ตำบลช่อแล
ช่อแล เป็นตำบลในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ทั้งตำบลอยู่ในเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา เป็นที่ตั้งของเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล[2][3][4] และมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในอุทยานแห่งชาติศรีลานนา[5]
ตำบลช่อแล | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Cho Lae |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | เชียงใหม่ |
อำเภอ | แม่แตง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 10.25 ตร.กม. (3.96 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 4,139 คน |
• ความหนาแน่น | 403.80 คน/ตร.กม. (1,045.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 50150 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 500604 |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้ตำบลช่อแลมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[6]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลบ้านเป้า
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลแม่หอพระ
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลแม่หอพระ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลอินทขิล
ประวัติ
แก้ช่อแล ก่อตั้งเป็นหมู่บ้านเมื่อ พ.ศ. 2317 มีความเกี่ยวข้องปรากฏในตำนานเมืองแกน มีการสันนิษฐานว่าบริเวณหมู่บ้านช่อแลสมัยก่อนเป็นชุมชนของชาวลัวะมาก่อน ซึ่งปัจจุบันได้ผสมผสานกลมกลืนกับชาวพื้นเมืองไปแล้ว คนกลุ่มแรกที่มาเริ่มก่อตั้งหมู่บ้านเป็นกลุ่มคนจากหลากหลายชาติพันธุ์ ทั้งชาวลัวะ ชาวไทเขิน และชาวไทลื้อ ที่ได้เดินทางอพยพมารวมตัวกันสร้างหมู่บ้านขึ้นบริเวณริมลำน้ำแม่ปิง และลำน้ำแม่งัด
โดยชื่อ ช่อแล แบ่งเป็น 2 นัยตามคำบอกเล่าและหลักฐานที่ศึกษาไว้ นัยแรก สันนิษฐานว่าครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาประทับที่พระธาตุแม่หอพระ และได้ทอดพระเนตรไปทางทิศเหนือเห็นต้นยางสูงงาม จึงให้พระมหาเถระเอาเกศาไปบรรจุไว้ ณ ที่ตรงและให้ชื่อว่า บ้านยางแล ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น ช่อแล นัยสอง สันนิษฐานว่า คำว่า ช่อแล เป็นชื่อเรียกของพรรณไม้ชนิดหนึ่งมีดอกเป็นพวงใช้ต้มและแกง ชาวพื้นเมืองจึงเรียกว่า ชะแล หรือ สะแล[7]
พ.ศ. 2511 พ.ต.อ.นิรันดร ชัยนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับกำนันตำบลช่อแล กำนันตำบลอินทขิล ผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน ได้พิจารณาพื้นที่ทั้งตำบลช่อแล และบางส่วนของตำบลอินทขิล เป็นพื้นที่ตั้งของชุมชน ตลาด โรงสี สถานีบ่มใบยา จึงตั้งเป็น สุขาภิบาลเมืองแกนพัฒนา[8] และต่อมาในปี พ.ศ. 2542 สุขาภิบาลเมืองแกนพัฒนาได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาลตำบล[9] ด้วยผลของกฎหมาย
พ.ศ. 2549 เขตตำบลช่อแล และบางส่วนของตำบลอินทขิล ที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลเมืองแกนพัฒนา มี 16 หมู่บ้าน พื้นที่ 24.00 ตารางกิโลเมตร ประชากร 13,766 คน และ 5,074 ครัวเรือน[10] รายได้จริงโดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณ 2549 จำนวน 11,034,554 บาท ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเมืองแกนพัฒนา นายอำเภอแม่แตง และนายวิชัย ศรีขวัญ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ให้ความเห็นชอบในการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลเมือง และได้รับการจัดตั้งเป็น เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา ในปี พ.ศ. 2550[11]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้พื้นที่ตำบลช่อแลประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 6 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 4,139 คน แบ่งเป็นชาย 2,547 คน หญิง 2,501 คน (เดือนธันวาคม 2566)[12] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นลำดับที่ 12 ในอำเภอแม่แตง
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2566[13] | พ.ศ. 2565[14] | พ.ศ. 2564[15] | พ.ศ. 2563[16] | พ.ศ. 2562[17] | พ.ศ. 2561[18] | พ.ศ. 2560[19] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ช่อแล | 1,887 | 1,919 | 1,940 | 1,980 | 2,008 | 2,003 | 2,020 |
ใหม่ | 773 | 790 | 797 | 806 | 820 | 822 | 833 |
สันป่าสัก | 589 | 605 | 614 | 623 | 631 | 640 | 645 |
หนองบัว | 356 | 364 | 371 | 377 | 377 | 376 | 377 |
ป่าไผ่ | 306 | 300 | 303 | 305 | 295 | 311 | 314 |
วังดิน | 228 | 234 | 238 | 239 | 239 | 238 | 238 |
รวม | 4,139 | 4,212 | 4,263 | 4,330 | 4,370 | 4,390 | 4,427 |
อ้างอิง
แก้- ↑ ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา (เฉพาะตำบลช่อแล) อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "กฎกระทรวง ฉบับที่ ๙๒๔ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ [ให้เพิกถอนป่าแม่แตง ในท้องที่ตำบลกืดช้าง ตำบลอินทขิล ตำบลบ้านเป้า ตำบลป่าแป๋ ตำบลเมืองก๋าย ตำบลบ้านช้าง ตำบลแม่แตง ตำบลช่อแล ตำบลสบเปิง ตำบลสันมหาพน ตำบลแม่หอพระ ตำบลสันป่ายาง และตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ออกจากการเป็นป่าสงวนแห่งชาติ บางส่วน]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (204 ก): (ฉบับพิเศษ) 25-26. วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2523
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดการก่อสร้างการชลประทานโครงการแม่งัดในท้องที่อำเภอแม่แตง และอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการชลประทานที่เร่งด่วน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (51 ง): (ฉบับพิเศษ) 2. วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2527
- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอแม่แตง และอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๒๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (86 ก): (ฉบับพิเศษ) 4-6. วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2527
- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเชียงดาว ป่าแม่งัด และป่าแม่แตง ในท้องที่ตำบลปิงโค้ง ตำบลเชียงดาว ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว ตำบลสันทราย ตำบลป่าไหน่ ตำบลบ้านโป่ง ตำบลป่าตุ้ม ตำบลน้ำแพร่ ตำบลแม่แวน ตำบลแม่ปั๋ง ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว และตำบลบ้านเป้า ตำบลช่อแล ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (120 ก): 381–384. วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2532
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (ตอนพิเศษ 66 ง): 130–160. วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2540
- ↑ ประวัติชุมชนช่อแล หรือ จ่อแฮ ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (22 ง): 913–915. วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2512
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (เขตท้องถิ่นเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งเทศบาลตำบลเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 124: 1. วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 มีนาคม ปีเดียวกัน
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.