ดาชาแห่งเซวัสโตปอล

ดาเรีย ลัฟเรนเตียฟนา มิไฮโลวา (รัสเซีย: Дарья Лаврентьевна Михайлова)[1] (พฤศจิกายน ค.ศ. 1836–1892) เป็นพยาบาลชาวรัสเซียซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างการล้อมเมืองเซวัสโตปอล ในสงครามไครเมีย ระหว่างปี ค.ศ. 1853–1856 ซึ่งทำให้เธอเป็นที่รู้จักในชื่อ ดาชาแห่งเซวัสโตปอล (รัสเซีย: Даша Севастопольская)[2] เธอกลายเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มการพยาบาลสมัยใหม่ ควบคู่ไปกับงานของฟลอเรนซ์ ไนติงเกล

ดาชาแห่งเซวัสโตปอล
Даша Севастопольская
ดาเรีย ลัฟเรนเตียฟนา มิไฮโลวา
(Дарья Лаврентьевна Михайлова)
ดาชาแห่งเซวัสโตปอล ประติมากรรมปั้นครึ่งตัวบนอาคารปริทัศน์ของการป้องกันเซวัสโตปอล (панорамы обороны Севастополя) โดยวลาดีมีร์ วาซิลเยวิช ปิตเรนโก (Петренко, В. В.)
เกิดค.ศ. 1836
หมู่บ้านครูชิซี, จังหวัดคาซัน
เสียชีวิตค.ศ. 1892 (56 ปี)
หมู่บ้านชือลานกึย, จังหวัดคาซัน
พลเมืองจักรวรรดิรัสเซีย
อาชีพพยาบาล
คู่สมรสมักซิม คโวรอสตอฟ

ประวัติ

แก้

มิไฮโลวา เกิดในชุมชนใกล้กับหมู่บ้านครูชิซี (รัสเซีย: Ключищи) ตำบลตาเชฟสกายา (รัสเซีย: Ташевская) ในจังหวัดคาซัน พ่อของเธอเป็นกะลาสีในกองทัพเรือจักรวรรดิรัสเซีย เขาเสียชีวิตลงในยุทธการซิโนปี (ตุรกี: Sinop Baskını) ในปี ค.ศ. 1853 (พ.ศ. 2396)[3] ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นสงครามไครเมีย ขณะนั้นเธอมีอายุ 17 ปี

ก่อนสงคราม เธอทำงานเป็นพนักงานซักผ้าและช่างเย็บปักถักร้อยให้กับบุคลากรของกองทัพเรือจักรวรรดิรัสเซียในเขตโคราบืลนาเย (ยูเครน: Корабельная сторона) ของเมืองเซวัสโตปอล ใกล้อู่ต่อเรือเซวัสโตปอล เธอออกจากบ้านเมื่อเกิดสงครามเพื่อช่วยดูแลทหารรัสเซียที่ได้รับบาดเจ็บในสนามรบระหว่างยุทธการอัลมา (กันยายน ค.ศ. 1854) เธอตั้งสถานพยาบาลโดยใช้น้ำส้มสายชูและแถบผ้าจากเสื้อของเธอเพื่อทำความสะอาดและแต่งบาดแผลของทหาร เธอได้รับยกย่องเป็นภคินีเมตตาธรรม (รัสเซีย: сестра милосердия) ของกองทัพจักรวรรดิรัสเซียคนแรกระหว่างสงครามไครเมีย

จักรพรรดินีโคลัสที่ 1 (สวรรคต ค.ศ. 1855) พระราชทานเครื่องอิสริยาภรณ์นักบุญเจ้าชายวลาดีมีร์ (รัสเซีย: орден Святого Владимира) แก่เธอพร้อมด้วยรางวัลเหรียญทอง "แห่งความขยันหมั่นเพียร" (รัสเซีย: Медаль «За усердие») ซึ่งเธอเป็นหญิงชาวรัสเซียชนชั้นล่างเพียงคนเดียวที่ได้รับรางวัลนี้ เธอยังได้รับรางวัลเหรียญเงิน 500 รูเบิล ต่อมาเธอได้สมรสกับพลทหารมักซิม คโวรอสตอฟ (Максим Хворостов) ในปี ค.ศ. 1855 และจักรพรรดิพระราชทานเงินขวัญถุงอีก 1,000 รูเบิลเหรียญเงิน[4]

ทั้งคู่เปิดกิจการโรงแรมขนาดเล็กในหมู่บ้าน แล้วย้ายไปที่เมืองนีโคลาเยฟ (รัสเซีย: Никола́ев) แต่ในที่สุดดาชาก็กลับมาที่เมืองเซวัสโตปอล ซึ่งเธอได้เปิดร้านจำหน่ายสุราพร้อมทั้งทำงานในโรงพยาบาล เมื่อเกษียณเธอได้รับรูปเคารพพระคริสต์ซึ่งผู้เคยเป็นผู้ป่วยของเธอร่วมกันบริจาคเงินซื้อเป็นของขวัญ

เธอเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1892 บันทึกระบุว่าเธอได้รับการฝังในสุสานของเมืองโคราบืลนาเย ขณะที่อีกแหล่งข้อมูลระบุว่าเธอกลับไปที่บ้านเกิดซึ่งไม่มีญาติของเธอเหลืออยู่ หลังจากบริจาครูปเคารพของนักบุญนิโคลัสให้กับโบสถ์ท้องถิ่น เธอออกจากหมู่บ้านชือลานกึย (ตาตาร์: Шылаңгы) ใกล้กับหมู่บ้านที่เป็นบ้านเกิดของเธอ และเสียชีวิตในอีกหกเดือนต่อมา

ในวัฒนธรรม

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Татьяна Обуховец (2017). Сестринское дело и сестринский уход [Nursing and nursing care] (ภาษารัสเซีย). Мoscow: Кнорус. pp. 38–40. ISBN 978-5-406-05333-1.
  2. Pirogov, Nikolai Ivanovich. from Cherry February 27, 1876 to E. F. Raden (Letter). About the Exaltation of the Cross Community. (ในภาษารัสเซีย).
  3. From the report of Adjutant General A. I. Filosofov, Russian State Military Historical Archive. (ในภาษารัสเซีย).
  4. Даша Севастопольская, легенда крымской войны [Dasha Sevastopolskaya, legend of the Crimean War] (ภาษารัสเซีย). Сетевое издание «РИА Новости». 13 พฤษภาคม 2005. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2014.

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้