์ จำกัด และบริษัท ไจแอนต์พิกเจอร์ส จำกัด ในส่วนที่บันทึกเป็นวีดิทัศน์ (วิดีโอหรือวีซีดี) จากนั้น เมื่อบริษัท ยูไนเต็ดบรอดแคสติงคอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือยูบีซี (ปัจจุบันคือทรูวิชันส์) ซื้อลิขสิทธิ์เผยแพร่มวยปล้ำดังกล่าว ทางโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ยูบีซีจึงจ้างสุวัฒน์ เป็นผู้บรรยายมวยปล้ำและกีฬาอื่น ๆ ทว่าต่อมาก็ลาออก ไปรับงานบรรยายกีฬาต่าง ๆ โดยเฉพาะมวยปล้ำ ร่วมกับจีเอ็มเอ็มสปอร์ตจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ระยะหลัง สุวัฒน์ลาออกจากราชการ เพื่อไปรับงานบรรยายอย่างเต็มตัว

สุวัฒน์ตั้งชื่อสำหรับการบรรยายมวยปล้ำให้ตัวเองว่า น้าติง ซึ่งมีที่มาแบ่งเป็นคำว่าน้า มาจากนักพากย์การ์ตูนชื่อดัง "น้าต๋อย เซมเบ้" โดยสุวัฒน์ให้เหตุผลว่า เป็นคำเรียกที่ติดปากคนไทย และเป็นคำเรียกที่ไม่แก่ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเพียงใด ส่วนคำว่าติง มาจากนักมวยปล้ำชื่อดัง "สติง" (Sting) ซึ่งแข่งขันอยู่ในระยะแรกที่สุวัฒน์เข้ามาบรรยายกีฬา และเขาชื่นชอบเป็นส่วนตัวด้วย อนึ่ง สุวัฒน์เคยเข้าร่วมรายการ อัจฉริยะข้ามคืน ในครั้งที่ 43 ซึ่งแข่งขันที่เมืองจำลองพัทยา โดยเข้าถึงรอบ 4 คนสุดท้าย และถอดรหัสสำเร็จเป็นคนที่ 2 แต่ตอบคำถามผิดจึงตกรอบ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. รี เวดดิ้ง : แต่งอีกครั้ง..ยังเป็นเธอ : คนขี้ลืม...ไม่ลืมเธอ (14 มี.ค. 60) ยูทูบ
  2. mgronline.com
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๕, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๓๔, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๔๐, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๙