ดอนต์เพย์ยูเค (Don't Pay UK) เป็นการรณรงค์ในสหราชอาณาจักรซึ่งดำเนินการในระดับรากหญ้าโดยตรงที่กระตุ้นให้ร่วมกันไม่ชำระเงินค่าพลังงาน[1][2] มีกำหนดการเริ่มให้คำมั่นโดยบุคคลทั่วไปที่จะยกเลิกการชำระค่าพลังงาน ซึ่งหากมีคนลงทะเบียนถึงหนึ่งล้านคนจะมีผลในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 และมีแผนที่จะเพิ่มข้อเรียกร้องเรื่องเพดานราคาพลังงาน กลุ่มรณรงค์เชื่อว่านี่เป็นการยกระดับที่เพียงพอที่จะทำให้บริษัทพลังงานลดราคาลงสู่อัตราที่เหมาะสม

ดอนต์เพย์ยูเค
Don't Pay Energy Bills, Oct 1, dontpay.uk
ก่อตั้งมิถุนายน พ.ศ. 2565; 1 ปีที่แล้ว (2565-06)
ประเภทกลุ่มแอดโวเคซี (Advocacy group)
วัตถุประสงค์เพื่อให้มีการลดค่าพลังงานโดยมวลชนปฏิเสธการจ่าย
ภูมิภาค
สหราชอาณาจักร
เว็บไซต์dontpay.uk

กลุ่มนี้ก่อตั้งโดยนักเคลื่อนไหว 15–20 คนในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 พวกเขาได้รับแรงบันดาลใจจากการเคลื่อนไหวต่อต้านภาษีการทำประชามติ (poll tax) ซึ่งมีผู้ปฏิเสธที่จะจ่ายภาษี 17 ล้านคน โดยภาษีถูกเสนอโดยมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งทำให้มีกระบวนการถอดถอนจากตำแหน่ง พวกเขาตั้งเป้าให้กลุ่มท้องถิ่นสร้างความตระหนักในการให้คำมั่นผ่านแผ่นพับ รัฐบาลกล่าวว่าคำมั่นกลับจะนำไปสู่การขึ้นราคาพลังงานที่เร็วขึ้นและจะทำให้คะแนนเครดิตของผู้เข้าร่วมการรณรงค์ลดลง

คำมั่นเกิดขึ้นในบริบทของการเพิ่มขึ้นอย่างมากของเพดานราคาพลังงานในสหราชอาณาจักรโดยหน่วยงานกำกับดูแลการตลาดแก๊สและไฟฟ้าของรัฐ (Ofgem) ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ขีดจำกัดค่าพลังงานเพิ่มขึ้นเป็น 693 ปอนด์ต่อปี ซึ่งในราคานั้น 6.5 ล้านคนไม่สามารถจ่ายเพื่อการทำความอบอุ่นแก่บ้านได้อย่างเต็มที่ การเพิ่มขึ้นครั้งต่อไปซึ่งกำหนดมีขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 อาจนำไปสู่ราคาพลังงานเฉลี่ย 3,800 ปอนด์ต่อปีในปี พ.ศ. 2566 จุดยืนของรัฐบาลสหราชอาณาจักรคือการขึ้นราคาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เนื่องจากปัจจัยทั่วโลก เช่น การรุกรานยูเครนของรัสเซีย โดยอ้างว่าครัวเรือนที่เปราะบางจำนวนแปดล้านครัวเรือนจะได้รับเงินสนับสนุน 1,200 ปอนด์

ภูมิหลัง แก้

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 Ofgem ผู้ควบคุมราคาพลังงานของสหราชอาณาจักรได้เพิ่มขีดจำกัดค่าพลังงานซึ่งเป็นจำนวนเงินสูงสุดที่ครัวเรือน "ทั่วไป" สามารถถูกเรียกเก็บเงินสำหรับแก๊สหรือไฟฟ้าได้เป็น 693 ปอนด์ต่อปี[3] ซึ่งราคานี้ 6.5 ล้านรายจะไม่สามารถจ่ายเพื่อให้ความอบอุ่นแก่บ้านได้เพียงพอ[4] ในเดือนกรกฎาคม Ofgem กำหนดที่จะเพิ่มเพดานวงเงินอีก 1,800 ปอนด์ต่อปีในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 คาดว่าภายในต้นปี พ.ศ. 2566 ใบแจ้งหนี้ค่าพลังงานจะเฉลี่ย 3,800 ปอนด์ต่อปี[3][5] การเพิ่มขึ้นนี้ประเมินโดยโครงการรณรงค์ End Fuel Poverty Coalition ซึ่งจะมีอีก 2 ล้านรายไม่สามารถจ่ายเพื่อสร้างความอบอุ่นที่เพียงพอแก่บ้านได้[4]

