ตำบลม่วงกลวง

ตำบลในอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ประเทศไทย

ม่วงกลวง เป็นตำบลในอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติแหลมสน[2] และมีพื้นที่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าควนแม่ยายหม่อน[3]

ตำบลม่วงกลวง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Muang Kluang
อุทยานแห่งชาติแหลมสน
ประเทศไทย
จังหวัดระนอง
อำเภอกะเปอร์
พื้นที่
 • ทั้งหมด56.24 ตร.กม. (21.71 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (เดือนสิงหาคม 2566)[1]
 • ทั้งหมด4,493 คน
 • ความหนาแน่น79.89 คน/ตร.กม. (206.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 85120
รหัสภูมิศาสตร์850310
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงกลวง
อบต.ม่วงกลวงตั้งอยู่ในจังหวัดระนอง
อบต.ม่วงกลวง
อบต.ม่วงกลวง
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงกลวง
พิกัด: 9°36′18.6″N 98°32′28.4″E / 9.605167°N 98.541222°E / 9.605167; 98.541222
ประเทศ ไทย
จังหวัดระนอง
อำเภอกะเปอร์
พื้นที่
 • ทั้งหมด56.24 ตร.กม. (21.71 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (เดือนสิงหาคม 2566)
 • ทั้งหมด4,493 คน
 • ความหนาแน่น79.89 คน/ตร.กม. (206.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06850304
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 100 หมู่ที่ 3 ถนนเพชรเกษม ตำบลม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง 85120
เว็บไซต์www.muangkluang.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

ตำบลม่วงกลวงมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ประวัติ แก้

ตำบลม่วงกลวงในช่วงรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี (พ.ศ 2411 - 2453) มีผู้อพยพมาจากเมืองถลาง (เกาะภูเก็ต) โดยทางเรือและได้พักอาศัยบริเวณต้นมะม่วงใหญ่ ลำต้นโพรงกลวงมีอายุประมาณ 100 ปี ภายหลังปี พ.ศ. 2430 มีหัวหน้าหมู่บ้านชื่อ นายพล นิยม และนายเขียว นิยม มีหน้าทีลาดตะเวนดูแลทางน้ำเพื่อระวังโจรผู้ร้ายที่อาศัยสัญจรทางเรือมีหลักฐานท่าที่จอดเรือเรียกว่าวังเรือเหวน จนเป็นที่รู้จักของคนรุ่นหลัง ต่อมาได้ขุดเจอซากเรือ ณ สถานที่ดังกล่าวมีการนำขึ้นมาบูชาบวงสรวงเป็นสิริมงคลตามความเชื่อของคนม่วงกลวง จึงมีชื่อเรียกว่า บ้านม่วงกลวง ต่อมามีผู้มาอาศัยจำนวนมากจนสามารถจัดตั้งเป็นตำบลในปี พ.ศ. 2453[4] จึงชื่อว่า ตำบลม่วงกลวงจนปัจจุบัน

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

ตำบลม่วงกลวงแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ 1 บ้านม่วงกลวง (Ban Muang Kluang)
หมู่ 2 บ้านบางเบน (Ban Bang Ben)
หมู่ 3 บ้านสำนัก (Ban Samnak)
หมู่ 4 บ้านอ่าวเคย (Ban Ao Khoei)

ชื่อหมู่บ้านในตำบลม่วงกลวงนี้อ้างอิงตามกรมการปกครอง เนื่องจากเป็นชื่อหมู่บ้านที่บัญญัติไว้ทางการในทะเบียนปกครอง

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่ตำบลม่วงกลวง มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงกลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลม่วงกลวงทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลม่วงกลวงที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2517[5] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงกลวงในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539[6]

ประชากร แก้

พื้นที่ตำบลม่วงกลวงประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 4 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 4,493 คน แบ่งเป็นชาย 2,231 คน หญิง 2,262 คน (เดือนสิงหาคม 2566)[7] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 2 จาก 5 ตำบลในอำเภอกะเปอร์

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2565[8] พ.ศ. 2564 [9] พ.ศ. 2563[10] พ.ศ. 2562[11] พ.ศ. 2561[12] พ.ศ. 2560[13] พ.ศ. 2559[14]
สำนัก 2,235 2,210 2,189 2,151 2,124 2,078 2,062
บางเบน 1,077 1,055 1,043 1,011 965 957 948
อ่าวเคย 858 869 874 874 874 872 864
ม่วงกลวง 312 314 307 301 302 304 304
รวม 4,482 4,448 4,413 4,337 4,265 4,211 4,178

อ้างอิง แก้

  1. ประชากรในเขตท้องที่ อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินหาดแหลมสน และเกาะใกล้เคียง ในท้องที่ตำบลราชกรูด อำเภอเมืองระนอง ตำบลม่วงกลวง ตำบลกะเปอร์ ตำบลบางหิน ตำบลนาคา ตำบลกำพ่วน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง และตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (135 ก): (ฉบับพิเศษ) 24-27. วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2526
  3. "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าละแม ป่าพะโต๊ะ ป่าปังหวาน และป่าปากทรง ในท้องที่ตำบลพระรักษ์ ตำบลพะโต๊ะ ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ ตำบลทุ่งคาวัด ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร และบริเวณที่ดินป่าละอุ่น ป่าราชกรูด และป่ากะเปอร์ ในท้องที่ตำบลราชกรูด อำเภอเมืองระนอง ตำบลกะเปอร์ ตำบลม่วงกลวง ตำบลเชี่ยวเหลียง ตำบลบ้านนา อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): (ฉบับพิเศษ) 35-37. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  4. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ [ในท้องที่มณฑลภูเก็ต]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 519–530. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2464
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
  7. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  13. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  14. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.