ดำรงค์ พิเดช
นายดำรงค์ พิเดช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[1] เป็นชาวจังหวัดอุทัยธานีโดยกำเนิด ชีวิตราชการของนายดำรงค์เติบโตมาจากการปลูกป่าต้นน้ำในพื้นที่ภาคเหนือ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำดอยตุงที่จังหวัดเชียงราย จนกระทั่งมีโอกาสได้ถวายงานสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ร่วมกับ มรว.ดิศนัดดา ดิศกุล ราชเลขานุการในพระองค์ ในโครงการพัฒนาดอยตุงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นระยะเวลากว่า 10 ปี จวบจนพระองค์ท่านสวรรคต และยังคงถวายงานรับใช้สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ โดยเป็นประธานคณะทำงานบ้านเล็กในป่าใหญ่จังหวัดพะเยา รวมถึงเป็นประธานคณะทำงานสถานีพัฒนาเกษตรที่สูงในขณะที่ดำรงตำแหน่งป่าไม้เขตเชียงราย จากนั้นจึงมาเริ่มงานในตำแหน่งอื่นๆ ในกรุงเทพมหานคร โดยตำแหน่งอธิบดีนั้นได้รับแต่งตั้งทั้งหมด 2 ครั้ง ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ โดยครั้งแรกอยู่ในตำแหน่งเพียงแค่ 1 ปี แล้วถูกโยกย้ายระหว่างเกิดการรัฐประหาร ปี 2549 และครั้งที่สองนั้นมารับตำแหน่งก่อนเกษียณเพียงแค่ 1 ปี
ดำรงค์ พิเดช | |
---|---|
เกิด | 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 |
สัญชาติ | ไทย |
อาชีพ | รับราชการ |
มีชื่อเสียงจาก | อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นักสู้ผู้พิทักษ์ป่า-สัตว์ป่า-พันธุ์พืช ปรากฏการณ์ดำรงค์ พิเดช |
ประวัติ
แก้จากเหตุการณ์คืนวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ปฏิบัติการทวงคืนผืนป่าอุทยานแห่งชาติทับลาน นำโดยนายดำรงค์ พิเดช ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชขณะนั้น ถือเป็นครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ของกรมอุทยานฯ[2] โดยมีการระดมกำลังเจ้าหน้าที่อุทยานฯจากทั่วประเทศกว่า 4000 นาย ลงพื้นที่รื้อถอนรีสอร์ต จำนวน 9 แห่ง รวมพื้นที่ 1,857 ไร่ โดยในการรื้อถอนครั้งนี้มีรีสอร์ทขนาดใหญ่ที่สุดในพื้นที่วังน้ำเขียว ทับลาน รวมอยู่ด้วยคือ บ้านทะเลหมอกรีสอร์ท ที่มีมูลค่าการลงทุนกว่า 200 ล้าน ในเนื้อที่ 70 กว่าไร่[3] ซึ่งระหว่างปฏิบัติการก็มีกลุ่มคนที่มาขัดขวางการรื้อถอน
ภายหลังการรื้อถอนบ้านทะเลหมอกรีสอร์ท ได้มีข่าวโยกย้ายนายดำรงค์ ขณะเดียวกันได้มีการรวมกลุ่มของสมาคมศิษย์เก่าคณะวนศาสตร์ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร มูลนิธิเพื่อนช้าง สมาคมอุทยานแห่งชาติ และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เครือข่ายการจัดการวิกฤตป่าไม้และน้ำ 15 องค์กร สนับสนุนการการปฏิบัติหน้าที่ของอธิบดีกรมอุทยานฯ ว่าเป็นการปฏิบัติงานในหน้าที่โดยชอบที่ข้าราชการที่ดีทั้งหลายพึงต้องปฏิบัติ เป็นการพิทักษ์ ปกป้องพื้นที่ป่าไม้ที่ได้ประกาศให้เป็นพื้นที่อุทยานฯ เป็นความกล้าหาญของข้าราชการที่กล้ากระทำในสิ่งที่ถูกต้อง แม้ว่าจะถูกกดดันจากอิทธิพลรอบด้าน และกระแสผลประโยชน์ของเงินทุน แม้ว่าตนเองจะเกษียณอายุราชการในอีกไม่กี่วันข้างหน้าก็ตาม[4] ฝ่ายเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกิดความฮึกเหิมในการทำหน้าที่ และคนที่เป็นอธิบดีคนต่อไปถ้าไม่ดำเนินการตามนี้ สังคมก็จะจับตาและตั้งคำถามต่อไป จนเกิดปรากฏการณ์ดำรงค์ พิเดช ขึ้น[5]
เรื่องปัญหาการบุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานมีความสำคัญมากเพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่มรดกโลกกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ การดำเนินการรื้อถอนบ้านพักและรีสอร์ทที่บุกรุกพื้นที่จึงเป็นไปตามข้อบังคับของคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งศูนย์มรดกโลกได้ส่งตัวแทนเข้ามาติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ และมีข้อมติจากคณะกรรมการมรดกโลกให้ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งจะนำเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 36 ที่ประเทศรัสเซีย เช่น แก้ปัญหาและติดตามการบุกรุกพื้นที่มรดกโลกอย่างใกล้ชิด และมีการปรับปรุงแนวเขตที่เหมาะสม มีการพิจารณาขยายผนวกพื้นที่มรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่บุกรุก ลดกิจกรรมการเลี้ยงปศุสัตว์ ลดผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนห้วยโสมง การดำเนินการถนนสาย 304 เพื่อเชื่อมต่อผืนป่า เป็นต้น[6]
การศึกษา
แก้- จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น รร.อุทัยทวีเวช อ.เมือง จ.อุทัยธานี
- จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย รร.สันติราษฎร์บำรุง กทม.
- จบการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต (วนศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- จบการศึกษาระดับปริญญาโท พัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
ตำแหน่งหน้าที่
แก้- ผู้ช่วยโครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำอ่างขาง บ้านหลวง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
- เจ้าหน้าที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ
- ผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำ ห้วยน้ำดัง จ.เชียงใหม่ (เริ่มต้นบรรจุเป็นข้าราชการ)
- หัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำดอยตุง อ.แม่จัน จ.เชียงราย
- หัวหน้าฝ่ายป้องกันรักษาป่า สำนักงานป่าไม้เขตเชียงราย (สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15)
- ป่าไม้จังหวัดเชียงราย
- ป่าไม้เขตเชียงราย (สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15)
- ผู้อำนวยการโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ บ้านเย้า (หนองห้า) อ.เชียงคำ จ. พะเยา
- ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาเกษตรบนพื้นที่สูงตามแนวทางพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าฯ เช่น บ.ปางขอน ต.ห้วยชมภู อ.เมือง จ.เชียงราย, บ.ธารทอง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย, บ.ห้วยหยวกป่าโซ่ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย เป็นต้น
- ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
- ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้
- รองอธิบดีกรมป่าไม้
- 6 พฤศจิกายน 2548 อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
- 1 ตุลาคม 2549 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- 6 พฤษภาคม 2551 รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
- ที่ปรึกษามูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ ๕ จังหวัด
- 6 กันยายน 2554 อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (เกษียณ 30 กันยายน 2555)
- 12 ธันวาคม 2555 หัวหน้าพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย (ทป.)
- 20 สิงหาคม 2556 ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
- 19 กรกฎาคม 2557 ที่ปรึกษาฝ่ายสังคมจิตวิทยา ในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- 6 ตุลาคม 2557 สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
- 5 ตุลาคม 2558 สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)
งานการเมือง
แก้ดำรงค์ พิเดช ได้จัดตั้งพรรคการเมือง และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย โดยภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นพรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย[7] แต่การเลือกตั้งครั้งดังกล่าว เป็นโมฆะตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทยได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 คน รวมถึงนายดำรงค์ด้วย[8]
รางวัล
แก้- 10 มกราคม 2555 โล่เกียรติยศและใบประกาศเชิดชูเกียรติยศ จากสมาคมนักข่าวอาชญากรรมแห่งประเทศไทย วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมเชิดชูบุคคลที่ทำดี ยึดถือถือกฎหมายเป็นที่ตั้ง ปกป้องทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า เสียสละเพื่อส่วนรวมและทำความดีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ระหว่างตำรวจกับประชาชน[9]
- 17 กันยายน 2555 รางวัลนายผี สาขาบังคับใช้กฎหมายดีเด่น จากมูลนิธิอัศนี พลจันทร[10]
- 18 กันยายน 2555 โล่เกียรติคุณ เนื่องในโอกาสครบรอบ 116 ปีวันสถาปนากรมป่าไม้ และครบรอบ 10 ปี กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช[11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[14]
- พ.ศ. 2548 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[15]
- พ.ศ. 2545 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[16]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-06-03.
- ↑ 'ดำรงค์' เล็งรื้อรีสอร์ททับลาน 'บ้านทะเลหมอก' มูลค่า 200 ล้านโดนด้วย
- ↑ 'ดำรงค์' ไม่สนม็อบขวาง ลุยรื้อสิ่งปลูกสร้างรุกป่าทับลาน
- ↑ ศิษย์เก่าวนศาสตร์-มูลนิธิสืบ หนุนทุบรีสอร์ตรุกป่าทับลาน-วังน้ำเขียว
- ↑ ฮือต้านย้าย ดำรงค์ พิเดช
- ↑ 'ดำรงค์' เล็งรื้อรีสอร์ททับลาน 'บ้านทะเลหมอก' มูลค่า 200 ล้านโดนด้วย
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย)
- ↑ "กกต.ประกาศรายชื่อพรรคการเมือง-รายชื่อผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นส.ส.บัญชีรายชื่อ". ไทยโพสต์. 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ดำรงค์ พิเดช" คว้ารางวัลสมาคมนักข่าวฯ
- ↑ "มอบรางวัล "ดำรงค์ พิเดช" สาขาบังคับใช้กฎหมายดีเด่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-03. สืบค้นเมื่อ 2012-09-19.
- ↑ ป่าไม้-อุทยานฯจัดครบรอบ 116 ปี มอบโล่ “ดำรงค์-สุวิทย์” ก่อนอำลาชีวิตราชการ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๔ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๓, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๓๑, ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2021-08-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๒๔๙, ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๖