จำนวนคนที่ปรึกษากับองค์กรอิสระซิติเซนส์แอดไวซ์ (Citizens Advice) ซึ่งไม่สามารถจ่ายค่าพลังงานแบบจ่ายล่วงหน้าได้ เพิ่มจำนวนขึ้นสามเท่าในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 และผู้คนหนึ่งล้านคนค้างชำระหนี้ค่าไฟฟ้าหรือแก๊ส[4][5] สจวร์ต วิลก์ส-ฮีก (Stuart Wilks-Heeg) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลให้ความเห็นว่า "เกือบทุกคนจะต้องยากจนข้นแค้น" ภายใต้เกณฑ์การใช้งานที่ครัวเรือนต้องจ่ายพลังงานมากกว่าร้อยละ 10 ของรายได้[6] เชอเรล เจคอบส์ ( Sherelle Jacobs) จาก เดอะเดลีเทเลกราฟ แสดงความเห็นว่าครอบครัวชนชั้นกลางและผู้รับบำนาญอาจไม่สามารถจ่ายค่าพลังงานที่เพิ่มขึ้นได้[7] ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 มีการประกาศภาษีลาภผล (windfall tax) จากกำไรเหล่านี้ อย่างไรก็ตามค่าพลังงานเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤตค่าครองชีพ (สิ่งที่ผู้รณรงค์เรียกว่า "ต้นทุนของวิกฤตความโลภ")[8][9]

ในขณะเดียวกัน บริษัทพลังงานยังคงเพิ่มผลกำไรอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น ในไตรมาสที่สองของปี พ.ศ. 2565 ผลกำไรของบริษัทเชลล์เท่ากับ 8.4 พันล้านปอนด์ (11.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของปีก่อนหน้า[5] กำไรของบริษัทบีพีในช่วงเวลานี้อยู่ที่ 6.9 พันล้านปอนด์ มากกว่าในปี พ.ศ. 2564 ถึงสามเท่า[8] บริษัทเซนตริกา (Centrica) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัทบริติชแก๊ส (British Gas) ทำกำไร 1.3 พันล้านปอนด์ในครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2565 ซึ่งมากกว่าผลกำไรในครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2564 ถึงห้าเท่า[5]

รัฐบาลสหราชอาณาจักรกล่าวว่า ได้มอบเงินสนับสนุนรายละ 1,200 ปอนด์แก่ 8 ล้านครัวเรือนที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด และ 37 พันล้านปอนด์สำหรับมาตรการบรรเทาทุกข์ทั้งหมด อย่างไรก็ตามกล่าวได้ว่าไม่สามารถป้องกันการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานได้เนื่องจากราคาแก๊สในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ปัจจัยหนึ่งในเรื่องนี้คือการรุกรานยูเครนของรัสเซียในปี พ.ศ. 2565[10]

การรณรงค์นี้เริ่มต้นขึ้นกลางเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 ริเริ่มโดยนักเคลื่อนไหว 15–20 คนหลังจากการอภิปรายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2565[4][5][11] พวกเขารักษาความเป็นนิรนามเนื่องจากอาจ "ตีความได้ว่าเป็นการยุยงให้คนละเมิดสัญญา"[11] ผู้ดำเนินการรายหนึ่งกล่าวว่าผู้ก่อตั้งคือ "คนที่ใส่ใจสังคมและใส่ใจในชนชั้นซึ่งมักจะพูดคุยและวางแผนที่จะตอบสนองต่อสิ่งที่ถูกมองว่าเป็นการใช้ความรุนแรงทางเศรษฐกิจที่กดขี่ต่อชนชั้นแรงงาน"[4]

กระบวนการ แก้

คำมั่น แก้

กลุ่มเรียกร้องให้ลดราคาพลังงาน[3] พวกเขากำลังจัดทำคำมั่นที่จะมีผลบังคับใช้ก็ต่อเมื่อมีผู้ลงนามหนึ่งล้านคนในสหราชอาณาจักร โดยผู้ลงนามให้คำมั่นที่จะยกเลิกการชำระค่าพลังงานในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 หากมีการขึ้นราคา[10] ในสหราชอาณาจักรมี 28 ล้านครัวเรือนที่จ่ายค่าพลังงานดังกล่าว[4] ประชาชนประมาณ 4.5 ล้านรายที่ใช้แผนการชำระเงินล่วงหน้าจะไม่ถูกขอให้เข้าร่วม และรวมถึงผู้ที่มีใบแจ้งหนี้ค่าพลังงานรวมอยู่ในค่าเช่าของพวกเขาด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกยกเลิกสัญญาและถูกขับไล่[3]

