นกกระเต็นปักหลัก
นกกระเต็นปักหลัก | |
---|---|
ตัวผู้ (ซ้าย), ตัวเมีย (ขวา) ที่เขตสงวนในรัฐกรณาฏกะ, อินเดีย | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Coraciiformes |
วงศ์: | Cerylidae |
สกุล: | Ceryle Boie, 1828 |
สปีชีส์: | C. rudis |
ชื่อทวินาม | |
Ceryle rudis (Linnaeus, 1758) | |
ชนิดย่อย | |
ชนิดย่อย[2]
| |
ชื่อพ้อง[3] | |
ชื่อพ้อง
|
นกกระเต็นปักหลัก (อังกฤษ: Pied kingfisher; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ceryle rudis) นกชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกระเต็นปักหลัก (Cerylidae) ถือเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Ceryle[2]
มีลักษณะทั่วไป คือ จะงอยปากยาวสีดำ หน้าและคางสีขาว มีแถบดำลากจากโคนปากผ่านตามาถึงท้ายทอย กระหม่อมสีดำมีขนยาวบริเวณหัวเป็นพู่เล็ก ๆ มีขนปกคลุมลำตัวสีขาว มีแถบดำ บริเวณเหนือหน้าอกและมีเส้นสีดำ ที่ใต้แถบสีดำ ปีกสีดำ ขอบและปลายขนปีกเป็นสีขาวคล้ายเกล็ดยาวสีขาว มีแถบดำใหญ่ก่อนถึงปลายหาง ขามีสีดำ ขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ตัวผู้มีแถบดำที่หน้าอก 2 แถบ ขณะที่ตัวเมียแถบดังกล่าวมีแค่ 1 แถบและไม่ต่อเนื่อง (แบ่งออกได้เป็น 5 ชนิดย่อย-ดูในตาราง[2])
พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภูมิภาคแอฟริกาใต้สะฮาราและเอเชียใต้ ตั้งแต่ตุรกีถึงอินเดียและจีน ในประเทศไทยถือเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ทั่วไปตามริมแม่น้ำ, คลอง หรือทะเลสาบ โดยเฉพาะในภาคกลางและภาคเหนือ
นกกระเต็นปักหลักส่งเสียงร้องสั้น ๆ ว่า "ชิชิริ-ชิชิริ" มีความสามารถกระพือปีกบินอยู่กับที่ในอากาศก่อนที่จะพุ่งตัวลงน้ำลงไปจับปลาได้ [4]
ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง[5]
รูปภาพ
แก้-
คลิปวีดีโอการฆ่าปลาและกินปลา
-
ใต้ท้องของตัวผู้ขณะบิน
-
ลำตัวด้านหลังที่อุทยานแห่งชาติครูเกอร์, แอฟริกาใต้
-
ไข่
อ้างอิง
แก้- ↑ BirdLife International (2012). "Ceryle rudis". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 16 July 2012.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Ceryle rudis". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
- ↑ Alcedo rudis ― Synonym of Ceryle rudis
- ↑ นกกระเต็นปักหลัก
- ↑ สัตว์ป่าคุ้มครอง
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Ceryle rudis ที่วิกิสปีชีส์