ตลับ ยมราช
ท่านผู้หญิงตลับ ยมราช (20 มกราคม พ.ศ. 2412 – 2 กันยายน พ.ศ. 2474)[2][3] เป็นสตรีชนชั้นสูงชาวไทย เป็นภรรยาเอกของมหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
ท่านผู้หญิง[1] ตลับ ยมราช | |
---|---|
ท่านผู้หญิงตลับและเจ้าพระยายมราช เมื่อครั้งยังเป็นพระวิจิตรวรสาส์น | |
เกิด | ตลับ 20 มกราคม พ.ศ. 2412 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 2 กันยายน พ.ศ. 2474 (62 ปี) |
คู่สมรส | เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) |
บุตร | 10 คน |
บิดามารดา | พระยาไชยวิชิตสิทธิสาตรา (นาค) คุณหญิงนวน ไชยวิชิตสิทธิสาตรา |
ประวัติ
แก้ท่านผู้หญิงตลับเกิดเมื่อวันพุธ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 ตรงกับวันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2411 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2412) ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุตรสาวของพระยาชัยวิชิตสิทธิศักดา มหานคราภิบาล (นาค) ผู้รักษาพระนครศรีอยุธยา กับคุณหญิงนวน เป็นพี่สาวต่างมารดาของพระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร์) อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์ และมีศักดิ์เป็นป้าของท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ เข้าเรียนที่โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง (ปัจจุบันคือโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย) แต่ก็ออกมาปรนิบัติบิดาและดูแลงานบ้านเพราะคุณหญิงนวนผู้เป็นมารดาถึงแก่กรรม
ด้านชีวิตครอบครัว ท่านสมรสกับมหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) อดีตเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ อดีตเสนาบดีกระทรวงนครบาล และอดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เมื่อปี 2431 ขณะที่เจ้าพระยายมราชมีบรรดาศักดิ์เป็น ขุนวิจิตรวรสาสน์ โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และเจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ 4 ผู้เป็นพระมารดาทำหน้าที่เป็นเถ้าแก่สู่ขอ มีบุตรธิดาด้วยกันทั้งสิ้น 10 คนแต่ที่มีชีวิตเติบโตเป็นผู้ใหญ่จำนวน 7 คน
ท่านผู้หญิงตลับ สุขุมถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2474[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2462 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[5]
- 2463 – เข็มข้าหลวงเดิมสำหรับสตรี[6]
- พ.ศ. 2464 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระราชทานเครื่องยศ
- ↑ หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ท่านผู้หญิงยมราช(ตลับ สุขุม)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-24. สืบค้นเมื่อ 2023-09-12.
- ↑ ข่าวตาย (หน้า 2096)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๐๙, ๒๓ พฤศจิกายน ๒๔๖๒
- ↑ "พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิมสำหรับสัตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22 สิงหาคม 1920.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๓๒, ๓๐ ตุลาคม ๒๔๖๔