ตามข้อมูลของกลุ่ม หากมีผู้ลงนามในคำมั่น 1 ล้านคน จะมีการระงับการจ่ายเงิน 230 ล้านปอนด์แก่บริษัทพลังงานในแต่ละเดือน โดยที่มีระยะเวลา 28 วันที่บริษัทพลังงานจะดำเนินการติดต่อผู้ใช้เพื่อปรับเปลี่ยนแผนการชำระเงิน[10][11] พวกเขาเรียกสิ่งนี้ว่า "การประท้วงไม่ชำระเงินโดยมวลชน"[5] มันเป็นรูปแบบของการดื้อแพ่ง[7] ดอนต์เพย์ยูเคเชื่อว่าสิ่งนี้จะ "นำบริษัทพลังงานมาสู่โต๊ะเจรจาและบังคับให้พวกเขายุติวิกฤตนี้"[5] อย่างไรก็ตามพวกเขาไม่ได้แก้ปัญหาความต้องการใช้พลังงาน[12]

ดอนต์เพย์ยูเคอ้างถึงภาษีการทำประชามติ (poll tax) ซึ่งเสนอโดยมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ (หรือ "community charge", ค่าใช้จ่ายชุมชน) ในปี พ.ศ. 2532 และ 2533 ซึ่งเป็นภาษีที่มีค่าใช้จ่ายคงที่สำหรับผู้ใหญ่แต่ละคนในประเทศในเชิงเปรียบเทียบ[5][13] ซึ่งประชาชน 17 ล้านรายปฏิเสธที่จะจ่ายภาษีการทำประชามติ ซึ่งนำไปสู่การยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2534[3][5] โดยภาษีสภา (council tax) ถูกนำมาใช้แทนซึ่งเสนอโดยจอห์น เมเจอร์ ในปี พ.ศ. 2536[14] ศาสตราจารย์วิลก์ส-ฮีก ให้ความเห็นถึงความแตกต่างระหว่างการต่อต้านภาษีการหยั่งเสียงประชามติและการไม่จ่ายค่าพลังงานนั้นรวมถึงการที่รัฐบาลมีการเก็บบันทึกรายละเอียดน้อยในช่วงที่ผ่านมา และการยกหนี้สิน[6]

ผลที่ตามมา แก้

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมได้แก่ การถูกตัดการจ่ายพลังงานและคะแนนเครดิตที่แย่ลง อย่างไรก็ตามดอนต์เพย์ยูเคให้ความเห็นว่าในปี พ.ศ. 2561 มีการบันทึกการหยุดจ่ายพลังงานเพียงแปดครั้ง[4] บริษัทพลังงานสามารถดำเนินการได้โดยการตัดการเชื่อมต่อมาตรอัจฉริยะจากระยะไกล, การขอหมายศาลเพื่อตัดการเชื่อมต่อพลังงานหรือติดตั้งเครื่องวัดที่มีการชำระเงินล่วงหน้า หรือส่งข้อมูลไปยังองค์กรติดตามหนี้[8][11] อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนมาตรวัดในช่วงฤดูหนาวสำหรับผู้ใช้บางกลุ่มซึ่งจัดได้ว่าเป็น "ช่องโหว่"[11] ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับผู้บริโภคสามารถเกิดขึ้นได้จากการไม่ชำระเงิน[15] บริษัทผู้ให้บริการทางการเงินกล่าวว่าคะแนนเครดิตที่แย่ลงอาจนำไปสู่ภาวะที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงขึ้นนานถึงหกปีเมื่อผู้นั้นทำการกู้ยืมเงิน ดอนต์เพย์ยูเคกล่าวว่าสิ่งนี้มีความสำคัญต่ำสำหรับหลายครอบครัว[16]

