ที่ลุ่มชื้นแฉะ (อังกฤษ: marsh) เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่เปิดโล่งมีไม้ล้มลุกขึ้นปกคลุมอยู่มากกว่าไม้ต้น[1][2] มีน้ำท่วมขังอยู่ตลอดหรือมีน้ำท่วมขังตามฤดูกาล มีความลึกไม่มาก[3] มักพบที่ลุ่มชนิดนี้บริเวณริมทะเลสาบและลำธารต่าง ๆ โดยเป็นพื้นที่รอยต่อระหว่างระบบนิเวศน้ำและบก ที่ลุ่มชื้นแฉะโดยทั่วไปมักมีพืชตระกูลหญ้า ขนาก หรือกกขึ้นปกคลุม[4] หากมีพืชไม้เนื้อแข็งมักเป็นไม้พุ่มเตี้ย ลักษณะพืชพรรณเช่นนี้เป็นตัวจำแนกที่ลุ่มชื้นแฉะให้แตกต่างจากพื้นที่ชุ่มน้ำชนิดอื่น ๆ เช่น ที่ลุ่มน้ำขัง (มาบ) ซึ่งมีไม้ต้นขนาดกลางและใหญ่ขึ้นปกคลุม หรือไมร์ซึ่งมีการทับถมสะสมของซากพืชและมีสภาพเป็นกรด[5] เป็นต้น

ที่ลุ่มชื้นแฉะแห่งหนึ่งในประเทศลัตเวีย
วายมาร์ช รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา

ความแตกต่างระหว่างที่ลุ่มชื้นแฉะและที่ลุ่มน้ำขัง

แก้
 
(กลางซ้าย) ที่ลุ่มน้ำขัง (swamp) และ (กลางขวา) ที่ลุ่มชื้นแฉะ (marsh)

ที่ลุ่มน้ำขังและที่ลุ่มชื้นแฉะ เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่ก่อตัวขึ้นตามแหล่งน้ำที่มีดินอุดมสมบูรณ์และเป็นดินน้ำท่วมขัง[6] ที่ลุ่มชื้นแฉะ (marsh) เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งถูกน้ำท่วมอย่างต่อเนื่องหรือสม่ำเสมอโดยมีแหล่งน้ำอยู่ใกล้เคียง ซึ่งปกคลุมด้วยพืชพรรณประเภทไม้ล้มลุก หรือไม้พุ่มเตี้ย ที่ลุ่มน้ำขังเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่ประกอบด้วยดินอิ่มตัวหรือน้ำนิ่ง และถูกปกคลุมด้วยไม้ยืนต้นที่ทนต่อน้ำ รวมทั้งไม้พุ่มต่าง ๆ [7][8]

ประเภท

แก้

ประเภทของที่ลุ่มชื้นแฉะแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ (ที่ตั้ง) และระดับความเค็มเป็นหลัก ปัจจัยทั้งสองมีอิทธิพลอย่างมากต่อช่วงและขอบเขตของชีวิตสัตว์และพืชที่สามารถอยู่รอดและขยายพันธุ์ในสภาพแวดล้อมนี้ ที่ลุ่มชื้นแฉะแบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ ที่ลุ่มชื้นแฉะชายฝั่ง, ที่ลุ่มชื้นแฉะน้ำจืด และที่ลุ่มชื้นแฉะน้ำท่วมถึง[5] ทั้งสามประเภทนี้สามารถพบได้ทั่วโลกและแต่ละชนิดมีสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกัน

