ดัทสัน (อังกฤษ: Datsun; UK: /ˈdætsən/, US: /ˈdɑːtsən/)[1] คืออดีตตราสินค้าย่อยของบริษัทผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นอย่างนิสสัน (Nissan) โดยเริ่มต้นทำการผลิตครั้งแรกในปี พ.ศ. 2474 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501–2529 รถยนต์ที่นิสสันส่งออกไปขายต่างประเทศเท่านั้นที่จะใช้ชื่อดัทสัน ต่อมานิสสันได้ยุติการใช้ชื่อดัทสันในเดือนมีนาคม 2529 แต่ได้นำกลับมาใช้อีกครั้งในเดือนมิถุนายน 2556 เพื่อทำตลาดรถยนต์ราคาประหยัดในตลาดเกิดใหม่ อย่างไรก็ตาม นิสสันพิจารณาที่จะยุติการใช้ชื่อดัทสันอีกครั้งในปี 2562 และ 2563[2] สุดท้าย ดัทสันก็ต้องยุติการผลิตอย่างถาวรในเดือนเมษายน 2565 เนื่องจากยอดขายที่ไม่ดี[3]

ดัทสัน
อุตสาหกรรมยานยนต์
ก่อตั้ง
  • เริ่มต้น: พ.ศ. 2474; 93 ปีก่อน
  • กลับมาอีกครั้ง: พ.ศ. 2556; 11 ปีก่อน
เลิกกิจการ
  • เริ่มต้น: พ.ศ. 2529
  • กลับมาอีกครั้ง: พ.ศ. 2565
สาเหตุยกเลิกการผลิต
สำนักงานใหญ่โตเกียว, ญี่ปุ่น
พื้นที่ให้บริการ
  • อินเดีย (สิ้นสุด 2565)
  • อินโดนีเซีย (สิ้นสุด 2563)
  • รัสเซีย (สิ้นสุด 2565)
  • แอฟริกาใต้ (สิ้นสุด 2565)
บุคลากรหลัก
ผลิตภัณฑ์รถยนต์, รถกระบะขนาดเล็ก
บริษัทแม่นิสสัน
เว็บไซต์datsun.com

ในปี พ.ศ. 2474 บริษัท ดัท มอเตอร์คาร์ จำกัด (DAT Motorcar Co.) เลือกที่จะตั้งชื่อรถยนต์ขนาดเล็กรุ่นใหม่ว่า “ดัทซัน” (Datson) ซึ่งเป็นชื่อที่บ่งบอกถึงขนาดรถใหม่ที่เล็กกว่าเมื่อเทียบกับรถขนาดใหญ่กว่าของ DAT ที่ผลิตอยู่แล้ว เมื่อนิสสันเข้าควบคุม DAT ในปี พ.ศ. 2477 ชื่อดัทซันก็ได้ถูกเปลี่ยนเป็น “ดัทสัน” เนื่องด้วยเหตุสองประการ คือ คำว่า “ซัน” มีความหมายตรงกับคำว่า “สูญเสีย” (損) ในภาษาญี่ปุ่น และเพื่อเป็นการสรรเสริญพระอาทิตย์ซึ่งปรากฎบนธงชาติญี่ปุ่น จึงเป็นที่มาของชื่อดัทสัน: ดัทโตะซัน (ダットサン, Dattosan)[4] ชื่อดัทสันเป็นที่รู้จักกันดีในระดับสากลสำหรับรถยนต์รุ่นเด่น ๆ ได้แก่ 510, แฟร์เลดี้ โรดสเตอร์ และแฟร์เลดี้ แซด และแซดเอกซ์ คูเป้

ประวัติ

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. แม่แบบ:Cite LPD
  2. Gastelu, Gary (2020-05-13). "Nissan is killing Datsun again, report says". Fox News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-19.
  3. Pappas, Thanos (2022-04-22). "Datsun Is Officially Dead For The Second Time Around". Car Scoops. สืบค้นเมื่อ 2022-04-25.
  4. Consumano, Michael A. (1985). The Japanese Automobile Industry. Harvard University Asia Center. p. 33. ISBN 9780674472556. Also, the symbol was derived from [lemons] which are famous in Japan

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้