ดอนต์เพย์ยูเคอ้างว่าการไม่จ่ายเงินหลายพันรายการพร้อมกันจะทำให้เกิด "ภาวะชะงักงัน" และ "งานค้างนานหลายเดือน"[11] โซเอ วูด (Zoe Wood) จาก เดอะการ์เดียน กล่าวว่าคำมั่น "มีความเสี่ยงสูง" และ "ไม่จำเป็นต้องมีความปลอดภัยจากจำนวนที่มาก"[17] โฆษกรัฐบาลของกรมธุรกิจ พลังงาน และยุทธศาสตร์อุตสาหกรรม (Department for Business, Energy and Industrial Strategy) กล่าวว่า แผนดังกล่าว "ขาดความรับผิดชอบอย่างสูง" และจะ "ผลักดันราคาให้คนอื่น ๆ"[10] ดอนต์เพย์ยูเคแสดงรายการข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับผลที่ตามมาในส่วนคำถามที่พบบ่อย (FAQ) ในเว็บไซต์ และจะนำเสนอคู่มือ "วิธีปฏิบัติ" เพื่อแนะนำถึงความเสี่ยงจากการเดินหน้ากระบวนการ[12] กลุ่มกล่าวว่าพวกเขากำลังปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและหนี้ส่วนบุคคลในเดือนสิงหาคม[18]

นักวิชาการจากมูลนิธิเศรษฐศาสตร์ใหม่ (New Economics Foundation) กล่าวว่า "ผลกระทบเป็นระลอก" จะเริ่มต้นที่ผู้เข้าร่วม 6,000 คน และการไม่จ่ายเงินดังกล่าวจะทำให้รัฐบาลต้องผ่อนปรน มิฉะนั้น Ofgem จะต้องขึ้นราคาในอัตราที่เร็วขึ้น[14] มาร์ติน ลูอิส (Martin Lewis) นักสื่อสารมวลชนกล่าวว่าการผ่อนปรนทางการเงินโดยรัฐบาลมีความจำเป็นเพราะว่า "เมื่อสังคมเริ่มยอมรับแล้วว่าจะไม่จ่าย ผู้คนก็จะพากันหยุดจ่ายค่าพลังงานและคุณจะไม่สามารถตัดการให้บริการกับทุกคน"[10] ฮาเฟซ อับโด (Hafez Abdo) รองศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม ให้ความเห็นว่าการคว่ำบาตรอาจมี "ผลเสียต่อบริษัทพลังงานและห่วงโซ่อุปทาน" ทำให้พวกเขาไม่สามารถจ่ายค่าดำเนินการได้ และทำให้เกิดการล้มละลายและพนักงานต้องตกงาน อับโดกล่าวว่าจำเป็นต้องมีการดำเนินการของรัฐบาลเพื่อหลีกเลี่ยงผลลัพธ์นี้[19]

โฆษกของกลุ่มกล่าวว่าการเพิกเฉยมีความเสี่ยงมากกว่าการมีส่วนร่วม เนื่องจากการจ่ายค่าพลังงาน "กำลังผลักดันให้ผู้คนเข้าสู่ภาวะความยากจน"[20]

องค์กร แก้

ดอนต์เพย์ยูเคไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มอื่นใด แม้ว่าจะได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มรณรงค์ต่อต้านความยากจนจากพลังงาน (Fuel Poverty Action)[3][9] ผู้ดำเนินการอธิบายว่าเป็น "การรณรงค์ที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและไม่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง"[12] วันที่ 22 กรกฎาคม ตัวแทนกลุ่มแถลงว่าการลงชื่อสมัครเป็นอาสาสมัครมีประมาณ 300 ถึง 700 คนต่อวัน โดยในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 มีอาสาสมัครแล้ว 6,000 คน[3][14] และในวันที่ 11 สิงหาคม มีอาสาสมัครเพิ่มเป็น 31,000 คน[21]

มีความพยายามที่จะปลุกจิตสำนึกผ่านแผ่นพับและโปสเตอร์ โดยในสัปดาห์แรกกลุ่มได้มีการจัดทำแผ่นพับ 20,000 ชุด และในวันที่ 19 กรกฎาคม มีการจัดพิมพ์แล้ว 140,000 ชุด[4][11] มีการออกแบบโปสเตอร์บนเว็บไซต์ซึ่งอาสาสมัครสามารถนำไปพิมพ์เองได้[12] องค์กรมุ่งหวังให้กลุ่มท้องถิ่นเกิดขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของผู้ให้คำมั่น[4] เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ทางกลุ่มแจ้งว่ามีผู้สนใจเข้าร่วมในฐานะผู้ดำเนินการในท้องถิ่น 1,300 คน[8] วันที่ 11 สิงหาคม ดอนต์เพย์ยูเคกล่าวว่ามีกลุ่มท้องถิ่น 150 กลุ่มซึ่งมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 3,000 คน[21] พอล มาสัน (Paul Mason) นักวิจารณ์กล่าวในนิตยสารนิวสเตตแมน (New Statesman) ว่าถึงแม้จะจำลองแบบมาจากการประท้วงของขบวนการเสื้อกั๊กเหลือง แต่ดอนต์เพย์ยูเคก็ "กระจุกตัวมากเกินไปในเมืองใหญ่" ดังนั้นจึงไม่ชัดเจนว่าจะเพิ่มแรงสนับสนุนได้เพียงพอหรือไม่[22]

ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2565 กลุ่มได้รายงานว่ามีผู้ให้คำมั่นจำนวน 80,000 ราย[18] และเพิ่มเป็น 100,000 รายในสองวันต่อมา[21]

มีความพยายามระดมทุนบริจาคสำหรับการดำเนินการให้ถึง 25,000 ปอนด์ โดยในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2565 มีผู้บริจ่าค 1,750 รายยอดรวม 23,000 ปอนด์[16]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Sabin, Lamiat (8 กันยายน 2022). "Don't Pay UK: What happens if you don't pay your energy bills?". The Independent. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2022.
  2. Garland, Emma (31 สิงหาคม 2022). "Could the 'Don't Pay UK' Campaign Actually Work?". Vice. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2022.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Dickinson, Sophie; Muir, Ellie (27 กรกฎาคม 2022). "Don't Pay UK: the campaign urging millions not to pay their energy bills this winter". Time Out. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2022.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 4.8 Smith, Serena (19 กรกฎาคม 2022). "What would happen if we all just stopped paying our bills?". Dazed. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2022.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 5.8 Rimi, Aisha (30 กรกฎาคม 2022). "Don't Pay: Campaign for 'energy bills strike' gathers pace as companies celebrate record profits". The Independent. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2022.
  6. 6.0 6.1 Murphy, Saskia (19 สิงหาคม 2022). "A smart response?". Big Issue North. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2022.
  7. 7.0 7.1 Jacobs, Sherelle (1 สิงหาคม 2022). "A catastrophic energy crisis will fuel a revolt against our failed elites". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2022.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Katsha, Habiba (2 สิงหาคม 2022). "Don't Pay: The Campaign Group Calling On Brits To Stop Paying Energy Bills". HuffPost. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2022.
  9. 9.0 9.1 Abbott, Rachelle (2 สิงหาคม 2022). "The Leader podcast: BP's record profits and how consumers are fighting back". Evening Standard. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2022.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 Shone, Ethan (22 กรกฎาคม 2022). "Consumer strike: Don't Pay UK energy bills campaign explained, what the government is doing about rising bills". NationalWorld. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2022.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 11.6 Lawson, Alex (24 มิถุนายน 2022). "Campaign calls for 1m UK consumers to stop paying energy bills". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2022.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 Al Mustaqeem, Syraat (3 สิงหาคม 2022). "Don't Pay UK: campaign group calls for boycott of energy bills this winter". Evening Standard. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2022.
  13. Waugh, Paul (28 กรกฎาคม 2022). "As the cost of living crisis becomes a national emergency the case for nationalisation could not be stronger". i. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2022.
  14. 14.0 14.1 14.2 Haynes, Tom (22 กรกฎาคม 2022). "Poll tax-style protests over energy bills 'will push prices even higher'". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2022.
  15. Kollewe, Julia (7 สิงหาคม 2022). "Serious consequences for not paying energy bills, warn UK charities". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2022.
  16. 16.0 16.1 Matthews, Jane (17 สิงหาคม 2022). "Don't Pay UK campaign will damage people's finances". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2022.
  17. Wood, Zoe (11 สิงหาคม 2022). "What are the options for managing skyrocketing energy bills this winter?". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2022.
  18. 18.0 18.1 Morton, Becky (9 สิงหาคม 2022). "Energy bills: What do I do if I can't pay?". BBC News. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2022.
  19. "What is 'Don't Pay UK' and what could happen if you refuse to pay soaring energy bills?". ITV News. 10 สิงหาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2022.
  20. Sandhu, Serina (10 สิงหาคม 2022). "Don't Pay UK: How to fight soaring energy bills without joining payment boycott". i. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2022.
  21. 21.0 21.1 21.2 Clinton, Jane (11 สิงหาคม 2022). "More than 100,000 people join Don't Pay UK in protest against energy price rises". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2022.
  22. Mason, Paul (27 กรกฎาคม 2022). "The case for public ownership of energy has never been stronger". New Statesman. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2022.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้