ที่ลุ่มชื้นแฉะชายฝั่ง

แก้

พบได้ทั่วโลกในละติจูดกลางถึงสูง ในทุกแนวชายฝั่งที่ได้รับการอนุรักษ์ และตั้งอยู่ใกล้กับแนวชายฝั่งมากพอที่จะผลกระทบจากการขึ้นลงของน้ำ มักถูกปกคลุมด้วยน้ำเป็นหย่อม ๆ ที่ลุ่มชื้นแฉะชายฝั่งก่อตัวเมื่ออัตราการสะสมของตะกอนมากกว่าอัตราที่ระดับการทรุดตัวของดิน[5] พืชพรรณที่ขึ้นในพื้นที่มักเป็นพืชที่มีรากที่ปรับตัวอย่างเป็นพิเศษกับความเค็ม โดยเฉพาะจำพวกหญ้าที่ทนดินเค็ม[9]

ที่ลุ่มชื้นแฉะชายฝั่งมักพบในลากูน ชะวากทะเล และสันดอนจะงอยด้านที่มีกำบัง (ด้านในอ่าว) โดยกระแสน้ำพัดพาอนุภาคเล็ก ๆ ไปรอบ ๆ ด้านดังกล่าวของสันดอนและตะกอนเริ่มก่อตัวขึ้น สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์แบบนี้ช่วยให้ที่ลุ่มชื้นแฉะชายฝั่งสามารถดูดซับสารอาหารส่วนเกินจากน้ำที่ไหลผ่านได้ก่อนที่จะถึงมหาสมุทรและชะวากทะเล[5] ปัจจุบันที่ลุ่มชื้นแฉะชายฝั่งค่อย ๆ ลดจำนวนลงจากการพัฒนาชายฝั่งและการแผ่ขยายของเมืองอย่างมีนัยสำคัญ[10]

ที่ลุ่มชื้นแฉะน้ำจืดท่วมถึง

แก้

แม้ว่าอาจจัดให้จะเป็นที่ลุ่มชื้นแฉะน้ำจืด แต่ที่ลุ่มชื้นแฉะประเภทนี้มักได้รับผลกระทบจากกระแสน้ำขึ้นลงจากทะเล อย่างไรก็ตามหากไม่นับผลจากความเครียดจากความเค็มแล้วความหลากหลายของพืชและสัตว์ที่อาศัยในที่ลุ่มชื้นแฉะน้ำจืดท่วมถึงจะสูงกว่าที่ลุ่มชื้นแฉะชายฝั่งมาก ภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดต่อที่ลุ่มชื้นแฉะน้ำจืดท่วมถึงคือขนาดที่เพิ่มขึ้นและมลภาวะของเมืองที่อยู่รายรอบ

ที่ลุ่มชื้นแฉะน้ำจืด

แก้

เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่พบเห็นได้ทั่วไปในทวีปอเมริกาเหนือ ทั้งความหลากหลายของขนาดและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์

ในประเทศไทย พบได้ที่บึงบอระเพ็ด[11][12]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Keddy, P.A. 2010. Wetland Ecology: Principles and Conservation (2nd edition). Cambridge University Press, Cambridge, UK. 497 p
  2. "ที่ลุ่มชื้นแฉะ (marsh)". www.digitalschool.club.
  3. "พื้นที่ชุ่มน้ำ คืออะไร มีบทบาทและมีความสำคัญต่อระบบนิเวศอย่างไร". National Geographic Thailand (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-08-17.
  4. World Encyclopedia. "Marshes". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2013. สืบค้นเมื่อ 4 February 2012.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Rafferty, J.P. (2011). Lakes and Wetlands. New York, N.Y.: Britannica Educational service publishing's.
  6. "Swamps". Nature Works- New Hampshire PBS.
  7. "Classification and Types of Wetlands". EPA. 9 April 2015.
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :1
  9. Keddy, P.A. 2010. Wetland Ecology: Principles and Conservation (2nd edition). Cambridge University Press, Cambridge, UK. 497 p.
  10. B.R. Silliman, E.D. Grosholz, and M.D. Bertness (eds.) 2009. Human Impacts on Salt Marshes. A Global Perspective. University of California Press, Berkeley, California.
  11. "บึงบอระเพ็ด". bangkokbiznews. 2013-03-23.
  12. "ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด - paro12.dnp.go.th/paro12". paro12.dnp.go.th.