ดินเบา หรือ ไดอะตอมไมต์ (diatomite) เป็นดินที่เกิดจากซากไดอะตอมในแหล่งไดอะตอม เป็นดินซุย เบา เนื้อพรุน มีลักษณะคล้ายชอล์ก มีปฏิกิริยาทางเคมีเชื่องช้า เป็นตัวนำความร้อนที่เลว จึงมีประโยชน์เป็นส่วนผสมในการทำกระดาษสาเพื่อให้เนื้อกระดาษแน่นเนียน เป็นฉนวน และเป็นสารที่ใช้ในการกรองได้ดี เช่น กรองน้ำตาลและสารกรองอื่น ๆ ดินชนิดนี้ใช้ขัดภาชนะโลหะได้ดี เพราะมีซิลิกาขนาดละเอียดยิบอยู่ในเนื้อ นอกจากนี้ยังใช้เป็นตัวดูดซับหรือฉนวนในระเบิดไดนาไมต์ด้วย

ตัวอย่างของดินเบาซึ่งเป็นเกรดอาหาร

ดินเบา เป็นหินตะกอนที่มีสารจำพวกซิลิกาเป็นองค์ประกอบ มีลักษณะอ่อนนุ่ม เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นผงขนาดเล็ก ละเอียดสีขาว มีขนาดของผงอยู่ในช่วง น้อยกว่า 1 ไมครอน ไปจนถึงมากกว่า 1 มิลลิเมตร แต่ที่พบโดยปกติจะอยู่ในช่วง 10 ถึง 200 ไมครอน องค์ประกอบทางเคมีคือ สารจำพวกซิลิกา 80-90% สารจำพวกอลูมินา (พบในแร่ดินเป็นส่วนใหญ่) 2-4% และ สารจำพวกเหล็กออกไซด์ 0.5-2%[1]

ไดอะตอมไมต์ประกอบด้วยซากดึกดำบรรพ์ของไดอะตอม ซึ่งเป็นจำพวกหนึ่งของสาหร่ายเปลือกแข็ง สามารถใช้เป็นเครื่องกรอง สารขัดถู ยาฆ่าแมลง ใช้ประโยชน์ในการแพทย์โดยเป็นตัวกระตุ้นให้เลือดแข็งตัวเร็ว เป็นส่วนประกอบของระเบิดไดนาไมต์ นอกจากนี้ใช้เป็นฉนวนความร้อน

ในภาษาอังกฤษ มีคำศัพท์หลายคำที่ใช้เรียกดินเบานี้ ได้แก่ diatomaceous earth, diatomite, infusorial earth, siliceous earth และทับศัพท์ (เยอรมัน: Kieselguhr) เป็นต้น

ลักษณะทางธรณีวิทยาและการเกิด

แก้
 
ภาพขยายของไดอะตอมไมต์โดยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด

ไดอะตอมไมต์มีการสะสมตัวโดยสารจำพวกซิลิกาอสัณฐาน หรือ โอปอล (SiO2·nH2O) เป็นไดอะตอม (สาหร่ายเซลล์เดียว) ที่ตายแล้ว สะสมตัวอยู่ในทะเลสาบน้ำจืดและทะเล ซากฟอสซิลประกอบด้วยเปลือก และผนังเซลล์ที่เป็นสารจำพวกซิลิกา ลักษณะสมมาตร[1]

ไดอะตอมไมต์เริ่มมีการสะสมตัวในช่วงยุคเทอร์เชียรี[2] ถึงยุคควอเทอร์นารี ส่วนการสะสมตัวในช่วงอายุแก่กว่า ได้แก่ยุคครีเทเชียสให้ลักษณะซากฟอสซิลที่ไม่สมบูรณ์[3] พบไดอะตอมไมต์สะสมตัวร่วมกับบริเวณภูเขาไฟ ทำให้ได้ลักษณะ ไดอะตอมไมต์ที่มีเถ้าฝุ่นภูเขาไฟผสมอยู่

การนำไปใช้ประโยชน์

แก้

อุตสาหกรรมวัตถุระเบิด

แก้

ในปีพ.ศ. 2409 อัลเฟรด โนเบลได้ค้นพบว่าสารไนโตรกลีเซอรีนสามารถทำให้เสถียรมากกว่าถ้าถูกดูดกลืนในไดอะตอมไมต์ และไนโตรกลีเซอรีนที่เก็บกับไดอะตอมไมต์มีความปลอดภัยมากกว่า ไนโตรกลีเซอรีนแบบปกติ ต่อมาเขาได้จดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ไดนาไมต์ ในปีพ.ศ. 2410

สารกรอง

แก้
 
ผนังเซลล์ของไดอะตอมแต่ละเซลล์
จะรักษารูปทรงไว้เสมอ แม้อยู่ในผลิตภัณฑ์เช่น สารกรองสำหรับสระว่ายน้ำ

