นิกูจางะ (ญี่ปุ่น: 肉じゃがโรมาจิNikujaga; แปลว่า เนื้อ [และ] มันฝรั่ง)[หมายเหตุ ก] เป็นอาหารประเภทตุ๋นอย่างหนึ่งของญี่ปุ่นที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกหรือที่เรียกว่า โยโชกุ โดยทำจากเนื้อสัตว์ มันฝรั่ง และหัวหอม ตุ๋นในซีอิ๊วหวานและมิริง บางครั้งอาจใส่เส้นบุกหรือผักเพิ่มไปด้วย[1] โดยมันฝรั่งจะทำหน้าที่เป็นวัตถุดิบหลัก ส่วนเนื้อสัตว์จะเป็นตัวชูรสชาติอาหาร และต้องทำการตุ๋นจนน้ำในหม้องวดลง[2] โดยมากจะใช้เนื้อวัวฝานบาง บ้างก็ใช้เป็นเนื้อวัวสับ หรือบด ซึ่งก็เป็นที่นิยมเช่นกัน[3] ขณะที่บริเวณภาคตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นจะนิยมใช้เนื้อหมูแทนเนื้อวัว[3]

นิกูจางะ
แหล่งกำเนิดประเทศญี่ปุ่น
ส่วนผสมหลักเนื้อสัตว์ (เนื้อวัว หรือเนื้อหมู), มันฝรั่ง, หัวหอม, ซีอิ๊วหวาน, มิริง

ประวัติ แก้

นิกูจางะถูกคิดค้นโดยพ่อครัวของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19[1] มีเรื่องหนึ่งระบุว่า เมื่อ ค.ศ. 1895 โทโง เฮฮาจิโร สั่งให้พ่อครัวของกองทัพเรือทำสตูเนื้ออย่างกองทัพเรือสหราชอาณาจักร ซึ่งในขณะนั้น โทโงประจำการอยู่ที่ฐานทัพเรือเมืองไมซูรุ จังหวัดเกียวโต จึงถือว่าเมืองดังกล่าวเป็นจุดกำเนิดของนิกูจางะ[4] ขณะที่ทางเทศมนตรีเมืองคูเระ จังหวัดฮิโรชิมะออกมาแย้ง โดยอธิบายว่าโทโง เฮฮาจิโร สั่งอาหารนี้เมื่อคราวดำรงตำแหน่งเป็นเสนาธิการฐานทัพเรือคูเระใน ค.ศ. 1898[5]

หมายเหตุ แก้

หมายเหตุ ก คำว่า "จางะ" (ゃが) จากชื่อนิกูจางะ เป็นคำย่อของคำว่า "จากาอิโมะ" (ジャガ芋; แปลว่า พืชมีหัวหรือมันฝรั่งจากจาการ์ตา)[1]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "肉ジャガ" [Nikujaga]. Dijitaru Daijisen (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2012. OCLC 56431036. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 25, 2007. สืบค้นเมื่อ 2012-08-27.
  2. "肉じゃがのレシピ|キユーピー3分クッキング". 日本テレビ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2015-10-31.
  3. 3.0 3.1 "★激論★ 肉じゃがといえば、豚か、牛か! それとも何か!?  | クックパッド". クックパッド. สืบค้นเมื่อ 2015-10-31.
  4. Asami Nagai, "Cities claim signature dishes cooked up in navy galleys" เก็บถาวร 2012-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Yomiuri Shimbun, 5 February 2000. Retrieved on 2009-03-24. "As it happens, Togo had studied naval science in Britain from 1871 to 1878, so Shimizu reasoned he must have eaten beef stew occasionally. 'We concocted a story that Togo ordered the cooks to fix something similar to beef stew,' he said." In fact, beef stews were already known before that time in Japan.
  5. Asami Nagai, "Cities claim signature dishes cooked up in navy galleys" เก็บถาวร 2012-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Yomiuri Shimbun, 5 February 2000. Retrieved on 2009-03-24. "City assembly members believed Togo was stationed at the Kure naval base from May 1890 to December 1891, and theorized that he likely introduced nikujaga to the navy diet at that time to prevent vitamin B deficiency."

แหล่งข้อมูลอื่น แก้