ตำบลท่าโพ

ตำบลในอำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี ประเทศไทย

ท่าโพ เป็นตำบลในอำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี

ตำบลท่าโพ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Tha Pho
ตำบลท่าโพตั้งอยู่ในจังหวัดอุทัยธานี
ตำบลท่าโพ
ตำบลท่าโพ
พิกัด: 15°21′52.0″N 99°59′12.5″E / 15.364444°N 99.986806°E / 15.364444; 99.986806
ประเทศไทย
จังหวัดอุทัยธานี
อำเภอหนองขาหย่าง
พื้นที่
 • ทั้งหมด14.53 ตร.กม. (5.61 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด2,261 คน
 • ความหนาแน่น155.60 คน/ตร.กม. (403.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 61130
รหัสภูมิศาสตร์610506
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

ตำบลท่าโพมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลหนองพังค่า ตำบลหนองแก และตำบลดอนขวาง (อำเภอเมืองอุทัยธานี)
  • ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลน้ำซึม (อำเภอเมืองอุทัยธานี)
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลหมกแถว
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลหนองขาหย่าง

ประวัติ

แก้

ท่าโพเป็นตำบลในอำเภอหนองพลวง จังหวัดอุทัยธานี ตั้งเป็นตำบลตั้งแต่ พ.ศ. 2443[2] มีหมู่บ้านมากถึง 7 หมู่บ้าน ต่อมาปี พ.ศ. 2485 เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กระทรวงมหาดไทยจึงยุบตำบลห้วยรอบเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ ได้โอน 3 หมู่บ้านของตำบลหมกแถวมาขึ้นกับตำบลท่าโพ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2490 ได้แยกหมู่ 5 บ้านหมกแถว หมู่ 6 บ้านหนองเขาขัน และหมู่ 7 บ้านทุ่งใหญ่ ไปตั้งเป็น ตำบลหมกแถว[3] ทำให้ตำบลท่าโพเหลือพื้นที่ 4 หมู่บ้านจนถึงปัจจุบัน

บ้านท่าโพเป็นหมู่บ้านคนไทยที่เก่าแก่ราว พ.ศ. 2304 สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เดิมเป็นพื้นที่ป่าดงดิบ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่ชุกชุมและมีหนองน้ำให้สัตว์อาศัยอยู่กินโดยเฉพาะวัวแดง จึงเรียกหนองน้ำนี้ว่า หนองวัวแดง ปัจจุบันนี้คือหนองประแดง ต่อมาได้มีผู้คนเข้ามาอาศัยเรียกบ้านนี้ว่า "ท่าโค" (ท่าวัวแดงลงกินน้ำ) ภายหลังได้เรียกเป็น บ้านท่าโพ หรืออีกนัยหนึ่ง เนื่องจากบริเวณกลางหมู่บ้านมีต้นโพใหญ่มีสายพันธุ์ของพระศรีมหาโพธิ์พุทธคยา "โพธิ์พันธุ์ศรี" และบริเวณนี้เดิมเป็นด่านชุมทางข้ามระหว่างอยุธยากับเชียงใหม่ จึงได้ชื่อบ้านนี้ว่า "บ้านท่าโพธิ์พันธุ์ศรี" ต่อมาเรียกกร่อนว่า บ้านท่าโพ จนถึงปัจจุบัน

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

พื้นที่ตำบลท่าโพประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 4 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 2,261 คน แบ่งเป็นชาย 1,035 คน หญิง 1,226 คน (เดือนธันวาคม 2566)[4] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดอันดับ 4 จาก 9 ตำบลในอำเภอหนองขาหย่าง

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2566[5] พ.ศ. 2565[6] พ.ศ. 2564[7] พ.ศ. 2563[8] พ.ศ. 2562[9] พ.ศ. 2561[10] พ.ศ. 2560[11]
ท่าโพ (ม.3) 757 754 746 754 767 758 775
ท่าโพ (ม.4) 532 528 531 540 546 557 565
พันสี (ม.1) 501 505 509 520 522 523 517
พันสี (ม.2) 471 463 455 449 442 436 433
รวม 2,261 2,250 2,241 2,263 2,277 2,274 2,290

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ปัจจุบันตำบลท่าโพทั้งตำบลอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพ ซึ่งเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลท่าโพ ในปี พ.ศ. 2517[12] ต่อมาปี พ.ศ. 2541 สภาตำบลท่าโพมี 4 หมู่บ้าน พื้นที่ 14.53 ตารางกิโลเมตร ประชากร 2,174 คน และ 583 ครัวเรือน[13] ปี พ.ศ. 2542 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลท่าโพอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพ[14]

อ้างอิง

แก้
  1. ประชากรในเขตท้องถิ่นตำบลท่าโพ อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 576–583. วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (46 ง): 2507–2533. วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2490
  4. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  5. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  6. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  7. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  13. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2541 (เขตตำบลท่าโพ อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (ตอนพิเศษ 82 ง): 3–38. วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2542