ส่วนมากใช้ไดอะตอมไมต์ประมาณ 68% ซึ่งเป็นสารกรองขนาดกลางสำหรับกรองน้ำในสระว่ายน้ำ เหตุที่ใช้เป็นสารกรองเพราะมีรูพรุนเป็นจำนวนมาก สารกรองขนาดเล็กมีชื่อทางการค้าเช่น Celatom หรือ Celite ใช้ในการกรองน้ำดื่ม และกรองในอุตสาหกรรมของเหลวอื่น ๆ เช่น เบียร์ ไวน์ สามารถกรอง น้ำเชื่อม, น้ำตาล และน้ำผึ้ง ได้โดยไม่ทำให้สี รสชาติ และคุณค่าทางอาหารเปลี่ยนแปลง[4] นอกจากนี้ใช้ทำในอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น กระดาษ สี เซรามิก สบู่ ผงซักฟอก

สารขัดถู

แก้

ไดอะตอมไมต์ใช้เป็นสารขัดถูอย่างอ่อนโยน โดยใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยาสีฟัน สารขัดเครื่องโลหะ และ สครับขัดหน้า

สารฆ่าแมลง

แก้

ไดอะตอมไมต์สามารถใช้เป็นยาฆ่าแมลง โดยไดอะตอมไมต์เป็นผงขนาดเล็กสามารถดูดซับไขมันจากชั้นเคลือบนอกสุดของโครงร่างของแมลง ซึ่งชั้นเคลือบนี้ปกป้องการสูญเสียน้ำภายในตัวแมลง เมื่อเคลือบถูกทำลายจึงทำให้แมลงเกิดภาวะขาดน้ำ และทำให้ตายได้ในที่สุด[5]

สารฉนวนกันความร้อน

แก้

ไดอะตอมไมต์มีลักษณะเป็นฉนวนกันความร้อน ใช้ในการผลิตวัตถุกันไฟไหม้ได้

 
ไดอะตอมในทะเล ที่มีชีวิต
จากแอนตาร์กติกา (ภาพขยาย)

สาร DNA บริสุทธิ์

แก้

ไดอะตอมไมต์สามารถสกัดเอาดีเอ็นเอ ออกมา ในสารเคมีเข้มข้นสูง เมื่อเทียบกับสารจำพวกซิลิเกตอื่น ๆ ไดอะตอมสามารถสกัดออกมาได้ทั้งดีเอ็นเอ, อาร์เอ็นเอ และสารจำพวกโปรตีน

การเกษตร

แก้

ในธรรมชาติไดอะตอมไมต์น้ำจืดใช้ในการการเกษตรโดยใช้ผสมกับสารเพื่อไม่ให้สารจับเป็นก้อน เช่น ผสมในสารฆ่าแมลง[6] สามารถใช้กำจัดหนอน โดยสารฆ่าแมลงดังกล่าวเป็นสารอินทรีย์ ทำให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

วัสดุก่อสร้าง

แก้

ไดอะตอมไมต์ที่หมดสภาพจากการใช้ในกระบวนการผลิตเบียร์ สามารถนำมาเพิ่มเป็นมวลในกระบวนการผลิตอิฐแดงซึ่งให้เนื้ออิฐที่มีรูพรุนสูง[7]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Antonides, Lloyd E. (1997). Diatomite (PDF). USGS. สืบค้นเมื่อ December 12, 2010.
  2. พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา. ราชบัณฑิตยสถาน. 2558. ISBN 978-616-707-397-2.
  3. Cummins, Arthur B., Diatomite, in Industrial Minerals and Rocks, 3rd ed. 1960, American Institute of Mining, Metallurgical, and Petroleum Engineers, pp. 303–319
  4. Amos Ives Root; Ernest Rob Root (March 1, 2005). The ABC And Xyz of Bee Culture. Kessinger Publishing. p. 387. ISBN 978-1-4179-2427-1.[ลิงก์เสีย]
  5. Fields, Paul; Allen, Sylvia; Korunic, Zlatko; McLaughlin, Alan; Stathers, Tanya (July 2002). "Standardized testing for diatomaceous earth" (PDF). Proceedings of the Eighth International Working Conference of Stored-Product Protection. York, U.K.: Entomological Society of Manitoba. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-04-02. สืบค้นเมื่อ 2019-11-16.
  6. "Prevention and Management of Insects and Mites in Farm-Stored Grain". Province of Manitoba. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 18, 2013. สืบค้นเมื่อ July 7, 2013.
  7. Ferraz; และคณะ (2011). "Manufacture of ceramic bricks using recycled brewing spent kieselguhr". Materials and Manufacturing Processes. 26 (10): 1319–1329. doi:10.1080/10426914.2011.551908.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้