ตำบลบ่อเหล็กลอง
บ่อเหล็กลอง (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็น 1 ใน 9 ตำบลของอำเภอลอง จังหวัดแพร่ เป็นที่ตั้งของแหล่งแร่เหล็กบ่อเหล็กลอง เป็นแหล่งสินแร่เหล็กตามธรรมชาติ โดยแร่เหล็กเมืองลองยุคจารีตถือว่าเป็นเหล็กที่มีคุณภาพดี และสันนิษฐานว่านำไปใช้อย่างกว้างขวางในล้านนา กล่าวกันว่าบ่อเหล็กเมืองลองเป็นบ่อเหล็กที่ใช้ทำศาสตราวุธหรือที่เรียกว่า ดาบสรีกัญไชย ของกษัตริย์ล้านนา
ตำบลบ่อเหล็กลอง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Bo Lek Long |
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ในตำบลบ่อเหล็กลอง | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | แพร่ |
อำเภอ | ลอง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 101.06 ตร.กม. (39.02 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 4,011 คน |
• ความหนาแน่น | 39.68 คน/ตร.กม. (102.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 54150 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 540308 |
องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเหล็กลอง | |
---|---|
พิกัด: 18°03′24.5″N 99°46′33.9″E / 18.056806°N 99.776083°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | แพร่ |
อำเภอ | ลอง |
การปกครอง | |
• นายก | นายจิตพล เอ้ยวัน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 101.06 ตร.กม. (39.02 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 4,011 คน |
• ความหนาแน่น | 39.68 คน/ตร.กม. (102.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06540309 |
ที่อยู่ที่ทำการ | เลขที่ 99 หมู่ที่ 9 ตำบลบ่อเหล็กลอง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150 |
เว็บไซต์ | www |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้ตำบลบ่อเหล็กตั้ง มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดกับตำบลหัวทุ่ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่
- ทิศใต้ ติดกับตำบลแม่ป้าก อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่
- ทิศตะวันออก ติดกับตำบลปากกาง ตำบลทุ่งแล้ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่
- ทิศตะวันตก ติดกับตำบลดอนไฟ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
ประวัติ
แก้เดิมทั้ง 8 หมู่บ้านของตำบลบ่อเหล็กลอง (ปัจจุบันมี 9 หมู่บ้าน) รวมอยู่ในเขตตำบลหัวทุ่ง เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2536 ได้แยกตำบลเพิ่มขึ้นอีก 1 ตำบล[1] เนื่องจากในเขตตำบลหัวทุ่ง มีจำนวนหมู่บ้านมากเกินไป ทำให้เกิดความยุ่งยาก และลำบากในการปกครองดูแล ชื่อของตำบลตั้งชื่อตามแหล่งแร่เหล็ก ซึ่งเรียกว่า บ่อเหล็กลอง ซึ่งเดิมชาวบ้านเชื่อว่าเป็นแร่ที่มีคุณภาพดี มีความศักดิ์สิทธิ์นำมาทำอาวุธในสมัยโบราณ โดยแร่เหล็กเมืองลองยุคจารีตถือว่าเป็นเหล็กที่มีคุณภาพดี และสันนิษฐานว่านำไปใช้อย่างกว้างขวางในล้านนา กล่าวกันว่าบ่อเหล็กเมืองลองเป็นบ่อเหล็กที่ใช้ทำศาสตราวุธหรือที่เรียกว่า ดาบสรีกัญไชย ของกษัตริย์ล้านนา บ่อเหล็กนี้อยู่รอยต่อระหว่างบ้านนาตุ้ม หมู่ที่ 2 และบ้านแม่ลอง หมู่ที่ 4[2]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองท้องที่
แก้ตำบลบ่อเหล็กลองแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ | อักษรไทร | ตัวเมือง | อักษร
โรมัน |
ประวัติ | จำนวนหลังคาเรือน | จำนวนประชากร |
1 | บ้านนาตุ้ม | (Ban Na Tum) | หมู่ 7 (เดิม) โอนมาจากตำบลหัวทุ่ง | 155 | 562 | |
2 | บ้านนาตุ้ม | (Ban Na Tum) | หมู่ 8 (เดิม) โอนมาจากตำบลหัวทุ่ง | 190 | 639 | |
3 | บ้านทุ่งเจริญ | (Ban Thung Charoen) | หมู่ 14 (เดิม) โอนมาจากตำบลหัวทุ่ง | 111 | 336 | |
4 | บ้านแม่ลอง | (Ban Mae Long) | หมู่ 9 (เดิม) โอนมาจากตำบลหัวทุ่ง | 143 | 476 | |
5 | บ้านแม่แขม | (Ban Mae Khaem) | หมู่ 13 (เดิม) โอนมาจากตำบลหัวทุ่ง | 169 | 487 | |
6 | บ้านค้างตะนะ | (Ban Khang Tana) | หมู่ 10 (เดิม) โอนมาจากตำบลหัวทุ่ง | 113 | 405 | |
7 | บ้านต้นม่วง | (Ban Ton Muang) | หมู่ 16 (เดิม) โอนมาจากตำบลหัวทุ่ง | 296 | 572 | |
8 | บ้านแม่รัง | (Ban Mae Rang) | หมู่ 11 (เดิม) โอนมาจากตำบลหัวทุ่ง | 174 | 51 | |
9 | บ้านนาตุ้ม | (Ban Na Tum) | - | 141 | 555 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่ตำบลบ่อเหล็กลอง มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเหล็กลอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อเหล็กลองทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลบ่อเหล็กลอง ที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2536 และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเหล็กลองเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539[3] จนถึงปัจจุบัน
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอลอง จังหวัดแพร่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (173 ง): (ฉบับพิเศษ) 58-60. วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2536
- ↑ ข้อมูลตำบลบ่อเหล็กลอง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ .เว็บไทย ดอตคอม
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539