ตำบลยาบี

ตำบลในอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ประเทศไทย

ยาบี เป็นตำบลของอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี มีพื้นที่ 18.00 ตารางกิโลเมตร (คิดเป็น 11,250.1 ไร่) และมีเขตการปกครองทั้งหมด 6 หมู่บ้าน

ตำบลยาบี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Yabi
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปัตตานี
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปัตตานี
ประเทศไทย
จังหวัดปัตตานี
อำเภอหนองจิก
พื้นที่
 • ทั้งหมด18.00 ตร.กม. (6.95 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด4,051 คน
 • ความหนาแน่น225.05 คน/ตร.กม. (582.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 94170
รหัสภูมิศาสตร์940311
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลยาบี
อบต.ยาบีตั้งอยู่ในจังหวัดปัตตานี
อบต.ยาบี
อบต.ยาบี
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลยาบี
พิกัด: 6°46′21.3″N 101°14′42.9″E / 6.772583°N 101.245250°E / 6.772583; 101.245250
ประเทศ ไทย
จังหวัดปัตตานี
อำเภอหนองจิก
พื้นที่
 • ทั้งหมด18.00 ตร.กม. (6.95 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (เดือนมีนาคม 2567)
 • ทั้งหมด4,051 คน
 • ความหนาแน่น225.05 คน/ตร.กม. (582.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06940308
ที่อยู่ที่ทำการหมู่ที่ 4 ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี 94170
เว็บไซต์www.yabee.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

ตำบลยาบีมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้[2]

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลลิปะสะโงและตำบลประจัน (อำเภอยะรัง)
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลประจันและตำบลยะรัง (อำเภอยะรัง)
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลคลองใหม่ (อำเภอยะรัง) และตำบลคอลอตันหยง
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลลิปะสะโง

ประวัติ

แก้

ในอดีตแต่เดิมนั้นประชาชนในท้องที่บริเวณตำบลยาบี อาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำปัตตานี มีการปลูกบ้านเรือนตามริมแม่น้ำลำคลอง ซึ่งมีน้ำไหลผ่าน ใช้ในการคมนาคมขนส่งทางน้ำ  และใช้อุปโภคบริโภค แม่น้ำปัตตานี ที่ไหลผ่านบ้านยาบี แยกเป็น 2 สาย คือ สายที่ 1 ไหลลงคลองตุยง ลงสู่ทะเลที่ปากอ่าวบางตาวา สายที่ 2 ไหลลงแม่น้ำปัตตานี ลงสู่ทะเลที่ปากอ่าวปัตตานี ซึ่งเล่ากันว่าเป็นสายที่เจ้าเมืองปัตตานีขุดขึ้นเพื่อให้ทางน้ำไหลไปยังเมืองปัตตานีในสมัยก่อน

ยาบีหรือเดิม จาบี เป็นภาษาชวา มาจากคำว่า จัมบี หมายถึง ต้นหมาก ซึ่งในสมัยก่อนหมู่บ้านยาบีที่อาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำปัตตานีนั้น ปลูกต้นหมากรากไม้เป็นจำนวนมาก และทำนาเป็นส่วนใหญ่ มีการคมนาคมทางน้ำ ใช้เรือ หรือเรือน้ำเป็นพาหนะ เป็นท่าเรือที่สำคัญ มีทั้งพ่อค้าจากในประเทศและต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น ได้สัญจรไปมาหรือมาค้าขายที่นี่ พบเห็นต้นหมากมากมายในพื้นที่แห่งนี้ จึงเรียกกันว่า จัมบี และเพี้ยนมาเป็นคำว่า จาบี และกลายเป็นคำว่า "ยาบี"[3] ในปัจจุบัน

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

ตำบลยาบีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ 1 บ้านยาบีใต้ (Ban Yabi Tai)
หมู่ 2 บ้านคลองช้าง (Ban Khlong Chang)
หมู่ 3 บ้านยาบีเหนือ (Ban Yabi Nuea)
หมู่ 4 บ้านใหม่ (Ban Mai)
หมู่ 5 บ้านคู (Ban Khu)
หมู่ 6 บ้านหนองปู (Ban Nong Pu)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่ตำบลยาบีมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลยาบี ซึ่งเดิมเป็นสภาตำบลยาบีที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2517[4]

ใน พ.ศ. 2538 สภาตำบลยาบีมี 6 หมู่บ้าน พื้นที่ 18.00 ตารางกิโลเมตร ประชากร 3,938 คน และ 653 ครัวเรือน[5] ใน พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยพิจารณาให้สภาตำบลยาบีอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ สภาตำบลยาบีจึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลยาบีใน พ.ศ. 2540[6]

ประชากร

แก้

พื้นที่ตำบลยาบีประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 6 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 4,051 คน แบ่งเป็นชาย 1,975 คน หญิง 2,076 คน (เดือนธันวาคม 2566)[7] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นลำดับที่ 8 ในอำเภอหนองจิก

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2566[8] พ.ศ. 2565[9] พ.ศ. 2564[10] พ.ศ. 2563[11] พ.ศ. 2562[12] พ.ศ. 2561[13] พ.ศ. 2560[14]
ใหม่ 1,031 995 992 980 984 955 941
คลองช้าง 740 735 729 722 715 705 702
ยาบีเหนือ 693 690 681 683 678 676 678
หนองปู 667 662 663 656 656 645 651
ยาบีใต้ 526 526 538 547 542 539 544
คู 394 396 401 415 417 421 432
รวม 4,051 4,004 4,004 4,003 3,992 3,941 3,948

อ้างอิง

แก้
  1. ประชากรในเขตตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (ตอนพิเศษ 77 ง): 73–109. วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2540
  3. ฐานข้อมูลการท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ ข้อมูลตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี (ประวัติความเป็นมา) เก็บถาวร 2024-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  5. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
  7. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  13. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  14. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.