นกอีแพรดท้องเหลือง

ชนิดของนก
นกอีแพรดท้องเหลือง
นกอีแพรดท้องเหลือง (Chelidorhynx hypoxantha)
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Passeriformes
วงศ์: Stenostiridae
สกุล: Chelidorhynx
Blyth, 1843
สปีชีส์: hypoxanthus
ชื่อทวินาม
Chelidorhynx hypoxanthus
Blyth, 1843
ชื่อพ้อง

Chelidorhynx hypoxantha

นกอีแพรดท้องเหลือง เป็นนกกินแมลงขนาดเล็กท้องสีเหลืองสดใส หางพัดคล้ายนกอีแพรด ทำให้มันเคยได้รับการระบุชนิดในสกุลนกอีแพรด ปัจจุบันตั้งแต่ปี 2552 นกอีแพรดท้องเหลืองนี้กลับไปอยู่ในสกุล Chelidorhynx ซึ่งมีชนิดเดียวในสกุล และอยู่ในวงศ์นกจับแมลง (Stenostiridae) ในชื่อวิทยาศาสตร์ Chelidorhynx hypoxanthus[2] และชื่อภาษาอังกฤษ fairy-flycatcher, yellow-bellied fantail หรือ yellow-bellied fairy-fantail

พบมากในป่าดิบชื้นบริเวณตีนเขาและกึ่งภูเขาเช่น ช่วงป่าที่มีไม้ใบกว้าง ในอนุทวีปอินเดีย แถบเทือกเขาหิมาลัย และบางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ไทย ลาว เวียดนาม และพม่า รวมทั้งอาจพบได้ในประเทศจีน[3]

อนุกรมวิธาน

แก้

นกอีแพรดท้องเหลืองเคยถูกจัดชนิดไว้ในสกุลนกอีแพรด (Rhipidura) วงศ์นกอีแพรด (Rhipiduridae) แต่การวิเคราะห์ดีเอ็นเอแสดงให้เห็นว่ามันเป็นญาติสนิทของนกจับแมลง ดังนั้นจึงย้ายไปอยู่ในในสกุล Chelidorhynx ซึ่งเป็นสกุลที่มีชนิดเดียว ในวงศ์ Stenostiridae[4]

ลักษณะทางกายวิภาค

แก้

นกอีแพรดท้องเหลืองเป็นนกกินแมลงขนาดเล็กมาก[5] มีความยาวลำตัวประมาณ 8 เซนติเมตร คล้ายนกจับแมลงที่มีหางยาว เมื่อกางหางออกเป็นรูปพัดคล้ายนกอีแพรดเป็นอย่างมากแต่นกอีแพรดท้องเหลืองมีขนาดเล็กกว่ามาก[6]

นกชนิดนี้มีภาวะทวิสัณฐานทางเพศที่ต่างกันเล็กน้อย[7] นกตัวผู้มีหัวและลำตัวด้านบนสีเขียวคล้ำหรือเขียวมะกอกเข้ม หน้าผากและคิ้วกว้างสีเหลืองสด แถบตาดำ ลำตัวด้านล่างเหลือง หางเรียวยาวสีเทาแกมเขียวคล้ำ ปลายหางแต้มขาว นกตัวเมีย มีแถบตาเขียวคล้ำเหมือนสีหัว[5][7]

พฤติกรรม

แก้

นกซึ่งค่อนข้างเปรียว ไม่ค่อยเกาะนิ่ง ชอบบินจับแมลงที่กำลังบินอยู่กินเป็นอาหาร[7] มักพบรวมฝูงอยู่กับนกชนิดอื่นเช่น นกกระจิบ นกกระติ๊ด นกเดินดง[6]

มักร้องเสียงสูง "ติ๊ด ๆ" ซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน[6]

ถิ่นที่อยู่และการกระจายพันธุ์

แก้
 
Yellow-bellied fantail at Zuluk, Sikkim

พบมากในป่าดิบชื้นบริเวณตีนเขาและกึ่งภูเขา ระดับความสูง 1,500 – 2,565 เมตร[5] ในอนุทวีปอินเดียในแถบเทือกเขาหิมาลัย เช่น เนปาล ปากีสถาน อินเดียตอนบน ภูฏาน บังกลาเทศ และบางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ ภาคเหนือและภาคตะวันตกตอนเหนือของไทย ลาวตอนเหนือ เวียดนามตอนเหนือ และพม่า รวมทั้งอาจพบได้ในมณฑลยูนนานของจีน[3][2][8]

.ในประเทศไทยเป็นนกประจำถิ่น[9] มีรายงานการพบที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน[5] อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่[4] และอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดกำแพงเพชร[4]

นิเวศวิทยาและการอนุรักษ์

แก้

นกอีแพรดท้องเหลืองมีช่วงกระจายพันธุ์ แนวโน้มของประชากรดูเหมือนจะคงที่แม้ว่าขนาดประชากรยังไม่ได้รับการนับอย่างชัดเจน องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ระบุให้มีสถานะเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (LC)[2]

ในประเทศไทย

แก้

นกอีแพรดท้องเหลืองจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของประเทศไทย ตั้งแต่พ.ศ. 2546 ในประเภทสัตวป่าจําพวกนกลำดับที่ 842[10][11]

อ้างอิง

แก้
  1. BirdLife International (2016). "Chelidorhynx hypoxanthus". The IUCN Red List of Threatened Species. IUCN. 2016: e.T22706775A94089360. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-3.RLTS.T22706775A94089360.en. สืบค้นเมื่อ 15 January 2018.
  2. 2.0 2.1 2.2 IUCN (2016-10-01). "Chelidorhynx hypoxanthus: BirdLife International: The IUCN Red List of Threatened Species 2016: e.T22706775A94089360" (ภาษาอังกฤษ). doi:10.2305/iucn.uk.2016-3.rlts.t22706775a94089360.en. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  3. 3.0 3.1 "นกอีแพรดท้องเหลือง (Chelidorhynx hypoxanthus) :: xeno-canto". xeno-canto.org.
  4. 4.0 4.1 4.2 Parks, Creative Commons Attribution-ShareAlike 4 0 International Thai National. "Chelidorhynx hypoxanthus, Yellow-bellied fairy-fantail". Thai National Parks (ภาษาอังกฤษ).
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "นกอีแพรดท้องเหลือง Yellow-bellied Fairy-fantail ( Chelidorhynx hypoxanthus (Blyth, 1843) )". www.lowernorthernbird.com.
  6. 6.0 6.1 6.2 "นกอีแพรดท้องเหลือง - eBird". ebird.org.
  7. 7.0 7.1 7.2 "นกอีแพรด (Fantail Flycatchers)". ไทยเกษตรศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-09. สืบค้นเมื่อ 2022-08-11.
  8. "Chelidorhynx hypoxanthus (Yellow-bellied Fantail) - Avibase". avibase.bsc-eoc.org.
  9. นกอีแพรดท้องเหลือง Yellow-bellied Fantail ภาพถ่ายนกทุกชนิดที่พบในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2565.
  10. กฎกระทรวง พ.ศ. 2546.[ลิงก์เสีย]ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 120 ตอนที่ 74ก วันที่ 1 สิงหาคม 2546.
  11. "สัตว์ป่าคุ้มครอง - โลกสีเขียว". www.verdantplanet.org.