ถั่วแดงกวน
ถั่วแดงกวน (จีนตัวเต็ม: 豆沙/紅豆沙; จีนตัวย่อ: 豆沙/红豆沙; ญี่ปุ่น: 餡こ or 小豆餡; เกาหลี: 팥소) เป็นทั้งขนมและส่วนประกอบของขนมในอาหารเอเชียตะวันออก ทำจากการต้มถั่วแดงเมล็ดเล็ก (ถั่วอาซึกิ) บดและกวนให้เข้ากัน อาจเติมน้ำตาลหรือไม่เติมก็ได้ สีของถั่วแดงกวนมีสีแดงเข้มตามสีของผิวถั่วแดง ในอาหารเกาหลีมักปอกผิวสีแดงของถั่วแดงออกก่อนการกวนทำให้ได้ถั่วกวนสีขาว[1][2]
ถั่วแดงกวน | |
มื้อ | ของว่าง, ส่วนประกอบของขนม |
---|---|
ส่วนผสมหลัก | ถั่วแดงเมล็ดเล็ก, น้ำ, น้ำตาล |
ศัพทมูลวิทยา
แก้ชื่อในภาษาต่าง ๆ | |||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 豆沙 / 紅豆沙 | ||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 豆沙 / 红豆沙 | ||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | "ถั่วกวน" / "ถั่วแดงกวน" | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ชื่อภาษาเกาหลี | |||||||||||||||
ฮันกึล | 팥소 | ||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | "ไส้ถั่วแดงกวน" | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||||||||||||
คันจิ | 餡 / 小豆餡 | ||||||||||||||
คานะ | あん / あずきあん | ||||||||||||||
|
ในภาษาญี่ปุ่น คำเรียกชื่อของถั่วแดงกวนมีเป็นจำนวนมาก เช่น อัง (餡), อังโกะ (餡子), โองุระ (小倉) ซึ่งอังหมายถึง หวาน, กินได้, และของกวน ซึ่งไม่มีการระบุว่าเป็นถั่วแดง และบางคำเช่น อาซึกิอัง (小豆餡) ระบุว่าเป็นถั่วอาซึกิบด
คล้ายกับในภาษาจีน โต้วชา (豆沙) บางครั้งใช้เป็นชื่อเรียกสั้น ๆ แทน หงโต้วชา (红豆沙) ที่หมายถึง ถั่วแดงบดจนป่นคล้ายทราย คือ ถั่วแดงกวนนั่นเอง
วิธีทำ
แก้เริ่มจากการเตรียมถั่วแดงโดยล้างให้สะอาด เติมน้ำพักไว้ 6 ชั่วโมงหรือข้ามคืน จนเมล็ดพอง จากนั้นนำไปต้มไฟแรงจนสุกนิ่ม ต้มประมาณ 30–45 นาทีด้วยไฟกลาง เมื่อถั่วแดงนำไปบดโดยช้อนหรือเครื่องปั่นอาหาร อาจบดจนละเอียดหรือหยาบตามต้องการ แล้วให้เติมน้ำตาลลงไป กวนจนน้ำตาลละลาย และถั่วแดงงวด[3]
การใช้ประโยชน์
แก้อาหารจีน
แก้ถั่วแดงกวนใช้ประกอบในอาหารจีนหลายชนิด เช่น
- ถั่วแดงต้มน้ำตาล (紅豆湯/紅豆沙)
- บัวลอยไส้ถั่วแดง (湯圓)
- จ่างไส้หวาน (粽子)
- ขนมไหว้พระจันทร์ (月餅)
- ซาละเปาไส้ถั่วแดง (豆沙包)
- เจียนตุย (煎堆)
- หงโต้วเกา (红豆糕)
-
ขนมไหว้พระจันทร์
-
จ่างไส้หวาน
อาหารญี่ปุ่น
แก้ถั่วแดงกวนใช้ประกอบในขนมญี่ปุ่นหลายชนิด เช่น
- อังมิตสึ
- อัมปัง
- ไดฟูกุ
- ดังโงะหน้าถั่วแดงกวน
- โดรายากิ
- อิมากาวะยากิ
- มันจู
- โอชิรุโกะ
- ซากุระโมจิ
- ไทยากิ
- โยคัง
-
ไดฟูกุ ไส้ถั่วแดงกวน
อาหารเกาหลี
แก้ถั่วแดงกวนใช้ประกอบในของว่างในเกาหลีหลายชนิด เช่น
- Baram-tteok
- Bungeo-ppang
- Chalbori-ppang
- Chapssal doughnut
- Gyeongdan
- Hodu-gwaja
- Hoppang
- Hwangnam-ppang
- Jjinppang
- Kkulppang
- Patbingsu
- Songpyeon
- Ttongppang
-
Danpat-doneot filled with danpat-so
-
Hodu-gwaja filled with danpat-so
-
Baram-tteok filled with geopipat-so
อ้างอิง
แก้- ↑ (ในภาษาเกาหลี) Korean Society of Food Science and Technology (2008). "geopipat" 거피팥 [dehulled red bean]. Encyclopedia of food science and technology. Seoul: Kwangil publishing. ISBN 9788986752106. สืบค้นเมื่อ 2017-02-25 – โดยทาง Naver.
- ↑ (ในภาษาเกาหลี) "거피-팥 (去皮-)". Standard Korean Language Dictionary. National Institute of Korean Language. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-25. สืบค้นเมื่อ 2017-02-25.
- ↑ ถั่วแดงกวน. Wongnai, สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565.